svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดร.มานะจี้ "สรยุทธ" แสดงสปิริต "พักหน้าจอ"

29 กุมภาพันธ์ 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย ให้สัมภาษณ์กับเนชั่นทีวี กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษากรณีฟ้องร้องบริษัทไร่ส้ม จำกัด ของ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา และเจ้าหน้าที่ อสมท.กับพวก ร่วมกันสนับสนุนยักยอกเงินโฆษณา ทำให้บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เสียหายกว่า 138 ล้านบาท โดยศาลได้ตัดสินจำคุกนายสรยุทธกับลูกน้อง 20 ปี ลดเหลือ 13 ปี 4 เดือน ส่วนอดีตพนักงาน อสมท จำคุก 30 ปี ลดเหลือ 20 ปี ไม่รออาญา ปรับบริษัทไร่ส้ม 80,000 บาท ว่า ควรแสดงสปิริตการทำหน้าที่หน้าจอเอาไว้ก่อน เพราะในบทบาทไม่ว่าจะเป็นผู้ประกาศเอง ในบทบาทของสื่อมวลชน ประชาชนคาดหวังและให้เครดิตค่อนข้างมาก ในฐานะที่เป็นสื่อมวลชน เวลาที่เชิญแขกรับเชิญมาซักถาม ไม่ว่าเป็นประเด็นเรื่องอะไรก็ตาม จะได้มีความโปร่งใสด้วยลักษณะเดียวกัน ก็จะเป็นตัวอย่างให้กับเยาวชนด้วย คิดว่าเป็นสปิริตอันหนึ่งที่สื่อมวลชนเองน่าจะได้มีการกระทำออกมา

ข่าวที่เกี่ยวข้องย้อนชม Nation X Files ย้อนรอยคดีไร่ส้ม ยอดภูเขาน้ำแข็ง อสมท."โฆษกสมาคมนักข่าวฯ" แนะ "สรยุทธ" ทบทวนบทบาทหน้าจอ รีทวิตรัวสนั่น!ข่าวจำคุก "สรยุทธ" คดีไร่ส้ม โกงเงินโฆษณา (มีคลิป) ย้อนรอยคดีไร่ส้ม-ปมเงินค่าโฆษณาอสมท 


ต่อคำถามที่ว่าต้นสังกัดควรดำเนินการอย่างไรในเรื่องนี้บ้าง ดร มานะ กล่าวว่า ในตัวช่องเองต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ของตัวช่องรายการเองในฐานะที่เป็นสื่อมวลชนเองด้วย เพราะว่าตัวบทบาทของสื่อมวลชนเองไม่ใช่แค่นำเสนอข่าวสารเพียงอย่างเดียว แต่เป็นแบบอย่างต่างๆด้วย เพราะฉะนั้นแล้วในเรื่องนี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเกี่ยวกับจริยธรรมด้วย ในสังคมเอง ตั้งคำถามบทบาทของพิธีกร บทบาทของผู้ประกาศข่าวต่างๆถ้ามีคดีที่ยาวนานและศาลตัดสิน คิดว่าควรพักหน้าจอไว้ก่อน และหลังจากนั้นค่อยทำหน้าที่ถ้าเกิดว่ามีการพิสูจน์ขั้นต่อไป และรู้สึกว่าจะเป็นอย่างไรก็ค่อยว่ากันอีกที่หนึ่ง
ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าตัวของพิธีกรยังคงทำงานตามปกติ แต่ว่าคดีดำเนินการมาถึง 9 ปี ที่ผ่านมาแต่ยังเห็นการทำงานหน้าจอแบบเดิมอย่างนี้ อาจารย์มองว่าควรเป็นเรื่องที่ผิดหลักจริยธรรมหรือว่าควรจะทำอย่างไร ดร มานะ มองว่า ในเรื่องจริยธรรมก็คงมีคนตั้งคำถามกันมากว่าควร-ไม่ควรอย่างไร หรือที่ ปปช. ได้มีการชี้มูลต่างๆ แต่ว่าวันนี้เมื่อศาลตัดสินค่อนข้างชัดเจน คิดว่าเป็นบทบาทที่ดีที่ในส่วนของพิธีกรควรแสดงสปิริตออกมาชัดเจน หรือขณะเดียวกัน ช่องเองก็ต้องแสดงบทบาทชัดเจนออกมาด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องจริยธรรม ไม่ได้เป็นเรื่องของกฎหมาย

ดร.มานะจี้ "สรยุทธ" แสดงสปิริต "พักหน้าจอ"


สำหรับคำถามที่ว่าเมื่อผู้ดำเนินรายการถูกดำเนินคดีทุจริตแล้วก็จะเล่าข่าวเกี่ยวกับการตรวจสอบคดีทุทริตต่างๆ อาจารย์มองว่ามันจะไปกระทบกับความน่าเชื่อถือหรือไม่ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย มองว่า เวลาที่ถ้าพิธีกรจะเชิญนักการเมืองหรือผู้ที่มีปัญหาในการทุจริตมาซักถาม มาพูดคุยในรายการเอง ก็คงจะถามได้ไม่เต็มที่ หรือว่าได้พูดคุยในเรื่องปัญหาคดีต่างๆ ในหน้าจอทีวี คงจะไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่นัก เพราะว่าตัวเองมีชนักหลังติดอยู่ เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่พยายามย้ำก็คือว่า ถ้าเราได้แสดงสปิริตออกมาแล้วหลัง จากนั้น จะมีอีก 2 ศาล ถ้าปรากฎว่าศาลตัดสินว่าบริสุทธิ์ก็ค่อยกลับมาทำหน้าที่เดิม ก็ยังไม่เป็นไรแต่ตอนนี้ศาลชั้นต้นตัดสินออกมาแบบนี้ แล้วก็คงแสดงสปิริตออกมา

"เรื่องจริยธรรมเป็นเรื่องที่สื่อมวลชนควรจะตระหนักถึงไม่ใช่กรณีของเคสนี้อย่างเดียว จริยธรรมหลายๆอย่างที่มีอยู่ในสื่อมวลชนเอง ก็ควรจะมีการพิจารณาให้ความสำคัญเพราะว่า เรื่องจริยธรรมมันอาจจะไม่ได้มีโทษรุนแรงเหมือนทางกฎหมายก็จริง แต่ว่าสื่อมวลชนเรามีบทบาทที่เป็นแบบอย่าง และมีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก ในเรื่องราวที่เรานำเสนอออกไป เพราะฉะนั้นแล้วคนที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนไม่ว่าจะหน้าจอหรือหลังจอ ต้องตระหนักอยู่เสมอในเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพ" ดร.มานะ กล่าว

logoline