svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

สภาฯไม่ล่มและผ่านฉลุย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

09 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่ล่มและผ่านฉลุย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.. 432 เสียงไม่เห็นด้วย 29 งดออเสียง 1 ขณะที่พรรคก้าวไกล แถลงก่อนโหวต มติพรรคเอกฉันท์ไม่รับ

9 พฤศจิกายน 2564  ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมรัฐสภา โดยนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... ต่อจากการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งที่ 7 ในสมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 ก.ย. โดยนายชวน แจ้งว่า การประชุมครั้งก่อน ที่ประชุมพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ มี น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แถลงหลักการและเหตุผลแล้ว และสมาชิกได้อภิปรายให้ความเห็น 70 คน ต่อมาประธานรัฐสภา สั่งปิดอภิปรายและปิดประชุม เพื่อมาลงมติในการประชุมครั้งนี้

 

จากนั้น ที่ประชุมรัฐสภา ได้ลงมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ด้วยคะแนน 435 ต่อ 30 งดออกเสียง 2 ไม่ออกเสียง 1 โดยให้มีการตั้งกมธ.49 คน แปรญัตติ15 วัน

สภาฯไม่ล่มและผ่านฉลุย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

อย่างไรก็ตามก่อนการประชุมลงมติกฎหมายฉบับดังกล่าว นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส. บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย ร่วมกันแถลงจุดยืนถึงการลงมติร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมร่วมรัฐสภาจะมีการลงมติในการประชุมวันนี้ (9 พ.ย.) ว่า ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ได้มีการอภิปรายครบถ้วนตั้งแต่ปลายสมัยประชุมที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลพบเงื่อนงำในร่างกฏหมายดังกล่าวใน 4 ประเด็น คือ

1.หลักการแก้ไขจะเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่พัฒนาไปถึงนักเรียน ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดหรือไม่

2.กระบวนการยกร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ เกิดจากการมีส่วนร่วมของครู บุคลากร และนักเรียน หรือไม่

3.เนื้อหาตอบโจทย์ และมีความเข้าใจต่อการปฏิรูปการศึกษาหรือไม่

และ 4.ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฯ ฉบับที่มีสมาชิกเข้าชื่อมากกว่า 20 คน ไม่อาจเข้าสู่กระบวนการพิจารณาร่วมกันของรัฐสภาทำให้ร่างที่พิจารณาอาจมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์

สภาฯไม่ล่มและผ่านฉลุย พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

 

ด้าน นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า พรรคก้าวไกลไม่พบการให้ความสำคัญ เรื่อง สิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เลย แม้แต่ครูผู้สอนก็ไม่มีสิทธิเสรีภาพในวิชาการ ไม่มีอิสรภาพในการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่น เป็นร่างพ.ร.บ.ที่ไม่ไว้วางใจครู นอกจากไม่เปิดกว้างยังกลายเป็นโซ่ตรวนที่ให้ขยับได้เพียงผู้มีอำนาจต้องการเท่านั้น

 

“ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังไม่มีการกระจายอำนาจ ซ้ำร้ายยังพยายามรวมศูนย์ทำหน้าที่ แทนคณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ โดยสรุปพรรคก้าวไกล จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า จะไม่รับร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากเห็นว่ามีความล้าหลังกว่าพ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ.2542” นายวิโรจน์ กล่าว

logoline