svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เทียบชัดๆ ยารักษาโควิด-19 ในประเทศไทย กับยาโมลนูพิราเวียร์

10 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลังจากที่ผลการทดลองยาโมลนูพิราเวียร์เปิดเผยออกมา ว่าสามารถต้านไวรัสก่อโรคโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เกิดคำถามว่า แล้วยารักษาโควิดในประเทศไทย แตกต่างจากยาโมลนูพิราเวียร์อย่างไรบ้าง

10 ตุลาคม 2564 ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ยาชนิดใหม่ ที่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการใช้กับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ใกล้เคียง “ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)” ที่ไทยได้นำมาใช้กับผู้ป่วยในกลุ่มผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการขึ้นไป โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลไว้ว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เป็นยาเม็ดชนิดรับประทานออกฤทธิ์ต้านไวรัส พัฒนาขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ จากการศึกษาพบว่า มีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนาหลายชนิด เช่น ซาร์ เมอร์ส และโควิด-19 ปัจจุบัน โมลนูพิราเวียร์ มีสถานะเป็นยาต้านไวรัสทดลอง อยู่ระหว่างการวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 3 และอยู่ระหว่างการพิจารณาให้การรับรองขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration) โดยหลังจากนี้ หากผลการศึกษาพบว่ายาโมลนูพิราเวียร์มีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรค และลดโอกาสในการเสียชีวิตมีโอกาสได้รับการรับรองให้ใช้เป็นยาฉุกเฉินสำหรับการรักษาโรคโควิด-19

ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir)

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตามแนวทางหลักของการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทย มียารักษาโควิดที่ใช้ คือ  ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาเรมเดซิเวียร์ในคนที่กินยาฟาวิพิราเวียร์ไม่ได้ เช่น ตั้งครรภ์ หรือกินอะไรไม่ได้ และแพทย์บางคนหลังจากใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ 5 วันไม่ได้ผล ก็เปลี่ยนเป็นยาเรมเดซิเวียร์เลย นอกจากนี้ ก็ใช้ยาสเตียรอยด์ในช่วงที่มีการอักเสบ เพราะสามารถลดการอักเสบได้ และยากดภูมิคุ้มกัน ในช่วงที่มีไซโตไคน์สตรอม คือ ภาวะที่ร่างกายมีการอักเสบอย่างรุนแรงแล้วภูมิคุ้มกันร่างกายขึ้นสูง ก็ต้องใช้ยากดภูมิฯ ซึ่งหลายรายได้ผล แต่ต้องใช้จังหวะที่พอดี

เทียบชัดๆ ยารักษาโควิด-19 ในประเทศไทย กับยาโมลนูพิราเวียร์

อย่างไรก็ตาม ในการทดลองใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในผู้ป่วยที่มีอาการหนัก พบว่าไม่ได้ผล จึงได้เลิกการวิจัย สำหรับแนวทางการจะใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในประเทศไทย นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มียาโมลนูพิราเวียร์ออกมาใช้ เว้นในการศึกษาวิจัยเท่านั้น และถ้ามีการขึ้นทะเบียน ก็จะเป็นการใช้แบบฉุกเฉิน ส่วนแนวทางการให้ยาตัวนี้เมื่อมีเข้ามาในประเทศไทย จะต้องให้คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาอีกครั้ง โดยจะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาพิจารณา ก่อนออกเป็นข้อกำหนดว่าจะให้มีแนวทางการให้ยาอย่างไร จะให้ร่วมกับยาฟาร์วิพิราเวียร์หรือไม่ หรือให้อย่างไร เพราะยานี้ออกฤทธิ์กลไกเดียวกับยาฟาวิพิราเวียร์

เทียบยาโมลนิพิราเวียร์ กับ "ฟาวิพิราเวียร์" ยาโมลนูพิราเวียร์ออกฤทธิ์ในกลไกเดียวกับยาฟาวิพิราเวียร์ คือ ยับยั้งไวรัส โดยยาโมลนูพิราเวียร์นั้นถูกออกแบบมา เพื่อเป็นการยับยั้งไวรัสก่อโรคโควิด-19โดยเฉพาะ  และได้ผลดีในผู้ที่มาอาการน้อยถึงปานกลาง ส่วนผู้ที่อาการหนักรักษาไม่ได้ผล โดยต้องให้ยาเร็ว ภายใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ ขณะที่ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาที่ยับยั้งไวรัสตัวอื่นๆ  ไม่ได้เฉพาะต่อไวรัสก่อโรคโควิด -19 และต้องให้ยาเร็วเช่นเดียวกัน  

“ประสิทธิภาพยาโมลนูพิราเวียร์กับยาฟาวิพิราเวียร์ เปรียบเทียบกันยาก  เพราะว่ายาฟาวิพิราเวียร์ไม่ได้มีการทำการทดลองศึกษาวิจัยแบบที่ทำในยาโมลนูพิราเวียร์ คือ เอาคนไข้สมมติ 1,000 คน แล้วมาแบ่งครึ่งๆ ได้ยาฟาวิพิราเวียร์และยาหลอก เนื่องจากประเทศไทยต้องรีบให้ยาผู้ป่วย และไม่มีใครกล้าศึกษาวิจัยแบบนี้”

เทียบชัดๆ ยารักษาโควิด-19 ในประเทศไทย กับยาโมลนูพิราเวียร์

เทียบโมลนูพิราเวียร์และฟ้าทะลายโจร การให้ยาฟ้าทะลายโจรนั้น จะให้ในผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ ส่วนที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางจะให้ยาฟาวิพิราเวียร์ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำการใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโควิด-19ว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจรถือว่าเป็นยา ต้องใช้อย่างระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ควรรับประทาน 180 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งวันละ 3 ครั้งต่อเนื่อง 5 วัน ส่วนเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไปรับประทาน 3.5-5 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งวันละ 3 ครั้งต่อเนื่อง 5 วัน ข้อห้ามใช้คือผู้ที่มีอาการแพ้ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพราะอาจกระทบทารกได้ ผู้ป่วยโรคตับและไตอาจทำให้ยาสะสมในร่างกาย เนื่องจากกำจัดยาได้ช้า รวมถึงผู้ที่รับประทานยาตัวอื่น เช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน โคลพิโดเกรล ยาลดความดันโลหิต

เทียบชัดๆ ยารักษาโควิด-19 ในประเทศไทย กับยาโมลนูพิราเวียร์

logoline