svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

คน Gen Z และ Fast Fashion เป็นตัวการทำขยะล้นโลก

07 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มีคำถามว่า ทำไม Gen Z ถึงได้ชอบซื้อผ้า "Fast Fashion" ทั้งที่พวกเขาซีเรียส กับเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) และที่ขนซื้อกันมา ก็ใส่ไม่ครบ ขณะเดียวกัน EU เพิ่งประกาศแผนริเริ่มใหม่ ที่ให้เสื้อผ้าที่ผลิตหรือขายใน EU ต้องซ่อมแซม หรือ รีไซเคิลได้

Fast Fashion นั้นสมชื่อ คือเป็นแฟชั่นที่มาไวไปไว

 

Fast Fashion นั้นสมชื่อ คือเป็นแฟชั่นที่มาไวไปไว ... คำจำกัดความของคำนี้ คือ การผลิตเสื้อผ้าที่เน้นความรวดเร็วฉับไว โดยใช้ต้นทุนต่ำ ทั้งในส่วนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตและแรงงาน เพื่อจำหน่ายในราคาถูก แต่ในทางกลับกัน แฟชั่นประเภทนี้ กลายเป็นตัวการที่ทำให้เกิดขยะเสื้อผ้าจำนวนมหาศาล เป็นภัยต่อสภาพแวดล้อม เพราะมีภาพของขยะเสื้อผ้ากองเป็นภูเขาถูกแชร์ในโลกออนไลน์ โดยเป็นเสื้อผ้ากว่า 59,000 ตัน ถูกทิ้งอยู่ที่ทะเลทรายอาตากาม่า ประเทศชิลี ซึ่งขยะจากเสื้อผ้านั้นฝังกลบได้ยากเพราะสารเคมีในใยผ้า ต้องใช้เวลาย่อยสลายนับร้อยปี ที่สำคัญคือ ในแต่ละปี โลกต้องการพื้นที่ฝังขยะเสื้อผ้ามากกว่า 10 ล้านตัน และในจำนวนนี้ รีไซเคิลได้ไม่ถึง 10% 

 

คน Gen Z และ Fast Fashion เป็นตัวการทำขยะล้นโลก

 

 

Fast Fashion นั้นสมชื่อ คือเป็นแฟชั่นที่มาไวไปไว

 

ในยุคที่สามารถสั่งซื้อเสื้อผ้าได้ง่ายดายผ่านช่องทางออนไลน์ ก็มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า หญิงสาวจำนวนมากคือ ตัวการสำคัญที่สุดของวัฒนกรรม Fast Fashion ที่ซื้อซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ยปีละ 50-60 ตัว และ 1 ใน 7 ของเสื้อผ้าเหล่านั้น ไม่ได้ถูกสวมใส่ด้วยซ้ำ ไม่ว่า คน Gen Z จะทำท่าว่าตระหนักเรื่อง climate change ขนาดไหน แต่พวกเขาก็ยังซื้อเสื้อผ้ากันไม่หยุดหย่อน  ยกตัวอย่าง Shein ยักษ์ใหญ่สัญชาติจีนที่ขายเสื้อผ้าให้คนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ทางออนไลน์ ในราคาที่จับต้องได้ สามารถกวาดรายได้เมื่อปี 2563  6,200 ล้านดอลลาร์ โดยมีสหรัฐฯเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ส่งผลให้มูลค่าการตลาดของบริษัท อยู่ที่ 100,000 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ Inditex ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Zara มีมูลค่าราว 68,000 ล้านดอลลาร์ 
 

 

 Fast Fashion นั้นสมชื่อ คือเป็นแฟชั่นที่มาไวไปไว

 

 

คน Gen Z และ Fast Fashion เป็นตัวการทำขยะล้นโลก

 

ดาน่าได้เดินทางไปถึงแหล่งผลิตเสื้อผ้าด้วยตนเอง ในการเก็บข้อมูลเพื่อเขียนหนังสือรวมทั้ง บังคลาเทศ ที่คนงานในโรงงานผลิตเสื้อผ้าเพียงเดือนละ 96 ดอลลาร์ (3,200 บาท) ต่อเดือน ส่วนกัมพูชาได้ค่าแรงขั้นต่ำ 182 ดอลลาร์  (6,100 บาท) ต่อเดือน

 

คน Gen Z และ Fast Fashion เป็นตัวการทำขยะล้นโลก

 

 

logoline