เพิ่ม nation online
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
การสะสมความเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ กลายเป็น “ระเบิดเวลา” สำหรับตัวเลขนับถอยหลังดังกล่าวใช้เตือนสติให้ระมัดระวังเรื่องของการหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพให้มากขึ้น บาลานซ์ชีวิต-การทำงาน-การพักผ่อน ให้ได้ตามสูตร 8-8-8 8 โดย 8 ชั่วโมงแรก ใช้เพื่อพักผ่อนที่บ้าน 8 ชั่วโมงที่สอง ใช้เพื่อทำงานให้เต็มที่ และใช้ 8 ชั่วโมงที่สาม ใช้เพื่อเดินทางและทำกิจกรรมอื่นๆ แต่หากคุณคือคนหนึ่งที่ทำงานหนัก รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย สุขภาพกายพัง สุขภาพจิตแย่ นี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีอาการ "Karoshi Syndrome" หนึ่งในโรคยอดฮิตของคนญี่ปุ่นและมนุษย์ทำงาน
Karoshi Syndrome คืออะไร
Karoshi Syndrome เป็นประเภทโรคของคนที่ทำงานหนักจนตัวตาย ชื่อของ Karoshi (คาโรชิ) เริ่มเป็นที่พูดถึงกันในสังคมญี่ปุ่น หลังจากมีข่าวพนักงานหญิงวัย 31 ปี ของสถานีโทรทัศน์ชื่อดังเสียชีวิตด้วย “ภาวะหัวใจล้มเหลว” แม้ว่าจะมีอายุเพียง 31 ปี ทราบภายหลังว่าก่อนหน้านี้เธอทำงานล่วงเวลาอย่างหนัก ต่อด้วยข่าวการจากไปของพนักงานบริษัทชายที่ฆ่าตัวตายด้วยสภาวะตึงเครียดจากการทำงานให้กับเอเจนซี่ชื่อดังระดับประเทศ หากทำความเข้าใจง่ายๆ “โรคคาโรชิ” ก็หมายถึงภาวะทำงานหนักจนตาย หรือที่หลายคนเรียกว่า “โรคบ้างาน” ซึ่งไม่ได้ระบุว่าเป็นโรคใดโรคหนึ่ง หากแต่เรียกภาวะที่ร่างกายอ่อนเพลียอย่างหนักจากการทำงานมากเกินไป จนอาจนำไปสู่สาเหตุของการเสียชีวิตในภายหลังได้นั่นเอง
ต้นเหตุของการเกิด Karoshi Syndrome
สำหรับต้นเหตุการเสียชีวิตจากการเกิด Karoshi Syndrome จะมีอยู่ด้วยกัน 2 สาเหตุใหญ่ๆ ได้แก่ การตายเพราะโรค และตายเพราะความเครียดสะสม เนื่องด้วยจากการทำงานอย่างหนักหน่วงทำให้ร่างกายไม่ได้หยุดพัก การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ร่างกายขาดสารอาหารหรืออดอาหาร ในผู้ที่คลั่งงานต้องรอให้งานเสร็จเสียก่อนที่จะรับประทานอาหารได้ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายไม่อาจทนต่อการเกิดโรค ในกรณีที่มีความเครียดก็อาจส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจอย่างร้ายแรง กดดันตัวเอง รู้สึกไร้ค่า ทำให้หดหู่และสุดท้ายก็จบลงด้วยการฆ่าตัวตาย
อันตรายจาก Karoshi Syndrome
เนื่องจากคนทำงานมีสภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดโรคหัวใจและอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองมากขึ้น ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าคนที่ทำงานหนักมีความเสี่ยงต่อ 3 โรคที่กล่าวข้างต้นสูงมากกว่าปกติ ซึ่งในอุบัติการณ์ยังพบว่ามีหลายคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองกำลังเจอกับโรคนี้อยู่และยังคงทำพฤติกรรมเดิมๆ ซ้ำๆ ทำงานหนักจนเครียด การกินอาหารหรือการใช้ตัวช่วยประทังความเครียดก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เมื่อเริ่มทานมากขึ้นไขมันในเลือดก็จะเริ่มสูงตาม โรคอื่นๆ จะเสริมทัพเข้ามาโจมตีและสะสมไปเรื่อยๆ จนร่างกายรับไม่ไหวจนวูบหลับและเสียชีวิตในที่สุด
ทดสอบตัวเองว่าเรากำลังเป็น Karoshi Syndrome อยู่หรือเปล่า?
สาเหตุสำคัญของ Karoshi Syndrome
วิธีป้องกัน Karoshi Syndrome