svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

ในหลวง ร ๙ ในความทรงจำ : สุนีย์ ชุมนพรัตน์ น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

07 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดใจ"สุนีย์ ชุมนพรัตน์"กลุ่มเลี้ยงแพะท่าน้ำ จ.ปัตตานี ที่สร้างอาชีพ-รายได้ที่มั่นคงให้ชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถสร้างรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

"สุนีย์ ชุมนพรัตน์" หัวเรี่ยวหัวแรงแห่งกลุ่มเลี้ยงแพะท่าน้ำ จ.ปัตตานี ที่สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ให้ชุมชนเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

 

พื้นที่บ้านสุเหร่า ต.ท่าน้ำ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เป็นหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบจังหวัดชายแดนใต้ ที่สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เข้ามาพัฒนาพื้นที่ตามแผนพัฒนาชนบท โดยมีเป้าหมายหลัก คือ การพัฒนาแหล่งทำกิน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ให้อยู่ดีกินดี

 

ดูคลิป https://fb.watch/8yd8PNtSyc/

 

 

ในหลวง ร ๙ ในความทรงจำ : สุนีย์ ชุมนพรัตน์ น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

เกษตรกรพื้นที่บ้านสุเหร่า ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร ทำนา กรีดยาง และมีส่วนหนึ่งที่ทำปศุสัตว์เลี้ยงแพะ เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามหลักศาสนาอิสลาม และเลี้ยงไว้ขายเพื่อการบริโภค ความต้องการแพะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้จึงมีสูง ในขณะที่ปริมาณแพะใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

 

มีไม่เพียงพอต่อการบริโภค สถาบันฯ ปิดทองหลังพระฯ ได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุน โดยนำแพะพระราชทานพันธุ์แบล็คเบงกอล ไปแจกจ่ายให้กับเกษตรกร รายละ 5 ตัว พร้อมทั้งสนับสนุนในเรื่ององค์ความรู้ต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงแพะมากยิ่งขึ้น

 

ในหลวง ร ๙ ในความทรงจำ : สุนีย์ ชุมนพรัตน์ น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

สุนีย์ ชุมนพรัตน์ หรือ ก๊ะสุนีย์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแพะท่าน้ำ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี เกษตรกรตัวอย่างด้านการเลี้ยงแพะที่ประสบความสำเร็จ กล่าวว่า ความเป็นมาเริ่มแรกของการเลี้ยงแพะในพื้นที่ มาจากการที่กลุ่มเคยได้รับการสนับสนุนจากโครงการไทยเข้มแข็ง รัฐบาลมีการสำรวจความต้องการของชาวบ้านในเรื่องการประกอบอาชีพ

 

ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการเลี้ยงแพะ แต่ผู้เลี้ยงแพะบางคนไม่มีคอก ไม่มีประสบการณ์การเลี้ยง เกิดปัญหา แพะเป็นโรค แพะตาย ในที่สุดก็เลิกเลี้ยง โดยมีสมาชิกที่ยังคงเลี้ยงแพะเหลืออยู่ประมาณ 10 กว่าคน

 

ก๊ะสุนีย์ กล่าวว่า ตอนนี้มีแพะทั้งหมด 20 กว่าตัว มีแม่พันธุ์ 9 ตัว เป็นตัวผู้ 3 ตัว ที่เหลือเป็นลูกเล็ก ๆ ตอนนี้แพะที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด บางครั้งออกลูกมาเป็นตัวเมีย ถ้ามีความสมบูรณ์ มีลักษณะสวย ก็จะเก็บไว้เป็นแม่พันธุ์ ขณะนี้ทางกลุ่มมีสมาชิกกว่า 25 คน แต่ละคนมีคอกเป็นของตัวเอง มีแพะคนละ 5 ตัวขึ้นไป

 

ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์แบล็คเบงกอล และพันธุ์ลูกผสม สมาชิกกลุ่มมีรายได้ มีเงินเก็บ ช่วงที่มีสถานการณ์โควิด-19 ทุกคนก็อยู่ได้ ไม่ได้รับผลกระทบเหมือนที่อื่น

 

สำหรับอาหารของแพะนั้น ก๊ะสุนีย์ กล่าวว่า แพะกินได้ทุกอย่าง ใบไม้หรือแม้แต่หญ้าที่ขึ้นอยู่ริมถนน ก็สามารถตัดมาเป็นอาหารของแพะได้ แพะไม่เลือก ส่วนใหญ่จะให้ผักกระฉูด และหญ้าเนเปียร์ นำไปเข้าเครื่องสับ บางครั้งก็เก็บใบยอ ใบเม่า ตามทุ่งนาให้แพะกินโดยไม่ต้องสับ

 

ในหลวง ร ๙ ในความทรงจำ : สุนีย์ ชุมนพรัตน์ น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

 

แต่ถ้าเป็นหญ้าก็จะหมักไว้ในหน้าฝนให้แพะกิน นำหญ้ามาหมักกับเกลือ กากน้ำตาล กากมะพร้าว ใส่รำ ผสมให้เข้ากัน เรียกว่า สูตร "ทีเอ็มอาร์"  คือ เอาอาหารข้นกับอาหารหยาบมาผสมกัน ใช้เวลาหมัก 20 วัน ก็สามารถนำมาให้แพะกินได้

 

บางคนก็หมักหญ้าอย่างเดียว เพราะมีเกลือกับกากน้ำตาลอยู่แล้ว แพะโตไว และมีสุขภาพดี ทุกคนในกลุ่มจะเลี้ยงแบบนี้ เพราะมีวัตถุดิบในพื้นที่อยู่แล้วไม่ต้องซื้อหา อาจจะสลับสับเปลี่ยนพืชเท่านั้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน

 

และนี่คือวิถีการเลี้ยงแพะของเกษตรกรบ้านสุเหร่า เน้นการหาอาหารดีมีประโยชน์ที่มีอยู่ในพื้นที่ ต้นไม้ใบหญ้า เพื่อประหยัดต้นทุน ทำให้เกษตรกรมีรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย 

 

โดยมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ได้เริ่มการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตามแนวพระราชดำริ ตั้งแต่ปี 2559 ในพื้นที่ 6 หมู่บ้าน ของ 3 จังหวัดภาคใต้ และได้ทำงานร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อหารูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งโครงการต่างๆที่ดำเนินการ ปัจจุบันมีชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ ได้รับประโยชน์ 5,158 คน 1,075 ครัวเรือน ในพื้นที่ทั้งหมด 27,484 ไร่ และแบ่งเป็นพื้นที่ทางการเกษตรมากถึง 18,538 ไร่ 

 

ในหลวง ร ๙ ในความทรงจำ : สุนีย์ ชุมนพรัตน์ น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

 

#ในหลวงในความทรงจำ #ในหลวงในความทรงจำตอนที่2

ขอบคุณข้อมูลและภาพ จาก "มูลนิธิปิดทองหลัง สืบสานแนวพระราชดำริ"

logoline