svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox) แห่งแรกของสงขลา

22 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลานำร่องเปิดแฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์ (Factory Sandbox) ในโรงงานโชติวัฒน์อุตสาหกรรมแห่งแรกหวังเป็นโมเดลเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การระบาดในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ได้มีการพัฒนาระบบการดูแลคนไข้เพื่อลดภาระบุคลากรทางการแพทย์

22 สิงหาคม 2564 ที่ บ.โชติวัฒน์อุตสาหกรรม การผลิต จำกัด (มหาชน) อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายจารุวัฒน์  เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา  รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox) แห่งแรกของสงขลา

ตามที่กระทรวงแรงงาน ได้เสนอแนวทางบูรณาการโครงสร้างและกระบวนการในลักษณะเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขสำหรับภาคอุตสาหกรรม ต่อที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบ เมื่อ 16 สิงหาคม 2564 ตามโครงการนำร่องเพื่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรม (Factory Sandbox)คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ตระหนักถึงแนวทางดำเนินงานควบคู่กัน
ระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสงขลา จึงได้ริเริ่มโครงการนำร่องเพื่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรม ( Factory Sandbox) โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยต่าง ๆ ในจังหวัดสงขลา ภายใต้กระบวนการ " ตรวจ รักษาและควบคุม" ซึ่งประกอบด้วย การตรวจคัดกรองเชิงรุกให้กับพนักงานในโรงงานตามมาตรการที่กำหนด

แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox) แห่งแรกของสงขลา แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox) แห่งแรกของสงขลา
 

ด้านนายจารุวัฒน์  เกลี้ยงเกลา ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ทางจังหวัดได้มีคำสั่งไปยังโรงงานทุกแห่งในจังหวัดสงขลาเพื่อเตรียมสถานที่ในการเป็นโรงพยาบาลสนามในกรณีที่พบการแพร่ระบาด ซึ่งที่โรงงานโชติวัฒน์อุตสาหกรรมทำได้ครบถ้วนในทุกปัจจัยที่ได้มีคำสั่งออกไปซึ่งสอดคล้องกับนโยบายที่ศบค.กำหนดที่ได้มีการประกาศออกมาเรื่องโครงการนำร่องและบูรณาการควบคุมการระบาดในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเราเรียกว่า "แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์"

แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox) แห่งแรกของสงขลา

ซึ่งก็จะเป็นโมเดลที่จะนำไปให้โรงงานที่ยังมีการแพร่ระบาดอยู่ได้ดำเนินการตามแบบ ซึ่งตอนนี้ในหลายพื้นที่ก็ได้เริ่มหาพื้นที่เพื่อทำแฟคทอรี่ ควอลันทีน (Factory Quarantine )

"ขณะนี้สถานการณ์การติดเชื้อในโรงงานยังพบอยู่ประมาณ 1-2โรงงาน ซึ่งเราได้ดำเนินการเข้าไปใช้มาตรการแฟคทอรี่ควอลันทีน และจัดตั้งรพ.สนามในโรงงานให้ได้ดำเนินการตามแนวทางนี้ ซึ่งเราสามารถจะควบคุมการแพร่ระบาดและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในโรงงานได้" ผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าว

แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox) แห่งแรกของสงขลา
 

ในส่วนของบริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด (มหาชน) ซึ่งในฐานะเจ้าของสถานที่และเป็นโรงงานที่พบผู้ติดเชื้อโดยมีพนักงานทั้งหมดจำนวน 3,712 คน โดยในจำนวนนี้พบผู้ติดเชื้อสะสมแล้วจำนวน 235 คน ทุกคนรักษาตัวอยู่ภายในสถานที่ที่โรงงานจัดให้คือภายใน แฟคทอรี่แซนด์บ็อก ภายในโรงงานภายใต้การดูแลจากทีมแพทย์ของคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ขณะเดียวกัน รศ.พญ.มณฑิรา ตัณฑนุช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ กล่าวว่า สำหรับ FAI หรือ Factory Accommodation Isolation หรือโรงพยาบาลสนามที่ดูแลโดยโรงงานของที่นี่ ก็จะใช้ระบบเดียวกับโรงพยาบาลสนามที่มีอยู่ทั่วไป แต่จะต่างกันตรงที่สถานที่และการดูแลจัดการโดยโรงงาน ซึ่งทางจังหวัดสงขลาก็จะมีระบบที่ทีมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พัฒนาขึ้นมา ซึ่งจะสามารถคัดกรองคนไข้ที่มีความผิดปกติซึ่งจากเดิมในระบบปกติเราจะใช้วิธีการเขียนใส่กระดาษ ซึ่งหากมีคนไข้เป็นพันคนก็จะเกิดความผิดพลาดได้ และแยกคนไข้ออกมาได้ช้า

แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox) แห่งแรกของสงขลา
ซึ่งระบบนี้ก็จะคัดกรองคนไข้และติดต่อคนไข้ได้รวดเร็วขึ้นอันนี้ก็จะเป็นข้อดีของการใช้ระบ Home Isolation ที่เราได้พัฒนามา และในอนาคตโรงพยาบาลสนามก็จะต้องปรับรูปแบบเพื่อดูแลผู้ป่วยที่เป็นคนไข้สีเหลืองมากขึ้น เพราะฉะนั้นคนไข้ที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการก็จะต้องดูแลตัวเองอยู่ที่บ้าน ซึ่งการทำด้วยระบบคัดกรองนี้จะทำให้บุคลากร 1 คนจะสามารถดูแลคนไข้ได้เป็นพันคน 

โดยงบประมาณในการจัดการ FAI หรือ Factory Accommodation Isolation จะดำเนินการร่วมกันระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต12 และ บริษัทโชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิตจำกัด (มหาชน) 

แฟคทอรี่แซนด์บ็อกซ์(Factory Sandbox) แห่งแรกของสงขลา

ภาพ/ข่าว...วิกันดา  ขันธ์แก้ว 

logoline