svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ผลศึกษาคาด ประชากรโลกอาจแตะ 8,500 ล้านก่อนปี 2050

29 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราที่สูงเป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว อย่างในปี 2003 ที่ประชากรโลกอยู่ที่ประมาณ 6,400 ล้านคน แต่ปัจจุบัน ตัวเลขนี้พุ่งเกิน 8 พันล้านคนไปแล้ว และคาดว่า ประชากรโลกอาจแตะ 8,500 ล้านก่อนปี 2050

ผลการศึกษาล่าสุด พบว่า ถ้าสังคมโลกยังคงมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การศึกษา และสาธารณสุขอย่างก้าวกระโดด ประชากรโลกอาจพุ่งแตะ 8,500 ล้านคนก่อนปี  2050

ผลการศึกษามาจากบรรดานักวิทยาศาสตร์ของ Earth4All ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การเรียกร้องให้เร่งเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันบนโลกในอนาคต 
 

พวกเขาได้จำลองเหตุการณ์เป็นสองแนวทาง แนวทางแรก มองว่า ถ้าโลกยังคงพัฒนาเศรษฐกิจในทิศทางเดียวกับที่เป็นอยู่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา  ประเทศที่ยากจนสุดๆ ส่วนใหญ่ ก็จะหลุดพ้นจากภาวะยากจนถึงขีดสุด  และประชากรโลกอาจพุ่งแตะ 8,600 ล้านคนในปี 2050 ก่อนจะร่วงลงมาอยู่ที่ 7 พันล้านคนก่อนปี 2100

แนวทางที่สอง คือ ถ้าการพัฒนาต่างๆ ทำไปแบบก้าวกระโดด ประชากรโลกอาจพุ่งแตะ 8,500 ล้านคน ก่อนปี 2050 ก่อนที่จะร่วงลงมาอยู่ที่ 6 พันล้านคนก่อนสิ้นศตวรรษนี้  แนวทางนี้ จะส่งผลให้ภาวะความยากจนสุดๆ หมดสิ้นไปก่อนปี 2060  ผลศึกษาคาด ประชากรโลกอาจแตะ 8,500 ล้านก่อนปี  2050

Earth4All บอกว่า การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่ออัตราการเจริญพันธุ์   โดยอัตราการเจริญพันธุ์จะต่ำถ้าเด็กหญิงเข้าถึงการศึกษา และผู้หญิงมีอำนาจในทางเศรษฐกิจมากขึ้น ก่อให้เกิดการเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย  การขยายตัวของประชากรและการพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน  

ผลการศึกษาได้จากสิบพื้นที่บนโลก ซึ่งก็รวมถึงแถบซับซาฮาร่าในแอฟริกา จีน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งล้วนแต่เป็นพื้นที่ที่มีการขยายตัวของประชากรสูงมาก  ทั้งยังไปศึกษาในแองโกล่า ไนเจอร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และไนจีเรีย รวมถึงในเอเชีย เช่น อัฟกานิสถาน 

สมมติฐานที่พวกเขาตั้งขึ้นก็คือ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ อาจทำให้ประชากรขยายตัวถึงขีดสุดเร็วขึ้น 

แต่ปัญหาหลักของมวลมนุษยชาติในตอนนี้ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัวของประชากร แต่เป็นเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก  พื้นที่ที่ประชากรขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุด มักจะมีสภาพแวดล้อมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำสุดๆ ด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับหลายพื้นที่ที่มีจำนวนประชากรขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา 

ผลการศึกษา พบว่า มีความเป็นไปได้ที่ประชากรโลกจะมีการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นเกินกว่าขีดระดับต่ำสุดที่สหประชาชาติกำหนดไว้  แม้จะยังพัฒนาไปในระดับเดียวกับปัจจุบัน ซึ่งจะก่อให้เกิดการแจกจ่ายทรัพยากรที่เท่าเทียมกัน แต่ถ้าการแจกจ่ายทรัพยากรทำไปแบบเท่าเทียมกันมากกว่านี้ ประชากรโลกจะไม่มีใครยากจนสุดๆ อีกเลย  ชีวิตของทุกคนบนโลกจะดีขึ้น ถ้าทรัพยากรเทไปที่กลุ่มคนรวยให้น้อยลง  ผลศึกษาคาด ประชากรโลกอาจแตะ 8,500 ล้านก่อนปี  2050

logoline