svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมวิทย์ฯ จับตาใกล้ชิด สายพันธุ์มิว "C.1.2" กลายพันธุ์สูง

06 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายแพทย์ศุภกิจอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ขณะนี้จับตายพันธุ์ C.1.2 ที่มีการกลายพันธุ์และระบาดที่แอฟริกาใต้ ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบเชื้อชนิดนี้ในประเทศไทย แต่ก็ได้เฝ้าระวังอย่างเป็นพิเศษ


6 กันยายน นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงสายพันธุ์ที่เฝ้าระวังและการกลายพันธุ์ของเชื้อว่า วันนี้สายพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด  คือ อัลฟ่า อังกฤษ // เดลต้า อินเดีย //และ Beta แอฟริกาใต้ สัปดาห์ที่ผ่านมาตรวจประชาชนประมาณ 1,500 คน พบว่า เป็นสายพันธุ์อัลฟ่า 75 คน //สายพันธุ์เดลต้า 1,047 คน และ สายพันธุ์เบต้า แอฟริกาใต้ 31 คน

โดยพบว่าภาพรวมทั้งประเทศ พบว่า 93 เปอร์เซ็น เป็นเชื้อสายพันธุ์เดลตา ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย ถ้าเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สายพันธุ์เดลตากินสัดส่วนไป 98 เปอร์เซ็น สายพันธุ์อัลฟา 2 เปอร์เซ็น ส่วนภูมิภาคในพื้นที่ภาคใต้จะเป็นเชื้อชนิดสายพันธุ์เบตา แอฟริกาใต้ ทำให้สัดส่วนของสายพันธุ์เดลตาเหลือ 95 เปอร์เซ็น 

ทั้งนี้ หากดูภาพรวมทั้งประเทศในทุกจังหวัด พบสายพันธุ์เดลตา ส่วนสายพันธุ์เบตา ที่อยู่ทางภาคใต้ก็ยังอยู่ในวงจำกัด สัปดาห์ที่ผ่านมามีที่จังหวัดนราธิวาส 28 ราย ปัตตานี 2 ราย และยะลา 1 ราย ที่อื่นๆ ไม่พบเชื้อ 

กรมวิทย์ฯ จับตาใกล้ชิด สายพันธุ์มิว "C.1.2" กลายพันธุ์สูง

ทั้งนี้ หากดูภาพรวมทั้งประเทศในทุกจังหวัด พบสายพันธุ์เดลตา ส่วนสายพันธุ์เบตา ที่อยู่ทางภาคใต้ก็ยังอยู่ในวงจำกัด สัปดาห์ที่ผ่านมามีที่จังหวัดนราธิวาส 28 ราย ปัตตานี 2 ราย และยะลา 1 ราย ที่อื่นๆ ไม่พบเชื้อ 

โดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ มีการตรวจเชื้อกับประชาชนไปแล้วเกือบ 13 ล้านคน โดยวิธี RT-PCR ซึ่งอาจจะมีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รายงานเข้าในระบบ ช่วงหลังมีการตรวจเพิ่มมากขึ้นอาจถึง 15 ล้านคน ส่วนสายพันธุ์เริ่มต้นที่อู่ฮั่นเมืองจีนและต่อมาเป็นสายพันธุ์G ที่เริ่มที่สนามมวย ถัดมาก็สมุทรสาครเป็นสายพันธุ์ G อีกประเภทหนึ่ง จากนั้นก็เป็นลูกหลานสายพันธุ์อัลฟา เริ่มที่อังกฤษและกระจายไปทั่วโลก และพฤษภาคมพบสายพันธุ์เดลตาที่แคมป์คนงาน

