svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"สถาบันพระปกเกล้า"เปิด BKK Follow-up ข้อมูลลต.ท้องถิ่นช่วยปชช.ตัดสินใจ

18 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถาบันพระปกเกล้า-นักวิชาการ จับมือเปิดแพลตข้อฟอร์ม BKK Follow-up สื่อสารข้อมูลเลือกตั้งท้องถิ่น ยึดความเป็นกลาง เน้นประชาชนใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ชี้ สก.- ฐานเสียง มีผลต่อตัวผู้ว่าฯ กทม. แม้ไม่สังกัดพรรคการเมือง 

18 กุมภาพันธ์ 2565 สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดเวทีสัมมนา "แพลตฟอร์มสื่อสารข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่นในประเทศไทย" (BKK Follow-up) - วิเคราะห์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และเลือกตั้งท้องถิ่น โดยมี รศ.ดร.อรทัย ก๊กผล รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ผศ.ดร.สติธร ธนานิธิโซติ ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประซาธิปไตย และ ผศ.ดร.ทวิกา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมแสดงความคิดเห็น

 

"สถาบันพระปกเกล้า"เปิด BKK Follow-up ข้อมูลลต.ท้องถิ่นช่วยปชช.ตัดสินใจ

 

โดย ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า การพัฒนาประชาธิปไตยที่สำคัญ คือ การทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ที่จะทำให้การตัดสินใจมีข้อมูลมากเพียงพอ และสถานการณ์ปัจจุบันนี้เริ่มมีความชัดเจนขึ้นว่า จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ในรอบ 7 ปี ซึ่งต้องมาให้ความเห็นร่วมกัน ว่าจะทำให้แพลตฟอร์มนี้ทันสมัย และ ตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างไร โดยเน้นย้ำข้อมูลที่เป็นกลางทางการเมือง ในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่กำลังจะเกิดขึ้น 

 

ขณะที่ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเมืองในเมืองนั้น เป็นมากกว่าการเลือกตั้ง เนื่องจากผู้ว่าฯกทม. มีความสำคัญทางการเมืองสูง เพราะมีจำนวนเขตเลือกตั้งมากที่สุด พร้อมกล่าวถึง มายาคติของผู้สมัครอิสระ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า แม้จะลงสมัครในนามอิสระ เมื่อได้รับชัยชนะต้องตั้งกลุ่มการเมืองใหม่ แต่ก็จะมีการสนับสนุนโดยพรรคการเมือง ที่ตัดสินใจไม่ส่งผู้สมัครในครั้งนั้น ส่วนสมาชิกสภากรุงเทพ (สก.) ก็ทำหน้าที่เสมือน "นายกเทศมนตรีจำแลง" เพราะต้องทำงานภายใต้ผู้อำนวยการเขต ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการสรรหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ 

 

สำหรับปัญหาท้าทายในการพัฒนากรุงเทพมหานครนั้น ซึ่งมีแผนจำนวนมากในการพัฒนา กทม. แต่ความจริงแล้ว ต้องอิงกับแผนพัฒนาของชาติด้วย โดยเฉพาะเรื่องผังเมือง น้ำท่วม สิ่งแวดล้อม ปริมาณขยะ ปัญหาฝุ่นPM ความเหลื่อมล้ำ การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นต้น 

 

"สถาบันพระปกเกล้า"เปิด BKK Follow-up ข้อมูลลต.ท้องถิ่นช่วยปชช.ตัดสินใจ

 

ด้าน ผศ.ดร.สติธร กล่าวว่า การคิดแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมา เพราะเห็นว่าความตื่นตัวของประชาชนในการเลือกตั้ง ปี 2562 มีค่อนข้างมาก และข้อมูลสำหรับคนที่ออกมาใช้สิทธิ์สำคัญอย่างมาก และการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยเฉพาะผู้ว่าฯกทม. ต้องมีข้อมูลมากเพียงพอในการตัดสินใจ ไม่ใช่รอเพียงรับข้อมูลจากผู้สมัคร โดยคนกรุงเทพควรมีข้อมูลในการเสนอ หรือ เรียกร้อง การดูแลด้านไหน ต่อผู้สมัคร 

รศ.ดร.อรทัย ระบุว่า แพลตฟอร์มนี้ จะมีข้อมูลตั้งแต่ ประวัติ กทม. และสถิติต่างๆ เช่น จำนวนประชากร งบประมาณ และปัญหาต่างๆ ของแต่ละเขต ซึ่งนอกจากประชาชนทั่วไป รวมทั้งสื่อมวลชนและผู้สมัครนำไปใช้ได้ ขณะเดียวกัน ว่าที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. วันนี้ มีผู้สมัครที่เหมือนจะอิสระ 2 คน คือ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ซึ่งยังไม่พบว่ามีเครือข่ายทางการเมือง และ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แต่เหมือนมีเงาอะไรบางอย่าง ซึ่งตรงกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่ไม่ส่งผู้สมัครในครั้งนี้

 

นอกจากนี้ ดร.เอ้ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ที่สังกัดพรรค แต่เมื่อเปิดตัว กลับมีเรื่องแง่ลบออกมาต่อเนื่อง จึงอาจต้องมาย้อนคิดว่า การสังกัดพรรคการเมืองคิดถูกแล้วหรือไม่ หรือ ดร.เอ้ อาจดูจากข้อมูลว่า สถิติที่ผ่านมาผู้ว่าฯ กทม. มาจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่สำคัญกว่านั้น คือ ไม่ว่าใครจะเข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ต้องเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และแก้ปัญหาให้ได้ เช่น ปัญหาฝุ่น การจราจร ซึ่งผู้ที่จะรับทราบปัญหา คือ สก. โดยต้องอาศัยเขต แต่ละเขตที่มีอำนาจหน้าที่ในการเข้าไปดำเนินการ 

 

"สถาบันพระปกเกล้า"เปิด BKK Follow-up ข้อมูลลต.ท้องถิ่นช่วยปชช.ตัดสินใจ

 

ส่วนระบบการเลือกตั้ง กทม. เป็นระบบที่ล้าหลัง ในขณะที่การเลือกตั้งท้องถิ่นอื่นก้าวไปข้างหน้า เพราะมีปัญหาเชิงระบบอยู่เยอะมากตั้งแต่ปี 2528 ที่ยังคงใช้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม. แทนที่จะเป็นต้นแบบให้การการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่อื่น ซึ่งพื้นที่ กทม. มีขนาดใหญ่ จึงทำให้ผู้สมัครส่วนใหญ่ ต้องมีเครือข่ายทางการเมือง และมี สก.ในมือ รวมถึงคะแนนจากฐานเสียงของพรรคมาสนับสนุน อีกทั้ง สก.ส่วนใหญ่ วางตัวเองไปสู่การเป็น ส.ส. และการเลือกตั้งครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญ เพราะเลือกตัวผู้ว่าฯ และ สก. พร้อมกัน 


 

logoline