svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จับตาสายพันธุ์เดลต้าพลัส ต้องกังวลแค่ไหนกับการรายงานพบผู้ติดเชื้อ

26 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์โควิดประเทศไทยหลายพื้นดี มีแนวโน้มดีขึ้น ยกเว้นเพียงภาคใต้ ฝั่งสงขลา นครศรีธรรมราช ยะลา และอีกหลายจังหวัด ที่ยังดูน่าเป็นห่วง ส่วนภูเก็ตนั้นสถานการณ์ดีขึ้นมาก หนีไม่พ้น credit วัคซีน ซึ่งภูเก็ตฉีดเยอะมาก และมีเปอร์เซนต์ที่ได้เข็มสามแล้วเยอะมากเช่นกัน

26 ตุลาคม 2564 นับจากวันนี้เหลือเวลาอีกเพียง 6 วัน เราก็จะเปิดประเทศอีกครั้งหนึ่ง แต่ข่าวที่ทำให้เราต้องกังวลและต้องไม่ละเลย ก็คือ การตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) หรือ AY.4.2 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลต้าเดิมนั้นเอง ที่มีรายงานพบครั้งแรกเมื่อวานนี้ (25 ตุลาคม 2564) ที่จังหวัดอยุธยา ซึ่งได้มาจากการ "สุ่มตัวอย่างตรวจ" ดังนั้นแปลว่าอาจจะมี local transmission อยู่ระดับนึงแล้ว

จับตาสายพันธุ์เดลต้าพลัส ต้องกังวลแค่ไหนกับการรายงานพบผู้ติดเชื้อ

จากรายงานยืนยันว่าโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) นี้ แพร่ได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลต้าเดิมอีก 10-15% โดยพบว่าในช่วงนี้ พบโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส ระบาดหนักในประเทศอักกฤษมีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้แล้ว 6% ในภาพรวมของผู้ติดเชื้อในประเทศอังกฤษ

จับตาสายพันธุ์เดลต้าพลัส ต้องกังวลแค่ไหนกับการรายงานพบผู้ติดเชื้อ

ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จำแนกเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ ไว้เป็น 2 กลุ่ม คือ เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern หรือ VOC) และเชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ (Variants of Interest หรือ VOI)

เชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล ซึ่งมีการกลายพันธุ์ในระดับที่มีนัยสำคัญต่อสาธารณสุขโลก เช่น แพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น หรือทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพลดลง มีชื่อตามอักษรกรีก ดังนี้

  • สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.1.7 ที่ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร
  • สายพันธุ์เบต้า (Beta) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.351 ที่ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้
  • สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) ใช้เรียกสายพันธุ์ P.1 ที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศบราซิล
  • สายพันธุ์เดลต้า (Delta) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.617.2 ตรวจพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย

จับตาสายพันธุ์เดลต้าพลัส ต้องกังวลแค่ไหนกับการรายงานพบผู้ติดเชื้อ

เชื้อกลายพันธุ์ที่น่าสนใจ หรือน่าจับตา มีชื่อตามอักษรกรีก ดังนี้

  • สายพันธุ์เอปไซลอน (Epsilon) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.427/B.1.429 ที่ตรวจพบครั้งแรกในสหรัฐฯ
  • สายพันธุ์ซีตา (Zeta) ใช้เรียกสายพันธุ์ P.2 ที่ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล
  • สายพันธุ์อีตา (Eta) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.525 ที่ตรวจพบครั้งแรกในหลายประเทศ
  • สายพันธุ์ธีตา (Theta) ใช้เรียกสายพันธุ์ P.3 ที่ตรวจพบครั้งแรกในฟิลิปปินส์
  • สายพันธุ์ไอโอตา (Iota) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.526 ที่ตรวจพบครั้งแรกในสหรัฐฯ
  • สายพันธุ์แคปปา (Kappa) ใช้เรียกสายพันธุ์ B.1.617.1 ที่ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย

หากจะให้ทบทวนถึงอัตราการแพร่ระบาด ก็ต้องบอกว่า สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) แพร่ระบาดง่ายกว่าสายพันธุ์อู่ฮั่น หรือสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 50% สายพันธุ์เดลต้า (Delta) แพร่ระบาดง่ายกว่าสายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) 60% ส่วนสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) ก็แพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลต้า (Delta) 10-15% แต่นี่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราต้องกังวลที่สุด เพราะถึงแม้จะแพร่ระบาดได้ง่าย แต่ถ้าไม่รุนแรงก็ยังไม่น่าวิตกกังวลใดๆ แต่เมื่อมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ แน่นอนว่าก็ควรเฝ้าระวัง

จับตาสายพันธุ์เดลต้าพลัส ต้องกังวลแค่ไหนกับการรายงานพบผู้ติดเชื้อ

สำหรับความรุนแรงของสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) ยังไม่มีรายงานที่บ่งชี้ว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน แต่คาดว่าน่าจะรุนแรงในระดับเดียวกันกับสายพันธุ์เดลต้า (Delta) อย่างไรก็ดี ถ้ามันรุนแรง แต่เราฉีดวันซีนกันทั่วถึง ก็ทำให้อัตราการเสียชีวิต หรืออัตราการป่วยหนักไม่มากเหมือนเดิม คำถามสำคัญอยู่ที่ว่า เราฉีดวัคซีนได้ทั่วถึงแค่ไหน และเจ้าสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) มีการหลบหลีกวัคซีนได้มากน้อยแค่ไหน

จับตาสายพันธุ์เดลต้าพลัส ต้องกังวลแค่ไหนกับการรายงานพบผู้ติดเชื้อ

อันนี้ต่างหากที่น่ากังวล เพราะถ้ามันไม่ดื้อวัคซีน และถ้าเราสามารถฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมประชากรมากเท่าไหร่ การระบาดของเวฟถัดไปก็คงไม่มีอะไรให้น่ากังวล แต่ถ้าสายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) นี้ดันดื้อวัคซีน หรืออัตราการฉีดให้ประชาชนในต่างจังหวัดยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง ทั้งที่มีการเปิดเมืองไปแล้ว ก็จะทำให้เกิดการระบาดรอบใหม่ 
 

logoline