svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?

22 กุมภาพันธ์ 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หากเดินเข้าไปซอยเกษมสันต์ ไม่ลึกจากถนนพระราม 1 ใจกลางเมือง ข้ามสะพานเหนือคลองแสนแสบ เลี้ยวซ้าย เดินเลาะคลอง จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าซอย 9 เป็นตรอกเล็กๆ ขนาดหนึ่งคนเดิน คุณจะเห็นป้ายร้าน "ลุงอู๊ดบ้านครัวผ้าไหมไทย" แขวนอยู่หน้าบ้านเลขที่ 847/1 และบ้านหลังเล็กใจกลางชุมชนบ้านครัวหลังนี้แหล่ะ คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวและการสืบสานมรดกภูมิปัญญาไทยที่งดงามมาจวบจนปัจจุบัน นั่นก็คือ "ผ้าไหมไทย" ที่สร้างชื่อเสียงของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก

"ลุงอู๊ด" หรือ นาย มนัสนันนท์ เบญจรงค์จินดา เจ้าของบ้านและเจ้าของกิจการบ้านครัวผ้าไหมไทยแห่งนี้ เป็นคนที่เกิด เติบโต และใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนบ้านครัวนี้มายาวนานถึง 78 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2483 โดยชุมชมนี้ถือเป็นชุมชนโบราณที่มีมานานร่วม 200 ปี ตั้งแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ก่อนมีชาวมุสลิม หรือแขกจามอพยพจากกัมพูชามาลงหลักปักฐานเยอะ แทบไม่มีคนไทย จนสมัยก่อนเรียกว่า บ้านแขกครัว ทอผ้าไหม โสร่งไหม ย้อมสีธรรมชาติ ส่งขายตามต่างจังหวัด แต่ก่อนพ่อและแม่ของลุงอู๊ดทำอาชีพค้าถ่านริมคลอง แต่กว่าจะส่งเสียให้ ด.ช. มนัสนันท์ ได้เข้าเรียน ป.2 ก็ล่วงไป 12 ปี แต่ยังไม่ทันได้เรียน ป.4 ที่โรงเรียนเทศบาลกิ่งเพชร ก็ต้องถูกให้ออกเพราะอายุครบ 15 ปี

ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?


ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?




เจ้าตัวตัดสินใจฝึกปรือวิทยายุทธในการย้อมไหมจากโรงย้อมไหมของลูกพี่ในชุมชนตั้งแต่อายุ 13 ตอนเช้าตื่นไปโรงเรียน ตอนเย็นกลับมาขลุกหน้าหม้อร้อนๆ อาศัยครูพักลักจำจนเกิดความชำนาญ เมื่อต้องออกจากโรงเรียนจึงมารับจ้างย้อมไหม เนื่องจากค่าจ้างค่อนข้างดี ได้กิโลกรัมละ 7 บาท ย้อมวันละ 20 กิโลกรัม ตกเฉลี่ยร้อยกว่าบาทต่อวัน ซึ่งเยอะกว่าเมื่อเทียบกับทำงานเป็นคนสวนที่โรงงานยาสูบ อาจจะเป็นโชคชะตาดลบันดาลให้เขาได้ผันตัวเองเข้าสู่วงการผ้าไหมก็เป็นได้ เมื่อเขาไม่สามารถบรรจุที่ยาสูบได้เนื่องจากไม่มีใบสุทธิเพราะไม่จบ ป.4

ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?


ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?


เมื่อวิชาแก่กล้าก็อยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง อยากเป็นเจ้านายตัวเอง เลยแยกตัวออกมารับย้อมไหมเองกับรุ่นพี่บนคลองแสนแสบ มีสะพานไม้พาดเดินเชื่อมไปมา อยู่มาวันนึงเหมือนสวรรค์ประทานพรส่งชายร่างสูงใหญ่ตาน้ำขาว นาม "จิม ทอมป์สัน" มายังชุมชนบ้านครัวแห่งนี้ เขาเห็นการทอผ้าไหมของชาวบ้าน รวมไปถึงไหมแสนสวยงาม จึงอยากฟื้นฟูศิลปะสุดงดงามล้ำค่านี้ โดยให้คนในชุมชนทอผ้าไหมเป็นวัตถุดิบในการนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมทอผ้า เปลี่ยนจากการย้อมสีธรรมชาติเป็นสีเคมี ใช้กี่กระตุกแทนกี่กระทบ พร้อมกับผลักดันผ้าไหมไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ชาวบ้านบ้านครัวมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น กิจการย้อมผ้าไหม ทอผ้าไหมรุ่งเรือง โดยมีแขกจามเป็นนายทุน ส่วนคนทอเป็นคนจีนหรือคนอีสาน จาก นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์ หรือ ร้อยเอ็ด ซึ่งขึ้นชื่อในด้านผ้าไหมอยู่แล้ว 

ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?


ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?



เมื่อลุงอู๊ดเริ่มเก็บเงินได้ เขาไปเช่าที่ห้องแถวเดือนละ 50 บาท (ที่ปัจจุบัน) ทำเตาย้อมไหม 2 เตา และต้องซื้อน้ำประปาเป็นตุ่มใช้เพราะตอนนั้นยังไม่มีน้ำประปาเข้าถึง ไม่ก็ใช้น้ำคลองแสนแสบ ซึ่งแต่ก่อนสะอาดกว่านี้ เขาเลิกใช้ชีวิตกลางคืน แต่งงานกับภรรยาตอนอายุ 28 และตัดสินใจนำสินสอดที่ขายได้เกือบ 80,000 บาท พร้อมกับเงินสดอีก 20,000 บาท ไปซื้อที่ดินเพื่อตั้งตัว ตอนนั้นกิจการไปด้วยดี คนงานแน่นบ้าน 20-30 คน มีตั้งแต่เด็กยันผู้ใหญ่ แกเลี้ยงดูปูเสื่อ หาข้าวหาปลาให้กินแบบคนครอบครัว แกลงทุนซื้อเครื่องกรอหลอดใหญ่ ราคา 25,000 บาท ส่วนลูกสาวช่วยซื้อเครื่องกรอหลอดเล็ก หมื่นกว่าบาท และกี่ทอผ้าอีก 8 กี่วางเต็มพื้นที่บ้าน ซึ่งราคาเมื่อ 30 ปีก่อนถือเป็นเงินเยอะมาก 

ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?


ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?



ขั้นตอนของการทำผ้าไหมหนึ่งผืนนั้นใช้ระยะเวลาพอสมควร เริ่มจาก "การดองไหม" คือการฟอกด้วยขี้เถาเพื่อให้ไขมันหลุดไป เส้นไหมจะขาวนวลขึ้น และนำไปย้อมตามสีที่ต้องการ โดยจะใช้สีวิทยาศาสตร์แทนสีธรรมชาติ เพราะจะละลายน้ำง่าย ย้อมง่าย สีสดใส ราคาไม่แพง และทนต่อการซัก ซึ่งไหมดิบ 1.4 กิโลกรัม จะได้ไหมสุก 1 กิโลกรัม เมื่อดองไหมแล้วก็เปิดแก๊ซ ใส่โซดาแอช 2 ช้อน/กิโลกรัม, สบู่กรด 1 ก้อน/กิโลกรัม และสีตามอัตราส่วนที่ผสม เพื่อ "ลงสี" ซึ่งจะนำไหมที่ดองไว้เข้าหวายที่ทำเป็นตัวยู ในหม้อย้อมไหมประมาณ 2-3 ที แล้วยกแขวนไว้ จากนั้นเร่งไฟจนน้ำเดือด ลดไฟลง นำไหมลงไป "กลับไหม" ไปมา 30 นาที จากนั้นใส่กรดเกลือ แล้วนำไหมลงไปกลับอีก 30 นาที เมื่อเสร็จแล้วนำไหมไปล้าง ลงกาว, น้ำมันก๊าซ และ น้ำมันนิ่ม ก่อนนำไปปั่นแห้งในถัง จากนั้นนำไปกระทบที่เหล็กเพื่อให้เส้นไหมยืดเรียงตัวสวยงามไม่พันกัน แล้วนำไปตากข้างบนจนแห้งในอีกวันนึง เมื่อได้ไหมที่ย้อมแล้วก็นำมาใส่ "ระวิง" ในเครื่องกรอหลอดใหญ่ ที่จะกรอไหมใส่หลอดด้าย จากนั้นไปกรอใส่หลอดเล็กโดยเครื่องกรอหลอดเล็กใส่กระสอบเพื่อทอเป็นเส้นพุ่ง โดยในขั้นตอนนี้ค่อนข้างใช้เวลานานเพราะเส้นไหมมักขาด ต้องคอยต่อ และลุงอู๊ดก็ไม่เหลือผู้ช่วยที่คอยดู แกเลยต้องทำเองจนหลังเริ่มปวดเพราะต้องคอยก้ม

ผ้าไหมบ้านครัว ลุงอู๊ด ความภาคภูมิใจของไทยที่รอวันนับถอยหลัง?

logoline