svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.-กทม. จับมือปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ รองรับโรคติดเชื้อ-โรคอุบัติใหม่

10 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สธ.-กทม. ร่วมปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ รองรับโรคติดเชื้อ-โรคอุบัติใหม่ เน้นพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลนำไปสู่ความมั่นคงด้านสุขภาพ และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ (Health for Wealth)

10 มิถุนายน 2565 ผศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร ร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอเชิงนโยบายและแนวทางการปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดเชื้อโรคระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ 

 

คาดหวังว่าจะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม และนำไปสู่การยกระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีความจำเป็นและการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลให้ประชาชนมีความปลอดภัยและความมั่นคงด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน โดยยึดการบริการประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยที่ประชุมได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร  

 

ที่ประชุมได้สรุปข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อการปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิในกรุงเทพมหานคร 7 ข้อ ประกอบด้วย

 

1.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจัดตั้ง System Manager ด้านปฐมภูมิระดับเขต กลุ่มเขต และระดับกรุงเทพมหานคร อย่างมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน

 

2.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม กรมบัญชีกลาง ร่วมสนับสนุนงบประมาณ ออกแบบ ระบบการเงินที่ส่งเสริมศักยภาพของระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โดยมุ่งเน้นบริการ Health Promotion Prevention และเสนอรูปแบบการจ่ายเงิน เพื่อให้บริการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 

3.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในทุกเครือข่ายของการบริการปฐมภูมิและสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร

 

สธ.-กทม. จับมือปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ รองรับโรคติดเชื้อ-โรคอุบัติใหม่

 

 

4.กรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพ Electronic  Health Information และส่งเสริมการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อนำมาสู่การพัฒนาบริการและส่งเสริมการดูแลตัวเองของประชาชน

 

5.สำนักอนามัยพัฒนาระบบอาสาสมัครสาธารณสุข ให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และยั่งยืน โดยอาศัยทรัพยากรจากกระทรวงสาธารณสุข

 

6.กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการSand Box ของระบบบริการปฐมภูมิภายใน 3 เดือนและขยายผลให้ครอบคลุมภายในระยะเวลา 1 ปี โดยมีรูปแบบที่คำนึงถึงบริบทเฉพาะของแต่ละพื้นที่

 

7.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จัดตั้งกลไกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อสนับสนุนกลไกการดำเนินงานตามแนวทางปฏิรูป อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปนี้อย่างเป็นรูปธรรม

 

รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เชื่อว่าทุกคนต่างรู้สึกเช่นเดียวกันว่าสถานการณ์โควิด-19 ได้ทำร้ายทั้งคนที่เจ็บป่วย เสียชีวิตและทำร้ายจิตใจของพวกเราในฐานะคนดูแลเมือง รวมถึงบุคลากรในวงการสาธารณสุขด้วย ดังนั้นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) จึงมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ความต้องการของประชาชนที่สะท้อนจากสถานการณ์ที่ผ่านมา และข้อจำกัดซึ่งข้าราชการทั้งหลายทราบดีว่าปัญหาเหล่านี้คืออะไร ต้องได้รับการแก้ไข 

 

สธ.-กทม. จับมือปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ รองรับโรคติดเชื้อ-โรคอุบัติใหม่

สำหรับ ข้อจำกัดของกรุงเทพมหานครในเรื่องของการดูแลและบริการประชาชน คือการที่ไม่สามารถเชื่อมต่อระบบสาธารณสุขได้อย่างราบรื่นนัก ยังผลให้เกิดความเสียหายต่อภาคประชาชน รวมถึงผลกระทบในเรื่องของเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนด้วย ในฐานะผู้ปฏิบัติซึ่งมีพันธกิจสำคัญคือการดูแลสุขภาพประชาชนตั้งแต่ต้นทาง 

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่ผ่านมาทำให้ต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้งว่าข้อจำกัดของตนเองอยู่ที่ไหน อัตรากำลัง มาตรฐานการรักษาพยาบาลเป็นอย่างไร รวมถึงต้องกลับมาพัฒนามาตรฐานของเราเพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าพวกเราเป็นหน่วยปฏิบัติที่อยู่ใกล้บ้าน ใกล้ตัวและใกล้ใจประชาชนมากที่สุด 

 

นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพที่ดีตั้งแต่ต้นไม่ใช่เฉพาะการให้ประชาชนได้รู้จักดูแลตนเองเท่านั้นแต่ยังหมายรวมถึงการพัฒนาให้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) ได้ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประชาชนได้อุ่นใจว่ายังมีคนอยู่เคียงข้างในยามเจ็บป่วย หรือคอยให้คำปรึกษา

 

สธ.-กทม. จับมือปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ รองรับโรคติดเชื้อ-โรคอุบัติใหม่

 

สำหรับ ผลการดำเนินการให้บริการวัคซีน COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพจเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ รายงานข้อมูล ณ วันที่​ 9 มิ.ย. 65  เวลา 16.00 น. มีดังนี้ 

  • ยอดผู้รับวัคซีนเพิ่ม 9,335 โดส
  • ยอดผู้รับวัคซีนสะสม 26,232,046 โดส

 

สธ.-กทม. จับมือปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ รองรับโรคติดเชื้อ-โรคอุบัติใหม่

สธ.-กทม. จับมือปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ รองรับโรคติดเชื้อ-โรคอุบัติใหม่

 

สำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ของประเทศไทย วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2565 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานผู้ป่วยใหม่ จำนวน 2,836 ราย จำแนกเป็น

  • ผู้ป่วยในประเทศ 2,835 ราย
  • ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 1 ราย
  • ผู้ป่วยสะสม 2,256,453 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
  • หายป่วยกลับบ้าน 3,518 ราย
  • หายป่วยสะสม 2,256,552 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
  • ผู้ป่วยกำลังรักษา 24,556 ราย
  • เสียชีวิต 24 ราย
  • เสียชีวิตสะสม 8,588 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
  • จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 673 ราย 

 

สธ.-กทม. จับมือปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิ รองรับโรคติดเชื้อ-โรคอุบัติใหม่

ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ และ เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19
 

logoline