svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"นิด้าโพล" ชี้ปชช.ส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อ ศบค.

22 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจ ระบุประชาชนส่วนใหญ่เลือกที่จะเชื่อข้อมูลข่าวสารด้านโควิด-19 จากแพทย์แผนปัจจุบัน-สื่อมวลชน ขณะที่ข้อมูลที่มาจาก ศบค. ได้รับความเชื่อมั่นจากปชช.แค่อันดับ 5 ด้วยจำนวน  16.51% เท่านั้น

          ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทำไม COVID-19 รอบนี้ระบาดหนัก” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,314 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเมืองไทยขณะนี้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย  (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0

 

          จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างมากของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเมืองไทยขณะนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.75 ระบุว่า ประชาชนส่วนหนึ่งประมาทในการป้องกัน และประเทศมีวัคซีนไม่เพียงพอ ในสัดส่วนที่เท่ากัน รองลงมา ร้อยละ 36.00 ระบุว่า การฉีดวัคซีนเป็นไปอย่างช้ามาก ร้อยละ 31.43 ระบุว่า ประชาชนส่วนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกัน ร้อยละ 25.80 ระบุว่า รัฐบาลไม่ยอมล็อกดาวน์แบบเบ็ดเสร็จ ร้อยละ 21.31 ระบุว่า เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สายพันธุ์เดลตา ติดง่ายมาก ร้อยละ 17.73 ระบุว่า ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) บริหารงานผิดพลาด ร้อยละ 12.86 ระบุว่า แรงงานต่างด้าวยังคงลักลอบเข้าเมือง ร้อยละ 10.88 ระบุว่า มีการแพร่ระบาดทั่วโลก ประเทศไทยหลบหลีกไม่ได้ ร้อยละ 10.20 ระบุว่า มีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มากขึ้นกว่าเดิม ร้อยละ 0.99 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ วัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลไม่มีมาตรการในการป้องกันและรักษาอย่างจริงจัง การอนุญาตของภาครัฐให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ และการจัดสรรงบประมาณในด้านสาธารณสุข ไม่ทั่วถึง และร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

 

          ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนเชื่อมั่นมากที่สุดในการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.91 ระบุว่า หมอ/นักวิชาการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน รองลงมา ร้อยละ 23.36 ระบุว่า สื่อมวลชน ร้อยละ 23.29 ระบุว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ร้อยละ 16.97 ระบุว่า หมอ/นักวิชาการทางการแพทย์แผนไทย ร้อยละ 16.51 ระบุว่า ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) ร้อยละ 10.81 ระบุว่า ไม่เชื่อใครเลย ร้อยละ 5.33 ระบุว่า นักวิชาการทั่วไป ร้อยละ 3.88 ระบุว่า เจ้าหน้าที่รัฐทั่ว ๆ ไป ร้อยละ 1.29 ระบุว่า ดารา นักร้อง เซเลบ ไอดอลชื่อดัง ร้อยละ 0.61 ระบุว่า นักการเมือง ร้อยละ 0.08  ระบุว่า คนในชุมชน และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

"นิด้าโพล" ชี้ปชช.ส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อ ศบค.

logoline