svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ACTเฟ้นคนรุ่นใหม่พลิกเกมโกงให้อยู่หมัด สร้าง"รัฐเปิดเผย"

21 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ACT เชิญชวนคนรุ่นใหม่นำเสนอไอเดียพลิกเกมโกง ACTkathon: Anti-Corruption VIRTUAL HACKATHON 2021 ภายใต้ชื่องาน “ACTkathon 2021 : พลิกเกมโกงให้อยู่หมัด สร้างไอเดียรัฐเปิดเผย”

21 สิงหาคม 2564 ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)  เปิดเผยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT และพันธมิตร ร่วมจัดกิจกรรม Hackathon ภายใต้ชื่องาน “ACTkathon 2021 : พลิกเกมโกงให้อยู่หมัด สร้างไอเดียรัฐเปิดเผย” โดยโจทย์งาน ACTkathon ที่ชวนคนรุ่นใหม่ออกมาร่วมออดไอเดียแก้ปัญหาด้วยกัน คือ “ทำอย่างไรให้เราสามารถใช้ข้อมูลและเทคโนโลยี ในการเพิ่มความโปร่งใสและสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้งบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล?”

 

โดยได้คัดเลือกจาก 20 ทีม เหลือเพียง 5 ทีมสุดท้ายสำหรับประชันไอเดียรอบชิงชนะเลิศ

 

การแข่งขันรอบสุดท้าย ของ 5 ทีมที่เข้ารอบ Final Round Demo Day จัดขึ้นวันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม 2564  ตั้งแต่เวลา 13.00 – 18.30 น. เพื่อคัดเลือกผู้ชนะเลิศ 3 ทีม และ รางวัล POPULAR VOTE 1 ทีม 

 

สำหรับรางวัล POPULAR VOTE จะเปิดให้ผู้ชมร่วมโหวตให้กับทีมที่ชื่นชอบ ซึ่งทีมที่ชนะเลิศทั้ง 3 ทีม จะได้รับเงินรางวัล 150,000 บาท และมีโอกาสไปนำเสนองาน "ระดับโลก" ด้วย ส่วนทีมที่ได้รางวัล POPULAR VOTE จะได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท โดยจะให้ผู้ชมร่วมโหวตตั้งแต่เวลา 15:30 น. เป็นต้นไป

สำหรับ ไอเดียของทั้ง 5 ทีมที่เข้ารอบสุดท้าย มี ดังนี้

ทีม : Application PICA เรดาห์จับโกง
การทำงานของแอปพลิเคชันจะบูรณาการเอาข้อมูล เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ผนวกเข้ากับ หลักการตลาด ในการสร้างความโปร่งใสที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถใช้ได้ง่าย นอกจากเปิดให้ประชาชนทั่วไปค้นหาข้อมูลที่มีอยู่อย่างง่ายดาย และรายงานเคสน่าสงสัยไปยังระบบแล้ว ยังมีฟังก์ชันแชะ/แชร์ที่ใช้เทคโนโลยี AR เมื่อเข้าใกล้พื้นที่ที่มีโครงการต้องสงสัย แอปพลิเคชันจะส่ง Push Notification ให้ผู้ใช้ร่วมกันจับโกง ผู้ใช้สามารถถ่ายรูปจากสถานที่จรงิพร้อมแนบข้อมูลจากแอปพลิเคชันแล้วแชร์ลงไปยังโซเชียลมีเดียต่อได้

 

ทีม : Corruption Analysis “กินยกแก๊ง”
​แพลตฟอร์มต้านโกงซึ่งใช้พลังของ data มาช่วยในการ identify ปัญหาและเรื่องราวต่างๆ โดยทำการ วิคราะห์ข้อมูล ผ่าน 3 ตัวละครหลัก ได้แก่ นักการเมือง ญาตินักการเมือง และนักธุรกิจ การทำ Corruption Analysis ผ่านนักการเมืองนั้นเป็นการทำ Project Mismatched โดยใช้เกณฑ์จากดัชนีชี้วัดความยากจนในระดับจังหวัด แพลตฟอร์มนี้ ยังสามารถมองหาความสัมพันธ์ในเชิงเครือญาติ ว่ามีนักธุรกิจที่ชนะการประมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างใดที่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมือง โดยใช้ Social Network Analysis สร้างกราฟแสดงความสัมพันธ์เพื่อช่วยในการเชื่อมโยงและหาข้อมูลการฮั้วประมูลในโครงการงบประมาณต่างๆ ได้

ทีม : Blocklander แก้ปัญหารุกล้ำ พื้นที่ป่าสงวน
​ไอเดียการใช้ “แผนที่รวมศูนย์ (Centralized Map)” ที่รวบรวมแผนที่ในแต่ละปีจากจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ประกอบกับข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในแต่ละปี แล้วใช้เทคโนโลยี Building Detect ตรวจจับสิ่งก่อสร้างจากภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อดูว่าสิ่งก่อสร้างนั้นบุกรุกพื้นที่ป่าหรือไม่ หากพบว่ามีการบุกรุกจริง แพลตฟอร์มก็จะแสดงผลให้ผู้ใช้ทราบว่าสิ่งก่อสร้างนี้บุกรุกพื้นที่ป่า พร้อมเปิดให้ร้องเรียนได้ที่ส่วน “ร้องเรียน” และตรวจสอบความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ที่ส่วน “ติดตามผล” และวางแผนจะให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลเปิด รวมทั้งจะลงพื้นที่ทำ Workshop สร้างความตระหนักรู้ให้ชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมมือกับองค์กรการศึกษาต่างๆ เพื่อสร้างความตระหนักให้กับคนรุ่นใหม่
 

ทีม : Voice of Change: ระบบร้องเรียนในระดับองค์กร
​เน้นการใช้งานเบื้องต้นโดยเจาะกลุ่มองค์กรรัฐ เพราะเชื่อมั่นว่าในทุกการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น 30% ของคนในองค์กรมีส่วนรู้เห็นกับการทุจริต โดยมุ่งหวังให้บุคลากรจากภาครัฐสามารถนำ ไปใช้ในการส่งเสียงเรียกร้องให้เกิดการแก้ปัญหาที่น่าสงสัย เพื่อสร้างกลไกการตรวจสอบภายในองค์กรได้ แบ่งการทำงานเป็น 3 เฟส คือ เฟส 1 - สนับสนุนคนดี โดยเริ่มจากการค้าหา Target ซึ่งเป็นองค์กรที่มีดัชนีความโปร่งใสค่อนข้างสูง (CPI>80) รับและส่งต่อข้อมูลด้านการจัดซื้อจัดจ้าง  เฟส 2- ปราบคนชั่วได้มากขึ้น โดยจะเริ่มขยาย Target ไปยังองค์กรรัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และรวบรวมข้อมูบจากหลายหน่วยงานโดยใช้ AI ในการคัดกรองและเปรียบเทียบข้อมูลเบื้องต้นเพื่อสร้างความโปร่งใส  เฟส 3 - ขยาย Target ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยการส่งเรื่องทำ เป็น Open API แพลตฟอร์มที่ทุกคนสามารถเข้ามาเห็นแดชบอร์ดและดึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น
 

รับชมพร้อมกัน ผ่าน Facebook Page: องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน


logoline