svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

"ตร.ไซเบอร์"แฉ 3 กลโกง ขณะเหยื่อดูดเงินพุ่ง 4 หมื่นราย สูญไม่ต่ำ 10 ล้าน

18 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ช็อก! ยอดเหยื่อโดนดูดเงินถึง 4 หมื่นราย สูญเงินไม่ต่ำ 10 ล้าน ตร.ไซเบอร์เผยทำเป็นขบวนการ ดูดเงินครั้งละไม่มาก แต่ทำหลายครั้ง

วันนี้ (18 ต.ค. 64) ที่บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) เมืองทองธานี พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. พร้อมด้วย พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รองผบช.สอท. พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ผบก.ตอท. ร่วมกันแถลงกรณีมิจฉาชีพล้วงข้อมูลส่วนตัว หลอกถอนเงินจากบัญชีธนาคาร โดยมีประชาชนหลายรายถูกหักเงินออกจากบัญชีธนาคาร บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต โดยไม่ทราบสาเหตุ

 

พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.)

พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า ขณะนี้ตำรวจไซเบอร์ร่วมประชุมกับสภาธนาคารไทย และธปท. เพื่อหาความร่วมมือแก้ปัญหากรณีดังกล่าว เบื้องต้นพบว่า มีผู้เสียหายประมาณ 4 หมื่นคน ยอดสูงสุด 2 แสนบาท มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งผู้เสียหายถูกถอนเงินครั้งละจำนวนไม่มาก แต่หลายบาท หลายครั้ง เชื่อว่าคนร้ายไม่น่าจะก่อเหตุคนเดียวและมาจากหลายกลุ่มใช้วิธีหลายรูปแบบ

 

"ตร.ไซเบอร์"แฉ 3 กลโกง  ขณะเหยื่อดูดเงินพุ่ง 4 หมื่นราย สูญไม่ต่ำ 10 ล้าน

 

พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า พฤติการณ์การก่อเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก 3 ลักษณะ คือ

 

1.เป็นการผูกบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารเข้ากับแอพลิเคชั่นต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่นออนไลน์ และข้อมูลเกิดหลุดไปถึงแก๊งมิจฉาชีพ

 

2.การส่ง SMS หลอกลวง ที่จะส่งลิงก์มาตาม sms เข้ามือถือผู้เสียหาย และให้กรอกข้อมูลต่างๆ เช่น ปล่อยเงินกู้ ไปรษณีย์ไทย 

 

3.การใช้บัตรเครดิตและบัตรเดบิตในชีวิตประจำวัน เช่น การให้บัตรพนักงานไปชำระค่าสินค้าและบริการ ในห้าง หรือการเติมน้ำน้ำมัน อาจถูกพนักงานเก็บข้อมูลเลขหน้าบัตร 16 หลัก และเลข CVC หลังบัตร 3 ตัว ซึ่งคนร้ายอาจรวบรวมข้อมูลและขายต่อในตลาดมืด

จึงฝากเตือนประชาชนอย่าผูกบัตรเครดิต บัตรเดบิตกับแอพพลิเคชั่นที่ไม่จำเป็นหรือไม่น่าเชื้อถือ ไม่คลิกลิงก์ใน sms หรืออีเมล์แปลกที่ไม่รู้จัก และควรลบหรือปิดเลข CVC เลข 3 ตัวหลังบัตร เพื่อความปลอดภัย

 

"ตร.ไซเบอร์"แฉ 3 กลโกง  ขณะเหยื่อดูดเงินพุ่ง 4 หมื่นราย สูญไม่ต่ำ 10 ล้าน

 

พล.ต.ต.นิเวศน์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพฤติกรรมการดูดเงินมักจะเป็นการดูดเงินจำนวนไม่กี่บาท แต่หลายๆ ยอด เพราะหากเป็นบัตรเดบิตมักจะไม่ส่ง sms แจ้งเตือนให้ผู้เสียหายรู้ ซึ่งยอดเหล่านี้มักเกิดจากการชำระซื้อค่าไอเทมในเกม หรือซื้อโฆษณาออนไลน์ ที่ไม่จำเป็นต้องส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อ ซึ่งการสืบสวนตำรวจต้องประสานกับร้านค้าที่รับชำระว่า กระบวนการตัดเงินอย่างไร หากเป็นแอพพลิเคชั่นในประเทศอาจง่ายต่อการตรวจสอบมากกว่าแอพพลิเคชั่นที่อยู่ในต่างเทศ เช่น google

 

"ตร.ไซเบอร์"แฉ 3 กลโกง  ขณะเหยื่อดูดเงินพุ่ง 4 หมื่นราย สูญไม่ต่ำ 10 ล้าน

 

ทั้งนี้จะหารรือกับธปท.และกลุ่มผู้ค้าสินค้าออนไลน์ ถึงมาตรการป้องกัน อาทิ อาจมีการลงทะเบียนร้านค้าออนไลน์ อาจปรับมาตรการแจ้งเตือนชำระสินค้าและบริการที่เป็นยอดน้อยๆ ไม่ถึงขั้นต่ำ เพื่อป้องกันการปัญหาดังกล่าว

logoline