svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

เปิดอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

09 พฤศจิกายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานทูตออสเตรเลีย และ MLA ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านความยั่งยืนของเนื้อวัวออสเตรเลีย เพื่ออุตสาหกรรมเนื้อวัวในประเทศไทย พร้อมมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2030

ออสเตรเลียและไทย ผสานความร่วมมือด้านจัดการสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมปศุสัตว์เพื่อลดผลกระทบและผลักดันสู่อนาคตที่ยั่งยืน ผ่านการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และเดินหน้าความร่วมมือของทั้งสองประเทศ บูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องหวังสร้างอุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่เติบโตอย่างยั่งยืนในไทย

เปิดอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

สำหรับงานสัมมนา ความยั่งยืนของเนื้อวัวออสเตรเลีย : ความรู้และประสบการณ์เพื่ออุตสาหกรรมเนื้อวัวในประเทศไทย ถูกจัดขึ้นเพื่อแบ่งปันมาตรการที่เป็นรูปธรรม ซึ่งได้มีการดำเนินการโดยอุตสาหกรรมเนื้อแดงของออสเตรเลีย ทั้งในเชิงกรอบการทำงานเพื่อความยั่งยืนของเนื้อวัวออสเตรเลีย (Australian Beef Sustainable Framework) และเป้าหมายระยะยาวในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2030

เปิดอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

โดยได้รับเกียรติจากผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ และสหกรณ์เข้าร่วมงาน โดย MLA ได้นำเสนอนโยบายหลากหลายด้านของอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตเนื้อวัวที่ยั่งยืนของออสเตรเลีย  ทั้งในเรื่องการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรค และตัวชี้วัดความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ทั้งนี้ แม้แนวคิดเรื่อง “ความยั่งยืน” จะสามารถตีความและนำมาปฏิบัติได้หลายแบบ แต่ประสบการณ์ที่แบ่งปันในงานสัมมนาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การเพาะเมล็ดพันธุ์ทางความคิดที่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานจริงในประเทศไทย ซึ่งทั้งสองประเทศสามารถเรียนรู้และทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

เปิดอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

จาคอบ เบทรอส ผู้จัดการฝ่ายความยั่งยืนของเนื้อวัวออสเตรเลียของ MLA นำเสนอความสำเร็จของอุตสาหกรรมเนื้อวัวในออสเตรเลียและเป้าหมายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ CN30 ผ่านการนำเสนอผลงานภายใต้กรอบการทำงานเพื่อความยั่งยืนของเนื้อวัวออสเตรเลีย (ABSF) ซึ่งเป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมเนื้อวัวในออสเตรเลีย โดยใช้หลักฐานจากข้อมูลเป็นเกณฑ์การวัดความสัมฤทธิ์ผล ช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถพัฒนาได้อย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่มีต่อลูกค้า นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม

“ในปีค.ศ. 2017 อุตสาหกรรมเนื้อแดงของออสเตรเลียได้กำหนดเป้าหมายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2030 (CN30) โดยส่งสัญญาณชัดเจนถึงรัฐบาล ตลาดโลก และผู้บริโภคว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์กำลังดำเนินมาตรการเชิงรุกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเพิ่มปริมาณผลผลิตในระยะยาว ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมเนื้อแดงก้าวหน้าไปไกลกว่าความคาดหวังของตลาดในเรื่องการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตเนื้อแดงเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก นอกจากนี้ นวัตกรรมด้าน CN30 ยังช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งในการเพิ่มปริมาณผลผลิตและผลกำไรผ่านตลาดคาร์บอนหรือห่วงโซ่อุปทานระดับพรีเมียม” 

นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเสนอตัวอย่างการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในออสเตรเลียของ เจนนี โอ ซัลลิแวน เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวและ แกะจากรัฐวิกตอเรีย โดยบอกเล่าประสบการณ์ในการผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ขณะเดียวกัน ก็มีการรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างแหล่งรายได้ ครอบครัวของเจนนีมีส่วนร่วมในโครงการสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนในฟาร์มของพวกเขามากว่า 30 ปี ทำให้เธอเป็นสมาชิกผู้ทรงเกียรติในคณะกรรมการเพื่อความยั่งยืนของ ABSF (ABSF Sustainability Steering Group)

สเปนเซอร์ วิทเทกเกอร์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ MLA ได้นำเสนอภาพรวมเกี่ยวกับการบริโภคเนื้อวัวออสเตรเลียในประเทศไทย โดยกล่าวว่า "ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นตลาดที่ออสเตรเลียส่งออกเนื้อวัวมากเป็นอันดับที่ 8 พบว่าประเทศไทยมีความต้องการเนื้อแดงคุณภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากมาโดยตลอด แม้จะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม ทั้งนี้ ความต้องการในการนำเข้าเนื้อแดงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ. 2017 โดยมีปัจจัยจากผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อมีจำนวนมากขึ้น รวมถึงภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา ออสเตรเลียเป็นผู้จำหน่ายเนื้อวัวและเนื้อแกะนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยคิดเป็นราว 1 ใน 3 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์แช่แข็งทั้งหมด ทั้งนี้ การยกเลิกภาษีและการจำกัดจำนวนการนำเข้าสินค้าตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2020 ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (TAFTA) และข้อตกลงระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (AANZFTA) เป็นปัจจัยช่วยส่งเสริมการค้าเนื้อแดงและจะยังคงทำให้การค้าเติบโตต่อไปได้ในอนาคต"

เปิดอนาคตที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ฯพณฯ ดร.แอนเจลา แม็คโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ย้ำถึงความสำคัญของเกษตรกรรมที่ยั่งยืนต่อทั้งประเทศออสเตรเลียและประเทศไทย โดยทั้งสองประเทศมีโอกาสในการเรียนรู้และร่วมมือกันด้านนี้อย่างมาก โดยภาคเกษตรมีความสำคัญต่อทั้งสองประเทศทั้งในแง่การสร้างงานและการส่งออก รวมทั้งยังมีสภาพภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกันเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ซึ่งสามารถดำเนินงานด้านนี้ร่วมกันได้มากยิ่งขึ้น โดยท่านทูตแอนเจลาได้กล่าวอีกว่า “เกษตรกรรมที่ยั่งยืนมิใช่การหาวิธีการเพียงวิธีเดียวเพื่อใช้กับทุกปัญหาและทุกบริบท” ทั้งนี้ ยังกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมกันแสวงหาวิธีการเพื่อความยั่งยืน

แอมเบอร์ พาร์ ที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร ได้เล่าถึงวิธีคิดของออสเตรเลียในการจัดการความยั่งยืนทางการเกษตร โดยเกษตรกรได้เผชิญความท้าทายที่จะต้องเน้นทำเกษตรกรรมที่ยั่งยืน รวมทั้งผู้บริโภคก็ต้องตัดสินใจในการบริโภคที่ช่วยผลักดันให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว ออสเตรเลียได้ดำเนินการสู่ความยั่งยืนผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบหน่วยวิจัยและพัฒนาของท้องถิ่น ซึ่ง Meat and Livestock Australia เป็นพันธมิตรที่สำคัญการดำเนินการนี้ตั้งแต่การวิจัย การให้การศึกษา และการเพิ่มขีดความสามารถ ถือเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญของออสเตรเลียได้มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กับผู้เกี่ยวข้องในประเทศไทย  นอกจากนี้ในระดับนานาชาติ ออสเตรเลียยังตระหนักถึงความสำคัญของวิธีการในการทำเกษตรกรรมยั่งยืนที่ออกแบบตามความต้องการเฉพาะตัว รวมทั้งยินดีที่จะร่วมมือกับประเทศไทยและนานาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

 

logoline