svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ตามหาจ้าวป่า กลับเจอ "เสือดำ-เสือดาว" แย่งซีนในผืนป่าคลองลาน

10 กรกฎาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เพจเฟซบุ๊ก อุทยานแห่งชาติคลองลาน -KhlongLan National Park ได้โพสต์ภาพจากกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติ (Camera trap survey) ซึ่งเป็นเทคนิคในการติดตามประชากรเสือโคร่งเพื่อประเมินประชากรอย่างถูกต้องและแม่นยำ กลับเจอ "เสือดำ-เสือดาว" โผล่แย่งซีน "จ้าวป่า" อย่าง "เสือโคร่ง" สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ผืนป่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟสบุ๊กอุทยานแห่งชาติคลองลาน - Khlong Lan National Park โพสต์คลิปวิดีโอ ซึ่งเป็นภาพของเสือดำ และเสือดาว พร้อมระบุข้อความว่า "ตามหาจ้าวป่า จากการทำงานอย่างทุมเท เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าร่วมกับ WWF ประเทศไทย ในการสำรวจการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งและสัตว์ป่า ด้วยการใช้กล้องดักถ่ายอัตโนมัติ ในรอบที่ 5 ถึงจะยังไม่มีภาพของจ้าวป่า แต่ก็ยังมีภาพของคู่แข่งตัวสำคัญ อย่าง เสือดาว และเสือดำ ที่ปรากฏตัวพร้อมกันมันทำให้เข้าใจได้ทันทีเลยว่า ผืนป่าคลองลานยังคงความอุดมสมบูรณ์ หากแต่เพียงอย่าใครเข้าไปรบกวน" 

ตามหาจ้าวป่า กลับเจอ "เสือดำ-เสือดาว" แย่งซีนในผืนป่าคลองลาน


ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติคลองลาน อยู่ในพื้นที่จ.กำแพงเพชร
โดยจ้าวป่าแห่งผืนป่าคลองลาน หรือ เสือโคร่ง (Panthera tigris) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กินเนื้อเป็นอาหาร มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ และยังเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ เนื่องจากเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ต้องการใช้พื้นที่อาศัยขนาดใหญ่และมีความต้องการสัตว์ที่เป็นเหยื่อที่หลากหลาย หากเสือโคร่งสามารถอาศัยอยู่ได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสัตว์ชนิดต่างๆ ก็อาศัยอยู่ได้อย่างปกติเช่นกัน

แต่ปัจจุบันประชากรของเสือโคร่งลดลงอย่างน่าเป็นห่วง จนถูกจัดให้อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered Species) เนื่องจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ การสูญเสียที่อยู่อาศัย การถูกล่า และปริมาณของสัตว์ที่เป็นเหยื่อลดลง

ตามหาจ้าวป่า กลับเจอ "เสือดำ-เสือดาว" แย่งซีนในผืนป่าคลองลาน


ตามหาจ้าวป่า กลับเจอ "เสือดำ-เสือดาว" แย่งซีนในผืนป่าคลองลาน

สำหรับกล้องดักถ่ายอัตโนมัติ อยู่ภายใต้ "โครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง" ซึ่งเป็นความร่วมมือของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับ WWF -ประเทศไทย ได้เข้ามาสำรวจในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน ซึ่งมีพื้นที่รวมกันกว่า 1,200 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของผืนป่าตะวันตก ติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เพราะเป็นพื้นที่ที่พบประชากรเสือโคร่งหนาแน่นที่สุด จึงมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการกระจาย และพลวัตรด้านประชากรของเสือโคร่ง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการพื้นที่เกี่ยวกับเสือโคร่งและสัตว์ป่าชนิดอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

logoline