svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ความฮิตของ Squid Game ออร์เดอร์ชุดวอร์มท่วมท้น ตัดแทบไม่ทัน

23 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชุดวอร์มสีเขียวกับชุดติดกันสีชมพู "Made in Korea" ที่เห็นในซีรีส์ "Squid Game" ของ Netflix ช่วยชุบชีวิตอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป (garment) ซบเซามานานเพราะการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลฮัลโลวีน

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปขนาดย่อมแห่งหนึ่ง ที่มีเนื้อที่เพียง 500 ตารางเมตร ในเขตซองบุกของกรุงโซล เต็มไปด้วยความคึกคักในสัปดาห์นี้ หลอดด้ายสีเขียวและสีชมพูหมุนอยู่บนจักรเย็บผ้า ในขณะที่ช่างเย็บทำงานมือเป็นระวิงเพื่อให้เสร็จทันออเดอร์... คิม จิน-จา เจ้าของโรงงานวัย 54 ปี บอกว่าปกติเดือนตุลาคมจะเป็นเดือนที่ชะลอตัวของอุตสาหกรรมตัดเย็บ ต้องขอบคุณ "Squid Game" และวันฮัลโลวีน ที่ทำให้ช่างเย็บมือเป็นระวิง เธอบอกด้วยว่า โรงงานได้รับออเดอร์ชุดวอร์มสีเขียว มา 6,000 ชุด ภายในเวลา 2 สัปดาห์ 

 

ภาพ : Reuters

คิม บอกว่ารายได้รายปีของเธออยู่ที่ 1,500 ล้านวอน (42 ล้านบาท) ลดลงไป 1 ใน 3 จากรายรับเดิมเพราะการระบาดของ โควิด-19 ซึ่งออเดอร์ส่วนใหญ่มาจากญี่ปุ่น แต่มาตรการคุมเข้มเรื่องการเดินทาง ส่งผลให้เธอต้องปิดโรงงานระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน และตอนนี้เธอได้แต่หวังว่าออเดอร์จะยังคงมีมาหลังจากผ่านวันฮัลโลวีนไปแล้ว และมีโอกาสที่จะได้กลับมาส่งออกสินค้า "Made in Korea" อีกครั้ง 

 

ภาพ : Reuters

 

อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเกาหลีใต้ เริ่มซบเซาตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของ โควิด-19 เพราะอัตราค่าแรงที่แพงขึ้น ทำให้ยากที่จะแข่งขันกับจีน เวียดนามและอินโดนีเซีย ในบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมในเขตซองบุก 2,144 แห่ง มีอยู่ 70% หรือ 1,510 แห่ง ที่เป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป แต่ช่วง 2 ปี ที่มีการระบาดของ โควิด-19 เป็นช่วงที่ยากลำบากของอุตสาหกรรมแฟชั่นในประเทศ แต่เมื่อ "Squid Game" โด่งดังไปทั่วโลก ก็กลายเป็นการชุบชีวิตชุดวอร์มและฟื้นฟูอุตสาหกรรมในประเทศ ด้วยออร์เดอร์ที่เข้ามาอย่างท่วมท้น 

 

ภาพ : Reuters

ภาพ : Reuters

 

ชุดวอร์ม Squid Game สำหรับเด็ก ถูกตั้งราคาขายที่ 30,000 วอน (850 บาท) หาซื้อได้ที่ตลาดนัมแดมุน ที่ได้ชื่อว่าเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่มีสินค้าหลากหลายตั้งแต่เครื่องครัวจนถึงเครื่องประดับ ขณะที่บรรดาร้านค้าในตลาดแห่งนี้ บอกว่าไม่มีชุดวอร์มเพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น

 

ภาพ : Reuters

logoline