svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ปริศนาการเสียชีวิตของ "แตงโม นิดา" อาจต้องใช้ "เครื่องจับเท็จ" ค้นหาความจริง

01 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากคดีการเสียชีวิตของ “แตงโม นิดา” ดารานักแสดงนางแบบสาวชื่อดัง ที่กำลังกลายเป็นปริศนาคาใจสังคม ว่าเป็นเพราะประมาท เพราะอุบัติเหตุ หรือมีอะไรมากกว่านั้น ขณะอาจต้องใช้บริการ “เครื่องจับเท็จ” ไม่ต่างจากคดี “น้องชมพู่”

 

สำหรับประเด็นร้อนๆ เช่นนี้ คำถามที่ตามมาก็คือ “เครื่องจับเท็จ” จับโกหกได้จริงหรือไม่? และศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักขนาดไหน เมื่อมีการฟ้องคดีขึ้นสู่ศาล

 

ปริศนาการเสียชีวิตของ “แตงโม ” อาจต้องใช้ “เครื่องจับเท็จ” ค้นหาความจริง

 

ล่าสุดทางด้าน รศ.พ.ต.ท.ดร.กฤษณพงค์ พูตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี และประธานกรรมการคณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต เคยให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ “ข่าวข้นคนข่าว” ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 ระบุว่า "เครื่องจับเท็จ" ภาษาอังกฤษเรียกว่า "โพลีกราฟ" เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกสัญญาณที่ส่งจากตัวรับสัญญาณ หรือเซนเซอร์ โดยการวัดจากร่างกาย ส่งต่อไปยังกราฟคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีการบันทึกการหายใจ การเต้นของชีพจร ความดันโลหิต และการขยายตัวของปอด

 

ปริศนาการเสียชีวิตของ “แตงโม ” อาจต้องใช้ “เครื่องจับเท็จ” ค้นหาความจริง

 

ก่อนหน้านี้ มีการนำเครื่องจับเท็จมาใช้งานในสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1 เครื่อง แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่า ทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีจำนวนกี่เครื่อง และการนำไปใช้ในพื้นที่ใดบ้าง

 

สำหรับการทำงานของเครื่องจับเท็จ เป็นการนำเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และเทคนิคทางจิตวิทยามาใช้ควบคู่กัน โดยจะมีการวางตัวรับสัญญาณไว้บนร่างกาย ประมาณ 46 จุด ซึ่งเป็นการจับการเคลื่อนไหวและการขยับเขยื้อนทั้งหมดของผู้เข้ารับการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็น อัตราการเต้นของหัวใจ  ความถี่ของการหายใจเข้าออก เหงื่อที่ออกตามจุดต่างๆ ของร่างกาย สีหน้าและแววตา และกริยาพิรุธอื่นๆ เช่น การกัดลิ้น กระดิกเท้า จิกเล็บ เป็นต้น รวมถึงมีการบันทึกเสียงและวิดีโอเพื่อเป็นหลักฐานอีกด้วย

 

ในอดีต มีการสอบสวนผ่านเครื่องจับเท็จจนสามารถไขคดีได้สำเร็จมาแล้ว คือคดีที่ นายเสริม สาครราษฎร์ ฆ่าหั่นศพแฟนสาวรุ่นพี่ นางสาวเจนจิรา พลอยองุ่นศรี เมื่อปี 2541 แลคดีโชเฟอร์แท็กซี่ “คนดีกำมะลอ” นายสมพงษ์ เลือดทหาร ที่โกหกว่าตนเองเก็บเงินและทรัพย์สินได้ 17 ล้านบาท ส่งคืนเจ้าของที่ดอนเมือง แต่สุดท้ายกลายเป็นเรื่องโกหก และทั้งคู่ก็จนมุมเพราะ “เครื่องจับเท็จ”

 

ปริศนาการเสียชีวิตของ “แตงโม ” อาจต้องใช้ “เครื่องจับเท็จ” ค้นหาความจริง

 

อาจารย์กฤษณพงค์ บอกด้วยว่า การจะใช้เครื่องจับเท็จให้ได้ผลสำเร็จมากที่สุด ควรจะนำตัวผู้ต้องหา หรือผู้ต้องสงสัย เข้าเครื่องจับเท็จทันทีหลังเกิดเหตุ เพราะหากทอดเวลาออกไป ผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัยจะมีเวลาเตรียมตัวหรือหาข้อมูลมาเบี่ยงเบนประเด็น

 

ปริศนาการเสียชีวิตของ “แตงโม ” อาจต้องใช้ “เครื่องจับเท็จ” ค้นหาความจริง

แต่ในการพิจารณาคดีของศาล ข้อมูลจากเครื่องจับเท็จเป็นเพียง “พยานหลักฐานแวดล้อม” ในคดี ยังไม่ให้น้ำหนักเป็นพยานหลักฐานสำคัญ

 

ที่ผ่านมามีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ยึดถือกันเป็นบรรทัดฐาน คือ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2553 สรุปว่า "เครื่องจับเท็จเป็นเพียงเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่นำผลการตอบคำถามของจำเลยมาวิเคราะห์ตามหลักวิชาการ แล้วประเมินผลจากการวิเคราะห์นั้นว่าจำเลยพูดจริงหรือพูดเท็จ อันมีลักษณะเป็นเพียงความเห็นทางวิชาการ ย่อมไม่อาจนำมาพิสูจน์ทราบถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยเป็นที่แน่ชัดได้ ต่างกับการพิสูจน์ตัวบุคคลที่อาจพิสูจน์ทราบได้โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์"

 

ปริศนาการเสียชีวิตของ “แตงโม ” อาจต้องใช้ “เครื่องจับเท็จ” ค้นหาความจริง

 

คดีที่ยกคำพิพากษาศาลฎีกามานี้ ศาลก็ยกฟ้อง โดยระบุว่า “เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบให้เห็นว่าจำเลยฆ่าผู้ตายประการใด ลำพังเครื่องจับเท็จและความเห็นของผู้ชำนาญด้านเครื่องจับเท็จยังไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย”

logoline