svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สภาพอากาศสุดขั้วคร่าชีวิต 2 ล้านคนทั่วโลกช่วง 50 ปี

22 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ประเมินว่า สภาพอากาศสุดขั้วทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 2 ล้านราย และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 4.3 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

สภาพอากาศสุดขั้วคร่าชีวิต 2 ล้านคนทั่วโลกช่วง 50 ปี องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เผยแพร่รายงานฉบับใหม่ในวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2566 ว่า ภัยพิบัติจากสภาพอากาศสุดขั้วเกิดขึ้นรวม 11.778 ครั้ง ในช่วงปี 2513-2564 และคร่าชีวิตประชาชนมากกว่า 2 ล้านราย รวมทั้งสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 4.3 ล้านล้านดอลลาร์ นอกจากนี้รายงาน พบว่า กว่า 90% ของจำนวนผู้เสียชีวิตเกิดจากภัยพิบัติในประเทศกำลังพัฒนา

WMO ย้ำเตือนมาตลอดเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้วบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น ซึ่งรวมถึง น้ำท่วม, เฮอร์ริเคน, ไซโคลน และภัยแล้ง

เปตเตรี ทาลาส ผู้อำนวยการ WMO พายุไซโคลน “โมคา” ที่พัดถล่มเมียนมาและบังกลาเทศในสัปดาห์ที่แล้ว สะท้อนความจริงนี้ได้อย่างดี พายุสร้างความหายะในวงกว้างและส่งผลกระทบต่อคนที่ยากจนที่สุด  สภาพอากาศสุดขั้วคร่าชีวิต 2 ล้านคนทั่วโลกช่วง 50 ปี

สภาพอากาศสุดขั้วคร่าชีวิต 2 ล้านคนทั่วโลกช่วง 50 ปี แต่ WMO ระบุว่า ระบบการเตือนภัยล่วงหน้าที่พัฒนามากขึ้น และการบริหารจัดการภัยพิบัติที่มีการประสานงานอย่างดี สามารถลดตัวเลขการสูญเสียชีวิตมนุษย์ได้อย่างมาก  

ในรายงานปี 2564 ระบุว่า ในช่วงแรกของปี 2513-2562 มีผู้เสียชีวิตกว่า 50,000 ราย ในแต่ละปี แต่ในช่วงปี 2553-2562 จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงเหลือต่ำกว่า 20,000  ราย ต่อปี

ส่วนรายงานฉบับล่าสุด มีผู้เสียชีวิต 22,608 รายทั่วโลกในปี 2563 และ 2564 รวมกัน

ที่ผ่านมายูเอ็นประกาศแผนที่ตั้งเป้าหมายว่าจะให้ทุกชาติมีระบบเตือนภัยพิบัติล่วงหน้าภายในสิ้นปี 2570 และจนถึงขณะนี้มีเพียงครึ่งหนึ่งจากประเทศทั้งหมดในโลกที่มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าดังกล่าว

สภาพอากาศสุดขั้วคร่าชีวิต 2 ล้านคนทั่วโลกช่วง 50 ปี WMO เตือนด้วยว่า แม้จำนวนผู้เสียชีวิตลดลง แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติเกี่ยวกับสภาพอากาศเพิ่มสูงขึ้น ที่ผ่านมา WMO ระบุว่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 7 เท่า ในช่วงปี 2513-2562 จาก 49 ล้านดอลลาร์ต่อวันในช่วง 10 ปีแรก เป็น 383 ล้านดอลลาร์ต่อวันในช่วง 10 ปีสุดท้าย

ความเสียหายดังกล่าวมากถึงกว่า 60% เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา แต่กว่า 4 ใน 5 ของภัยพิบัติทั้งหมด เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจสำหรับภัยพิบัติแต่ละครั้ง ต่ำกว่า 0.1% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์โดยรวมภายในประเทศ   สภาพอากาศสุดขั้วคร่าชีวิต 2 ล้านคนทั่วโลกช่วง 50 ปี
ความเสียหายทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ระหว่างปี 2513-2562 เกิดขึ้นในสหรัฐฯ รวมมูลค่า 1.7 ล้านล้านดอลลาร์

ขณะที่ทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีภัยพิบัติมากที่สุดกว่า 3,600 ครั้ง สูญเสียชีวิต 984,263 ราย และ สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ 1.4 ล้านล้านดอลลาร์

logoline