svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จับตาทิศทาง “เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 4” ฟื้นตัวฝ่าวิกฤติโควิดได้หรือไม่?

26 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เผยผลการสำรวจ Analyst Survey ครั้งที่ 3 (ไตรมาส 4 ปี 2564) “ภาวะเศรษฐกิจไทย” จากความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ วัคซีน การเมือง เป็นตัวแปรสำคัญ

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในสภาวะเปราะบาง จากผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 จากมุมมองของนักวิเคราะห์ เศรษฐกิจไทยปี 2564 ลงเหลือร้อยละ 0.6 แต่ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในใตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มฟื้นตัว

 

สะท้อนจากการคาดการณ์ว่าทุกเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจจะขยายตัวเล็กน้อย จากแรงสนับสนุนทั้งนโยบายด้านการคลังและการเงิน รวมถึงการฉีดวัคซีนที่คืบหน้าไปมากและการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมฯ ส่งผลให้กำลังซื้อในประเทศเริ่มฟื้นตัว

 

โดยภาคการผลิตมีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่าธุรกิจในภาคที่มิใช่การผลิต จากการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า

 

้เครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ี 4/2561

 

อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ค่าระวางเรือ และราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงปัจจัยภายในประเทศ อาทิ ปัญหาหนี้ครัวเรือน ความไม่แน่นอนทางการเมือง กดดันให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง

คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อน โดยนักวิเคราะห์ที่มองว่าเศรษฐกิจจะกลับเป็นปกติภายในปี 65 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

 

ส่วนใหญ่เห็นว่า ประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ช้ากว่าการประเมินในรอบเดือน ก.ค. ที่เป็นช่วงก่อนการระบาดรุนแรง ส่วนหนึ่งเพราะกังวลว่า การระบาดอาจกลับมารุนแรงขึ้นอีกหลังจากเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยจำนวนผู้ได้รับวัคซีน 2 เข็มเกิน 70% ของประชากร จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดต่อการกลับมาใช้ชีวิตปกติของประชาชน

 

คาดการณ์ระดับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจในไตรมาสที่ 4 /2564 (ระดับในปี 2562=100%)

คาดการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลับสู่สภาวะปกติ

ปัจจัยเสี่ยง

  •  การขาดเคลนชิ้นส่วนเซมิ คอนดักเตอร์ 100%
  • หนี้สินภาคครัวเรือน 100%
  • ราคาพลังงาน 96%
  • เสถียรภาพการเมืองในประเทศ 92%
  • ค่าระวางเรือ 92%

ปัจจัยสนับสนุน

  • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ 92%
  • ทิศทางนโยบายการเงินของไทย 84%
  • ประสิทธิภาพและความคืบหน้าการฉีดวัคซีน COVID-19 ในประเทศ 81%
  • กำลังซื้อในประเทศ 69%
  • การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 68%

 

คาดการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลับสู่สภาวะปกติ  ปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยสนับสนุน

 

คาดการณ์ปีนี้และปีหน้า

อัตราการเติบโตของ GDP ทั้งปี

  • ปี 2564 0.6%  (1.3%)
  • ปี 2565 3.5%  (3.0%)

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี

  • ปี 2564 1.0% (1.2%)
  • ปี 2565 1.5% (1.5%)

อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี

  • ปี 2564 0.5% (0.5%)
  • ปี 2565 0.5% (0.5%)

ค่าเงินบาท ณ สิ้นปี (บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ)

  • ปี 2564 33.5 (32.5)
  • ปี 2565 32.5

 

คาดการณ์ปีนี้ 2564 และปีหน้า 2565

ที่มา : การสำรวจความคิดเห็นนักวิเคราะห์ที่เข้าร่วมงาน Analyst Meeting วันที่ 18 ต.ค. 64 จำนวน 26 ราย ส่วนใหญ่มาจาก ธพ. และหน่วยงานรัฐ ส่วนวิเคราะห์สนทศธุรกิจและครัวเรือน ฝคศ.

logoline