svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

นักศึกษากัมพูชาคิดทำโดรนแท็กซี่ หวังแก้ปัญหาจราจร

21 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หวังว่าอีก 2 ปี เครื่องต้นแบบจะเสร็จสมบูรณ์ พร้อมต่อยอดไปถึงโดรนดับเพลิง ที่สามารถขึ้นไปดับเพลิงบนตึกสูงที่รถดับเพลิงไปไม่ถึง

ด้วยแรงบันดาลใจจากความปรารถนาที่จะเอาชนะปัญหาการจราจรที่แสนจะยุ่งวุ่นวายในเมืองของพวกเขา นักศึกษากัมพูชากลุ่มหนึ่งได้ออกแบบโดรนต้นแบบที่พวกเขาหวังว่า สุดท้ายแล้วจะสามารถใช้ในการขนส่งผู้คนไปตามที่ต่าง ๆ ทั่วกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา หรือแม้กระทั่งใช้ช่วยในดับเพลิงก็ยังได้

โดรนรุ่นนี้ได้รับการพัฒนาโดยนักศึกษาจากสถาบันโปลีเทคนิคแห่งชาติกัมพูชา หรือ NPIC  โดรนของพวกเขาในปัจจุบันใช้ชุดใบพัด 8 ชุด และเก้าอี้ของโรงเรียน เป็นที่นั่งของนักบินโดรน

โดรนซึ่งทีมพัฒนาหวังว่าจะใช้ชื่อว่า  "NPIC Human Carrier Drone"  ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นของการพัฒนาและทดสอบ ด้วยแบตเตอรี่ 4 ก้อน โดรนต้นแบบสามารถบรรทุกนักบินที่มีน้ำหนักมากถึง 60 กก. และบินได้สูงถึง 4 เมตร เป็นเวลาประมาณ 10 นาที

นักศึกษากัมพูชาคิดทำโดรนแท็กซี่ หวังแก้ปัญหาจราจร


 

ลอนห์ วานสิทธิ์ วัย 21 ปี บอกว่า “เราต้องการแก้ปัญหาบางอย่างให้กับสังคมของเราด้วยการสร้างโดรนแท็กซี่ และโดรนสำหรับนักผจญเพลิง” ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาหวังว่าสักวันหนึ่งมันจะไปถึงชั้นบนของอาคารเพื่อนำหัวฉีดน้ำดับเพลิงไปยังจุดที่รถดับเพลิงไม่สามารถไปถึงได้

 

โดรนต้นแบบใช้งบประมาณในการสร้างประมาณ 20,000 ดอลลาร์ หรือราว 6 แสน 7 หมื่นบาท และเวลาอีก 3 ปี และบรรดานักศึกษาประเมินว่ายังต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2 ปีจึงจะพร้อมและการทดสอบจะเสร็จสมบูรณ์

 

นักศึกษากัมพูชาคิดทำโดรนแท็กซี่ หวังแก้ปัญหาจราจร

สาริน  สเรวัตธา หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของ NPIC บอกว่าขณะนี้ทางสถาบันกำลังพยายามหาเงินทุนเพิ่มเติมสำหรับโครงการนี้ การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การพัฒนาและการทดสอบล่าช้าอย่างมาก แต่เมื่อสร้างเครื่องต้นแบบ เสร็จแล้ว ทางสถาบันหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

“โดยหลักการแล้ว ถ้าเราสร้างโดรนขึ้นมาหนึ่งลำ ค่าใช้จ่ายก็จะแพง แต่ถ้าเราทำเพื่อขายในท้องตลาด ต้นทุนก็จะลดลง เพราะเมื่อเราทำวิจัย เราต้องการเงินเพื่อทำสิ่งนั้น และเมื่อเราลงทุนเพื่อสร้างโดรนลำเดียว ต้นทุนก็จะสูงขึ้น” 

ตามรายงานของสเรวัตธา ทางสถาบันยังคงวางแผนที่จะสร้างโดรนดับเพลิงต้นแบบ ซึ่งเป็นโครงการที่อาจมีต้นทุนสูงถึง 40,000 ดอลลาร์ หรือ 1 ล้าน 3 แสนบาท ขณะที่ทีมงานยังทำการปรับปรุงการออกแบบ และการทำงานของโดรนขนส่งเช่น การเพิ่มชุดใบพัด
นักศึกษากัมพูชาคิดทำโดรนแท็กซี่ หวังแก้ปัญหาจราจร

logoline