svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดโปรไฟล์ เครื่องบินขับไล่ F-5 ของกองทัพอากาศไทย

03 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เผยข้อมุลเครื่องบินขับไล่ F-5 ของกองทัพอากาศ เป็นเครื่องบินรบที่มีความเร็วเหนือเสียง เหมาะสมหลายอย่าง ในการสนับสนุนภาคพื้นดิน และใช้ต่อสู้ F-5 เป็นเครื่องที่มีราคาถูก และง่ายต่อการซ่อมบำรุง

เครื่องบินขับไล่ F-5 ถูกสร้างและผลิตโดยบริษัท Northrop มีประเทศต่างๆใช้เครื่อง F-5 มากกว่า 30 ประเทศ และ F-5 ถูกสร้างขึ้นมามากกว่า 2700 เครื่อง

 

สำหรับในประเทศไทย เครื่องบินขับไล่ F-5 เข้าประจำการในกองทัพอากาศ จากโครงการช่วยเหลือทางทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมอบให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา ในช่วงปี พ.ศ.2509 เพื่อทำการป้องกันและเข้าต่อตีกับเครื่องบินรบของค่ายคอมมิวนิสต์ 

 

โดย ประเทศไทยได้รับ F-5 เข้าประจำการที่ ฝูงบิน 13 กองบินที่1 ดอนเมือง เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2509 และขึ้นทำการบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2509 ใช้นามเรียกขานว่า "ไลท์นิ่ง" ( Lightning)

 

 

โดยวีรกรรมของเครื่องบินรบ F-5 ของกองทัพอากาศไทย หลังเข้าประจำการได้ผ่านเหตุการณ์สำคัญ อย่างการเข้าโจมตี และปราบปรามพวกคอมมิวนิสต์ ที่จ.เพชรบูรณ์  เมื่อตุลาคม 2513 และอีกหลายภรกิจ จนสถานการณ์สงบมาสงบในปี 2526

 

ข้อมูลของกองทัพอากาศปี 2560 พบว่า เครื่องบินขับไล่แบบ F-5 มีประจำการอยู่ทั้งหมด 45 ลำ ซึ่งถือเป็นเครื่องบินไอพ่นยุคเก่า คือ 3.0

 

เปิดโปรไฟล์ เครื่องบินขับไล่ F-5 ของกองทัพอากาศไทย

โดยที่มีประจำการประกอบด้วย F-5E/F สังกัดฝูงบิน 701กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี เข้าประจำการในปี 2521-2522 จำนวน 20 เครื่อง แบ่งเป็น F-5E จำนวน 17 เครื่อง และ F-5F จำนวน 3 เครื่อง และในปี 2531เพิ่มเติม F-5E อีก 5 เครื่อง โดยเป็นเครื่องใช้แล้วจาก กองทัพอากาศสหรัฐฯ ถือว่าเป็น F-5E/F ฝูงแรก

ส่วนของฝูงบิน 211 กองบิน 21 จ.อุบลราชธานี เข้าประจำการในปี 2524 จำนวน 20 เครื่อง แบ่งเป็น F-5E จำนวน 17 เครื่อง และ F-5F จำนวน 3 เครื่อง ถือว่าเป็น F-5E/F ฝูงที่สอง

  

โดยเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2562 กองทัพอากาศได้มีการอัพเกรดเครื่องบินขับไล่  F-5 และบรรจุประจำการเครื่องบินขับไล่ F-5 TH จำนวน 14 ลำ และอากาศยานไร้คนขับแบบ RTAF U1 (อาร์-ที-เอ-เอฟ-ยู-วัน) โดยเครื่องบินขับไล่ F-5 ได้มีการปรับปรุงติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบ Avionics ที่ทันสมัย ระบบป้องกันตนเอง ระบบเรดาร์ใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับเป้าหมาย รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำสูงและระยะยิงไกล

 

เปิดโปรไฟล์ เครื่องบินขับไล่ F-5 ของกองทัพอากาศไทย

 

 

อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link) เพื่อรองรับการใช้งานระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Link-T) เทียบเท่าเครื่องบินขับไล่ GRIPEN 39 C/D ในยุค 4.5 โดยโครงการปรับปรุงทั้งหมดจะแล้วเสร็จในปี 2565 โดยเอฟ5เป็นเครื่องบินรบของสหรัฐฯ ที่อายุใช้งานเก่าที่สุด ในภูมิภาคนี้เหลือแค่ไทยเพียงประเทศเดียวที่ยังประจำการอยู่และได้มีการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อยืดอายุใช้งานได้ต่อไปอีก 15 ปี

เปิดโปรไฟล์ เครื่องบินขับไล่ F-5 ของกองทัพอากาศไทย

พลอากาศเอกมานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาทหารอากาศ เป็นประธานพิธีบรรจุประจำ การเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ขค หรือเครื่อง F - 5 TH และอากาศยานไร้คนขับแบบ RTA f U1 ณ ท่อากาศยานทหาร 2 กองบิ่น 6 ตอนเมืองโดยกองทัพอากาศ
อัพเกรตเครื่อง F - 5 TH จำนวน 15 เครื่อง ด้วยระบบ Avionics ระบบป้องกันตนเองใหม่ ะบบเรตาร์ใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพกรตรงจับเป้าหมาย รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธสมัยใหม่ความแม่นย่ำสูงและระยะยิงไกล

 

ทั้งยังเพิ่ม ระบบเครือข่ายเชื่อมโยงทางยุทธวิธี- (  ส่วนอากาศยานไร้คนขับระดับยุทธวิธี แบบRTA f U1 เป็นการร่วมมือกับภาคอุตสำหกรรมภายในประเทศ สนับสนุ และร่วมผลิตได้สำเร็จตามมาตรฐาน 17 เครื่องโดยสามารถปฏิบัติภารกิจได่ต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง รัศมีปฏิบัติการ 100 กม.

 

ขอขอบคุณที่มาภาพ : เพจคมชัดลึก 

                                pantip

logoline