นอกจากนี้ ในทั่วโลกมีการจัดชั้นในการกลายพันธุ์ของเชื้อ โดยมีการจัดชั้นเป็น VOI ส่วนชั้นที่น่าเป็นห่วงกังวล ยังมีอยู่ 4 ตัว คือ อัลวา เบต้า แกรมม่า บลาซิลเดิม และเดลตา ซึ่งแต่ละชนิดการแพร่เชื้อต่างกัน โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตาแพร่เชื้อเร็วหลบภูมิวัคซีนบ้าง//ส่วนสายพันธุ์เบตา และ สายพันธุ์แกรมม่า ค่อนข้างหลบภูมิหลบวัคซีนมากกว่า แต่การแพร่เชื้อไม่สูง ส่วนสายพันธุ์ C.1.2 ยังไม่ถูกจัดชั้นยังไม่มีชื่อที่WHOกำหนด แต่ก็มีความน่าสนใจ มีการกลายพันธุ์ในบางตำแหน่ง จึงจำเป็นต้องจับตา เนื่องจากมีการแพร่ระบาดมากที่แอฟริกาใต้ แต่ไม่ใช่ว่าแอฟริกาใต้มีการแพร่ระบาด85 เปอร์เซ็น มีอยู่ไม่มากเจอเพียงกว่า 100 ราย มีสายพันธุ์อื่นมากกว่า

กรมวิทย์ฯ จับตาใกล้ชิด สายพันธุ์มิว "C.1.2" กลายพันธุ์สูง

ขณะที่สายพันธุ์ C.1.2 มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ แต่ยังไม่ต้องตื่นตระหนกเพราะมีเพียง 3 เปอร์เซ็นเท่านั้นในการระบาดที่แอฟริกาใต้  ยังไม่พบในประเทศไทย สายพันธุ์ส่วนใหญ่ยังคงเป็นสายพันธุ์เดลตา ส่วนสายพันธุ์มิว (MU) หรือ (B.1.621) กลายพันธุ์บางตำแหน่ง อาจมีการดื้อวัคซีนหรือไม่ หรือการแพร่เร็วหรือไม่อย่างไร ทั่วโลกยังเจอเชื้อชนิดนี้น้อยมาก ในอเมริกาเจอกว่า 2,000 ตัวอย่าง หรือ 37เปอร์เซ็น //ในโคลัมเบีย 965 ตัวอย่าง หรือ13 เปอร์เซ็น ในเม็กซิโด 367 ตัวอย่าง หรือ 13 เปอร์เซ็น ในสเปน 512 ตัวอย่าง หรือ 11 เปอร์เซ็น ในเอกวาดอร์ 170 ตัวอย่าง หรือ 6 เปอร์เซ็น ยังไม่มีในเซ้าอีทเอเซีย/
       
โดยสถานการณ์ในโคลัมเบียเริ่มเจอเชื้อชนิดนี้มากขึ้น มีผู้ป่วยแล้วเกือบ 5 ล้านคน เสียชีวิต1.2แสนคน โดยสายพันธุ์มิวมีผู้ติดเชื้อประมาณ 40 เปอร์เซ็น 
       
นอกจากนี้อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังกล่าวถึงสายพันธุ์มิวว่า พบเชื้อชนิดนี้ครั้งแรกในโคลอมเบีย จนระบาดเป็นสายพันธุ์หลัก กลายพันธุ์ใน E484K การกลายพันธุ์ในลักษณะนี้จะดื้อวัคซีน หรือหลบภูมิ ซึ่งจะต้องติดตามต่อไป แต่เบื้องต้นยังไม่มีการรายงานเรื่องอื่นๆ ข้อมูลยังไม่มีการยืนยันว่าแพร่เร็วหรือไม่ ถ้าเทียบกับเชื้อเดลต้ายังไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยรวมยังไม่น่าวิตกหรือเป็นกังวลแต่ยังต่องติดตาม ส่วนในประเทศไทย การเฝ้าระวังสายพันธุ์ มีการปรับกลุ่มเป้าหมายตรวจทั่งประเทศ ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการดักสกัดเชื้อกลายพันธุ์ 

ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อตรวจเชื้อเพิ่มขึ้น ในธันวาคมตั้งเป้าจะตรวจให้ได้  1 หมื่นตัวอย่าง ตามสายพันธุ์และถอดรหัสพันธุกรรม โดยเน้นตรวจที่จังหวัดภูเก็ตมากขึ้น ส่วนเรื่องการฉีดวัคซีนแบบไขว้ ขณะนี้ฉีดไปแล้วเกือบ 2 ล้านโดส ไม่มีใครมีปัญหาหรือผลข้างเคียง ยืนยัน มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น สามารถจัดการกับเชื้อเดลต้าได้

กรมวิทย์ฯ จับตาใกล้ชิด สายพันธุ์มิว "C.1.2" กลายพันธุ์สูง

logoline