svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เหตุใดประเทศไทย ยังไม่เข้าร่วม "ปฏิญญากลาสโกว์" ในเวที COP26

08 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในการประชุมสุดยอดผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ได้มีผู้นำประเทศกว่า 105 ชาติ เข้าร่วมลงนามยุติการตัดไม้ทำลายป่า หรือ "ปฏิญญากลาสโกว์" แต่กลับไม่มีชื่อประเทศไทยในปฏิญญาดังกล่าว

8 พฤศจิกายน 2564 ภายหลังจากที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรว่าการกระทรวงกลาโหม กลับมาจากการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ก็ตีปี๊บร้องลั่น ระบุ "ภาวะโลกร้อน" เป็นภัยเงียบ พร้อมทั้งชวนพลังเยาวชน ทำงานเชื่อมโยงกับนโยบายที่รัฐบาลได้วางไว้ ด้วยการสร้างความตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหาโลกร้อน และสร้างจิตสำนึกสีเขียวที่รักและหวงแหนสิ่งแวดล้อม

เหตุใดประเทศไทย ยังไม่เข้าร่วม "ปฏิญญากลาสโกว์" ในเวที COP26

ขณะที่เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผู้นำประเทศกว่า 105 ชาติ ร่วมลงนามยุติการตัดไม้ทำลายป่าภายใน 2030 หรือที่เรียกว่า "ปฏิญญากลาสโกว์" (Glasgow Leaders’ Declaration on Forests and Land Use) โดยมีประเทศแคนาดา รัสเซีย บราซิล โคลอมเบีย อินโดนีเซีย และคองโก ซึ่งเป็นประเทศที่มีบริเวณพื้นที่ป่าที่สำคัญกำลังถูกตัดทำลาย หรือเสื่อมโทรม จนมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาล ก็ร่วมลงนามในครั้งนี้

เหตุใดประเทศไทย ยังไม่เข้าร่วม "ปฏิญญากลาสโกว์" ในเวที COP26

นอกจากนี้ ยังมีสหรัฐอเมริกา จีน และอีกหลาย ๆ ประเทศเช่นกัน ที่ร่วมลงนามประกาศยุติการตัดไม้ทำลายป่า แต่กลับไม่มีชื่อประเทศไทยในการลงนามยุติการตัดไม้นั้น จึงทำให้คนไทยหลายคนตั้งข้อสงสัยมากมาย 

ด้านนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นนี้ว่า ประเทศไทยเห็นด้วยในหลักการลงนามหยุดตัดไม้ภายใน 2030 เนื่องจากสอดคล้องกับเป้าหมายนโยบายป่าไม้แห่งชาติ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20  ปี เรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภท ให้ได้ร้อยละ 55 ภายในปี พ.ศ.2580 ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ กำกับดูแลงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ก็ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่องด้วย

ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการ สผ.

ขณะที่ ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช  เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงขั้นตอนการเข้าร่วมปฎิญญากลาสโกว์ ในส่วนของประเทศไทยจะต้องเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเห็นชอบก่อน  จากนั้นสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะฝ่ายเลขานุการภายใต้อนุสัญญา จะประสานแจ้งต่อสหราชอณาจักร ในการเข้าร่วมปฎิญญากลาสโกว์ ในฐานะประเทศเจ้าภาพอย่างเป็นทางการต่อไป 

เหตุใดประเทศไทย ยังไม่เข้าร่วม "ปฏิญญากลาสโกว์" ในเวที COP26

ทั้งนี้ "ปฏิญญากลาสโกว์" ของผู้นําด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow Leaders’ Declaration on Forests and Land Use) เป็นการเน้นย้ำบทบาทความสําคัญของการจัดการป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยปฏิญญาดังกล่าวได้แสดงความมุ่งมั่น ของผู้นําที่จะดําเนินงานร่วมกันเพื่อหยุดยั้งการสูญเสียป่าไม้และความเสื่อมโทรมของที่ดินภายในปี 2030

logoline