svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"จิ๊บ ศศิกานต์” ทำเซอร์ไพรส์เปิดตัวเวทีดีเบตด้วยภาษามือ

04 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"จิ๊บ ศศิกานต์” ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 16 ทำเซอร์ไพรส์เปิดตัวเวทีดีเบตด้วยภาษามือ พร้อมชูนโยบายสิทธิมนุษยชน กรุงเทพฯ ต้องปลอดภัยสำหรับทุกคน

น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ หรือ จิ๊บ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 16 ขึ้นกล่าวบนเวทีเปิดแนวคิดผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน หัวข้อ “กรุงเทพฯ เมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยเธอเปิดตัวด้วยการใช้ภาษามือเพื่อสื่อสารกับผู้พิการทางการได้ยิน ซึ่งถือเป็นผู้สมัครรายเดียวที่ใช้ภาษามือ โดย น.ส.ศศิกานต์ ระบุว่า เมื่อสักครู่ท่านอาจจะไม่ได้ยินเสียงอะไร แต่ตนเชื่อว่า เสียงนี้จะดังอยู่ในใจของคนหลาย ๆ คนใน กทม. ซึ่งสิทธิมนุษยชนคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึ่งจะมี ไม่ว่าจะอายุเพศหรือฐานะอะไร ทุกคนควรจะมีเท่าเทียมกัน และความปลอดภัยก็คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรพึงมีเท่ากัน กาศชื่อไม่ว่าคนกรุงเทพฯยังต้องหวาดระแวงกับความปลอดภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านชีวิต หรือทรัพย์สิน คุณภาพชีวิต หรือแม้กระทั่งอนาคตของลูกหลานของเรา 

น.ส.ศศิกานต์ กล่าวต่อว่า ปัญหาคนเร่ร่อนในพื้นที่ กทม.ที่ตนได้ลงพื้นที่ไปศึกษาพบว่ามีสูงถึง 4,500 ราย ซึ่งพวกเขาก็มีสิทธิมนุษยชนเช่นกัน สิ่งที่เราจะทำ คือการสร้างพื้นที่การนอน ห้องน้ำ ให้เขาและยอมรับในตัวตนว่าเขามีอยู่จริง เราก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยจากสถิติเดือนตุลาคม 2563 ถึงสิงหาคม 2564 เราพบว่าอาชญากรรมทางด้านทรัพย์สินมีมากถึง 46,000 ราย อาชญากรรมทางด้านร่างกาย รวมถึงการละเมิดทางเพศมีสูงถึง 16,000 ราย กรุงเทพฯเป็นเมืองที่ปลอดภัยจริงหรือ เราจะชินกับเรื่องแบบนี้จริงๆหรือ และนี่คือที่มาของนโยบายกรุงเทพฯต้องปลอดภัยสำหรับทุกคน 

"ดิฉันแบ่งนโยบาย เป็นสามระยะคือ ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ระยะสั้น คือ ความปลอดภัยทางด้านชีวิต ทรัพย์สินและสุขภาพ แปลว่า กล้องวงจรปิดของกรุงเทพมหานคร 64,000 ตัวจะต้องใช้ได้ทุกกล้อง เราจะจัดตั้งศูนย์ command center ที่เวลาเกิดเหตุแล้วสามารถมาที่ศูนย์นี้ได้ และจะเรียกดูข้อมูลจากศูนย์นี้ได้อย่างทันท่วงที โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปติดต่อ ส.น.หรือสำนักงานเขต แล้วรออีกสามวันถึงจะได้ภาพจากกล้องวงจรปิด อันนี้ถือว่าช้าเกินไป ศูนย์ command จะทำให้กล้องทุกตัวใช้ได้"
 

นอกจากนี้ เราจะจัดตั้งศูนย์ระวังในชุมชน เพราะกล้องวงจรปิดที่ดีที่สุดก็คือเพื่อนบ้าน ทุกคนในชุมชนจะช่วยกัน นอกจากนี้เราต้องปรับพื้นที่ใน กทม.ที่ไม่ได้ใช้สอยและเป็นพื้นที่เสี่ยง เราต้องเข้าไปติดตั้งไฟ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านี้ปลอดภัย จะถูกนำมาปรับเป็นที่อยู่อาศัยหลับนอนของคนเร่ร่อนไร้บ้าน

 

น.ส.ศศิกานต์ ยังกล่าวต่อว่า ระยะที่ 2 คือ ความปลอดภัยด้านคุณภาพชีวิต นโยบายฝุ่น pm 2.5 เราจะแก้ไขด้วยทุกวิธีจัดโซนนิ่งรถที่ทำให้เกิดฝุ่น เราต้องแก้ที่สาเหตุ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวใน กทม.ต้องมี รวมไปถึงรถสาธารณะจะต้องเปลี่ยนมาใช้รถ ev เพื่อลดมลพิษ สุดท้ายระยะยาว การสร้างอนาคตด้วยการศึกษา เรามีนโนบาย "การศึกษาศูนย์บาท” ที่เราทำขึ้น เพื่อวางรากฐานการพัฒนาด้านทักษะและความรู้ให้กับเยาวชนทั่วทั้งกรุงเทพมหานคร โดยเด็กจะสามารถเข้าถึงประสบการณ์เรียนรู้ที่แปลกใหม่และมีราคาแพงอย่าง Metaverse จะต้องเปิดให้ทุกคนเข้าถึงได้ “ฟรี”เพราะต้องยอมรับว่า โรงเรียนในสังกัด กทม.ที่มีไม่ถึง 100 แห่ง เด็กที่มาอยู่มนโรงเรียนเหล่านี้จะมีความสามารถและโอกาสค่อนข้างน้อย

logoline