svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ปีละครั้ง! เทศกาลล่าปลาบึกเขื่อนแก่งกระจาน สร้างรายได้ ทำประมงแบบยั่งยืน

21 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เทศกาลล่าปลาบึก เขื่อนแก่งกระจาน หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง สร้างรายได้ให้คนในพื้นที่ สร้างความยั่งยืน โดยล่า 1 ตัว ต้องปล่อยคืน 50 ตัว

หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง สำหรับเทศกาลล่าปลาบึก ในเขื่อนแก่งกระจาน โดยในช่วงปลายฝนต้นหนาวของทุกปี ที่เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีแห่งนี้ ชาวบ้านที่อาศัยอยูบริเวณรอบเขื่อน ก็จะออกมาล่าปลาบึก โดยในปีนี้ จังหวัดเพชรบุรีจัดเทศกาลล่าปลาบึกในเขื่อนแก่งกระจาน โดยหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนแก่งกระจาน ได้อนุญาตให้ล่าปลาบึกได้ไม่เกิน 50 ตัว ภายในระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ถึง 15 มกราคม 2565 แต่หากจับได้ครบ 50 ตัว ก่อนถึงวันที่กำหนดก็จะถือว่าสิ้นสุดการล่าปลาบึกทันที 

เทศกาลล่าปลาบึก ในเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

สำหรับปลาบึกในเขื่อนแก่งกระจาน มีการนำมาปล่อยไว้ตั้งแต่ปี 2528 โดยกรมชลประทานรมประมง ร่วมกับ จ.เพชรบุรี ได้มีแนวนโยบายร่วมกันในการใช้น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน ว่านอกจากจะใช้เพื่อการเกษตรกรรมแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อประโยชน์ให้กับคนในพื้นที่ ที่ประกอบอาชีพการประมงน้ำจืด 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> เริ่มแล้ว! เทศกาลล่าปลาบึกเขื่อนแก่งกระจาน 3 วัน ล่าแล้ว 25 ตัว

เทศกาลล่าปลาบึกในเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

กรมประมงจึงเริ่มนำปลาบึกจำนวนมาก จาก จ.เชียงราย มาปล่อยในเขื่อนแก่งกระจาน เมื่อปี พ.ศ.2528 แล้วปล่อยให้เจริญเติบโต ต่อมาชาวประมงในพื้นที่จับปลาในลักษณะเดียวกันได้ และคิดว่าเป็นปลาสวาย เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน มีน้ำหนักตัวประมาณ 5-6 กิโลกรัม จนหน่วยงานของกรมประมงทราบข่าว จึงได้ติดตามดูปลาที่ชาวบ้านจับมาขายจนพบว่าเป็นปลาบึก ไม่ใช่ปลาสวาย จึงได้มีการประชาสัมพันธ์และให้งดจับปลาบึกในช่วงนั้น เนื่องจากยังมีขนาดเล็ก กระทั่งปี พ.ศ.2546 จึงมีการจับปลาบึกที่มีขนาดใหญ่ได้อีกครั้ง และมีกลุ่มพรานปลาบึกออกล่าจับปลาบึกในช่วงปลายฝนต้นหนาวของทุกปี บางรายจับได้ นำไปขายได้เงินเป็นหลักล้าน กระทั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวประมงน้ำจืดในพื้นที่ได้ร่วมประชุมและตั้ง กลุ่มผู้ทำการประมงเขื่อนแก่งกระจาน พร้อมกำหนดกติกาขึ้นมาเพื่อควบคุมให้มีการล่าปลาบึกให้มีความเหมาะสม เพราะหากจับมาก ราคาก็จะถูกลง และส่งผลกระทบต่อปริมาณปลาอีกด้วย จึงเป็นที่มาของเทศกาลจับปลาบึก 

 

สำหรับมาตรการป้องกันไม่ปลาบึกหมดไปจากเขื่อนแก่งกระจาน นอกจากจะมีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา และจำนวนตัวและห้ามล่าปลาบึกนอกเทศกาลล่าปลาบึกแล้ว ผู้จับปลาบึกได้ต้องนำเงินส่วนหนึ่งเข้ากองทุนเพื่อ นำเงินกองทุนไปเป็นค่าใช้จ่าย 3 ส่วน คือ

  1. ซื้อลูกปลาบึกปล่อยทดแทน โดยจับได้ 1 ตัวต้องปล่อยลูกปลาบึกคืนในเขื่อนแก่งกระจาน 50 ตัว
  2. จัดงานทำบุญปลาบึกในวันที่ 9 เมษายนของทุกปี และ
  3. เข้ากองทุนเพื่อนประมง เพื่อนำไปส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอาชีพประมง และสร้างแนวคิดร่วมให้ชาวประมงยุคปัจจุบันรู้ถึงการทำประมงโดยรับผิดชอบ การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำในเขื่อนแก่งกระจาน

ปีละครั้ง! เทศกาลล่าปลาบึกเขื่อนแก่งกระจาน สร้างรายได้ ทำประมงแบบยั่งยืน  

logoline