svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

ส่องเส้นทางพายุ "ตาลิม" เคลื่อนผ่านจุดไหนบ้าง ทำไทยฝนตกหรือไม่?

17 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์พายุที่น่าจับตามองตอนนี้เห็นจะเป็นพายุโซนร้อน "ตาลิม" ที่ดูเหมือนว่าจะทวีกำลังแรงขึ้น หลายคนกังวลว่าจะกระทบไทยรุนแรงหรือไม่? ชวนคอข่าวมาร่วมมาอัปเดตความเคลื่อนไหวที่น่าจับตากันตรงนี้ได้เลย

พายุโซนร้อน "ตาลิม (TALIM)" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 5 ลำดับที่ 24 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ พายุลูกนี้ก่อตัวขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่ง "ตาลิม (TALIM)" แปลว่า ใบมีดหรือคมมีดในภาษาตากาล็อก ส่วนเส้นทางของพายุโซนร้อนกำลังแรง “ตาลิม” กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศ เรื่องพายุโซนร้อน "ตาลิม" (TALIM) ฉบับที่ 10 โดยระบุว่า

ส่องเส้นทางพายุ \"ตาลิม\" เคลื่อนผ่านจุดไหนบ้าง ทำไทยฝนตกหรือไม่?

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 พายุโซนร้อนตาลิม บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 113.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุลูกนี้กําลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางตะวันตกเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลําและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2566

ส่องเส้นทางพายุ \"ตาลิม\" เคลื่อนผ่านจุดไหนบ้าง ทำไทยฝนตกหรือไม่?

ในส่วน ผลกระทบของพายุตาลิม ที่มีต่อประเทศไทยนั้น ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายบริหารโฆษกประจำกรมอุตุนิยมวิทยา เผยว่า คืนวันที่ 17 ก.ค. นี้ พายุตาลิมจะกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นแต่ในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น หลังจากนั้นก็จะเคลื่อนขึ้นฝั่งไทยโดยจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และเมื่อเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนจะกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น

ซึ่งผลกระทบของพายุตาลิมที่มีต่อประเทศไทยโดยตรงยังไม่มี จะมีทางอ้อมคือทำให้ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแรงขึ้น เพราะฉะนั้นวันที่ 17 ก.ค. จะมีเริ่มมีฝนเกิดขึ้นที่ด้านตะวันออกของภาคอีสาน โดยเฉพาะอีสานตอนล่างและอีสานตอนบน ซึ่งในประเทศไทยจะมีฝนทุกภาคแต่ละมากบ้าง น้อยบ้างต่างกัน ในส่วนของกรุงเทพฯ และปริมาณมณฑลยังอยู่บ้างแต่ยังไม่มาก

ส่องเส้นทางพายุ \"ตาลิม\" เคลื่อนผ่านจุดไหนบ้าง ทำไทยฝนตกหรือไม่?

พายุตาลิม จะส่งผลมากขึ้นในช่วงวันที่ 20-22 ก.ค.2566 โดยจะมีฝนทั่วประเทศไทยเนื่องร่องมรสุมเลือนลงมาพาดผ่าน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรง ทำให้เกิดฝนตกชุกหนาแน่นมากขึ้น บางพื้นที่อาจจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ตั้งแต่ 20-22 ก.ค. 2566 จะมีฝนสะสมมากขึ้นในประเทศ เพราะฉะนั้นจะเป็นผลดีต่อภาคการเกษตร น่าจะได้มากน้ำพอสมควร ซึ่งฝนส่วนหนึ่งเกิดในที่กักเก็บน้ำ และส่วนหนึ่งเกิดขึ้นพื้นที่ราบทั่วไป โดยบางพื้นที่อาจมีปริมาณฝนมากน้อยต่างกัน

ส่องเส้นทางพายุ \"ตาลิม\" เคลื่อนผ่านจุดไหนบ้าง ทำไทยฝนตกหรือไม่?

รายงานล่าสุด เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (17 ก.ค. 66) พายุโซนร้อนกำลังแรง “ตาลิม” (TALIM) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 100 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองจั้นเจียง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 111.5 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

พายุนี้มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนในคืนนี้ (17 ก.ค. 66) และจะเคลื่อนผ่านชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ และประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 18-19 ก.ค. 66 โดยจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน พายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17-20 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 17 กรกฎาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ น่าน ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์ 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี และราชบุรี  

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ ตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

วันที่ 18 กรกฎาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:  จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี และสระบุรี 

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร  ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ส่องเส้นทางพายุ \"ตาลิม\" เคลื่อนผ่านจุดไหนบ้าง ทำไทยฝนตกหรือไม่?

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ประกาศ ณ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 23.00 น.

(ลงชื่อ)    ชมภารี ชมภูรัตน์            

(นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์)

 

ขอขอบคุณที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา

logoline