svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

"มัลลิกา" ชู "จุรินทร์" ผู้นำด้าน "ประกันรายได้เกษตรกร"

18 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชุมพร - มัลลิกา ชู "จุรินทร์" ผู้นำด้าน "ประกันรายได้เกษตรกร" ช่วยประชาชนเกือบ 8 ล้านครัวเรือนทั้งประเทศ "เงินส่วนต่าง" เป็นทุนหมุนเวียนทางเศรษฐกิจฐานราก "ช่วยวิกฤตชาติ"

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าครบ 2 ปีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาไปเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564 ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่ตามเงื่อนไขการเข้าร่วมรัฐบาลและหนึ่งในนั้นคือนโยบายช่วยเกษตรกรในโครงการประกันรายได้เกษตรกร

นางมัลลิกา เปิดเผยว่า จากการติดตามผลสรุปเชิงนโยบายของนายจุรินทร์และรัฐบาลเพื่อเดินหน้าปีที่3ของโครงการตามนโยบาย ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายสินค้าเกษตรพืช 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และยางพารา ได้เห็นชอบหลักการโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรและมาตรการคู่ขนาน ปี 2564/65 ในเบื้องต้นแล้ว และอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว เหลือในส่วนของปาล์มน้ำมันนั้นอยู่ระหว่างการนำเสนอ คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) พิจารณาเห็นชอบ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไปเช่นกัน สำหรับผลการดำเนินโครงการประกันรายได้และมาตรการคู่ขนาน ปี  2563/64 หรือสรุปของปี2 มีเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการทั้ง 5 สินค้า รวม 7.87 ล้านครัวเรือน วงเงินประกันรายได้5 สินค้า รวม 75,166.70 ล้านบาท โดยมีการโอนเงินชดเชยให้เกษตรกรแล้ว 6.964 ล้านครัวเรือน รวมเป็นเงิน 60,041.95 ล้านบาท คิดเป็น 79.88%

"มัลลิกา" ชู "จุรินทร์" ผู้นำด้าน "ประกันรายได้เกษตรกร"
 

นางมัลลิกา ระบุว่า การประกันรายได้ข้าว กำหนดราคาประกันรายได้เหมือนกันทุกปี คือ ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 14 ตัน) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 16 ตัน) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 25 ตัน) ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 30 ตัน) ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 บาท/ตัน (ปริมาณครัวเรือนละ 16 ตัน) โดยมีเกษตรกรจำนวน 4.686 ล้านครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ วงเงิน 49,509.81 ล้านบาท ซึ่งประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงครบแล้วทั้ง 30 งวด โดยได้โอนเงินให้เกษตรกรแล้ว 4.688 ล้านครัวเรือน จำนวน 48,177.32 ล้านบาท เป็น 97.31% ซึ่งมีการจ่ายชดเชยสูงสุดให้เกษตรกร สำหรับข้าวหอมมะลิ  42,830.62 บาท/ครัวเรือน ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 41,680.96 บาท/ครัวเรือน ข้าวเปลือกเจ้า 36,670.80 บาท/ครัวเรือน ข้าวปทุมธานี 26,674.00 บาท/ครัวเรือน และข้าวเหนียว 33,349.44 บาท/ครัวเรือน และสำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 หรือปี 3 มติคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 64 เห็นชอบโครงการโดยให้คงหลักการเดิม วงเงิน 89,306.39 ล้านบาท ก่อนนำเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป

"มัลลิกา" ชู "จุรินทร์" ผู้นำด้าน "ประกันรายได้เกษตรกร"
 

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวด้วยว่า นโยบายรัฐบาลด้านการประกันรายได้พืชเศรษฐกิจหลักของประเทศนั้นเพื่อให้หลักประกันเกษตรกรและเห็นผลได้ชัดในภาวะวิกฤตหากพืชเศรษฐกิจราคาตกต่ำตามกลไกตลาดเกษตรกรจะมีรายได้เป็นส่วนต่างอีกกระเป๋าหนึ่งขณะเดียวกันก็ขายตามราคาตลาดอีกกระเป๋าหนึ่ง ซึ่งกระเป๋าที่เป็นเงินส่วนต่างนั้นจ่ายตรงเข้าบัญชี ธกส.ของเกษตรกรไม่มีรั่วไหลไม่เกิดการทุจริตทำให้นโยบายนี้ได้รับการยอมรับและประเมินแล้วเกษตรกรมีความพอใจ ขณะเดียวกันเมื่อเกิดภาวะวิกตโควิด-19 รายได้ที่อยู่ในกระเป๋าเกษตรกรกลายเป็นเงินทุนหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากช่วยประเทศชาติไว้อย่างทันท่วงทีด้วย แต่นอกเหนือจากโครงการนี้รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรยังได้ยกระดับราคาโดยใช้มาตรการเสริมด้วย

"มัลลิกา" ชู "จุรินทร์" ผู้นำด้าน "ประกันรายได้เกษตรกร"

" รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตร โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ได้รับความไว้วางใจจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรต่อไปเป็นปีที่ 3 ทีมประกันรายได้ซึ่งกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในเป็นฝ่ายเลขาในการดูแลพืชเกษตร4 ชนิดมีนายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน รับผิดชอบ ส่วนกระทรวงเกษตรฝ่ายเลขาคือการยาง มีนายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย รับผิดชอบ

อย่างไรก็ตามการจัดสรรงบประมาณนั้นมีการกำชับให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฏหมายและสุจริตโปร่งใสสำหรับงบประมาณที่จัดสรรไว้หากช่วงใดที่ราคาพืชเกษตรตามกลไกตลาดสูงกว่าการประกันรายได้จะไม่มีการได้จ่ายส่วนต่าง ดังนั้นงบประมาณเหล่านั้นก็จะไม่ได้ใช้งบก็จะตกเป็นงบประมาณแผ่นดินต่อไป แต่หากฤดูกาลใดในปีนั้นพืชผลซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักราคาตกต่ำกระทบกับเกษตรกรจำนวนมากก็ต้องคิดเงินส่วนต่างจ่ายตรงให้เกษตร คือใช้งบตามกลไกการประกันรายได้ ซึ่งโครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนและตั้งแต่นายจุรินทร์เข้ามาบริหารงานร่วมกับรัฐบาลนี้หลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้วทำให้ราคาพืชผลเกษตรยกระดับสูงขึ้นแม้จะฝากภาวะวิกฤตหลายวิกฤตในรอบ 2 ปีก็ตาม เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่โครงการได้รับเสียงปรบมือจากเกษตรกรและหลายฝ่าย ดิฉันถือนายจุรินทร์เป็นผู้นำทางด้านการประกันรายได้ช่วยเกษตรกรร่วม 8 ล้านครัวเรือน และเมื่อลงพื้นที่ก็ได้รับการตอบรับจากเกษตรกร " นางมัลลิกา กล่าว

"มัลลิกา" ชู "จุรินทร์" ผู้นำด้าน "ประกันรายได้เกษตรกร"

 

ภาพ/ข่าว โดย:
ประสิทธิ์ ลีฬหคุณากร จ.ชุมพร

 

logoline