svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

"เนทันยาฮู" เดิมพันด้วยความมั่นคงของชาติ

27 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ถูกมองว่ากำลังเอาความมั่นคงของชาติมาเป็นเดิมพัน ด้วยการเดินหน้าปฏิรูประบบตุลาการ ลิดดรอดอำนาจตุลาการ และปลดรัฐมนตรีกลาโหมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อเพราะ "แตกแถว" ในขณะที่ประเทศยังคงเผชิญศึกถึง 5 ด้าน

นายโยฟ กัลแลนต์ ถูก นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู สั่งปลดฟ้าผ่าเมื่อวันเสาร์ (25 มีนาคม 2566) หลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหมทั้งที่เป็นสมาชิกพรรคลิคุด โทษฐาน "แตกแถว" ที่เรียกร้องให้ยุติการ "ปฏิรูป" ระบบยุติธรรม ลิดรอนอำนาจของศาลสูงสุด จำกัดอำนาจฝ่ายตุลาการ เปิดทางให้รัฐบาล "พลิก" คำตัดสินของศาลสูงสุดได้ โดยเขากล่าวในการแถลงข่าวว่า สมาชิกของกองทัพอิสราเอลต่างโกรธและผิดหวังอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเตือนว่าเพื่อความมั่นคงของชาติและเพื่อลูกหลานควรระงับกระบวนการเอาไว้ก่อน เพื่อยุติการชุมนุมประท้วงและคืนความสามัคคีในสังคม หลังจากเผชิญการประท้วงต่อต้านมาตั้งแต่เดือนมกราคม 

นายกัลแลนด์ย้ำว่า การ "ยกเครื่อง" ระบบยุติธรรมของนายเนทันยาฮู กำลังสร้างความแตกแยกทางสังคมมากขึ้นที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งเมื่อวันอาทิตย์ประชาชนหลายหมื่นคนได้ออกไปชุมนุมประท้วงตามท้องถนนในนครเทล อาวีฟ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศและเป็นศูนย์กลางการพาณิชย์ที่สำคัญ ขณะที่นายเนทันยาฮูไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะถอย แม้นานาชาติจะตื่นตระหนกต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็ตาม 

\"เนทันยาฮู\" เดิมพันด้วยความมั่นคงของชาติ

การแตกแถวของนายกัลแลนด์ ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ส.ที่เป็นสมาชิกพรรคลิคุดอีก 2 คน ที่ทวีตตั้งคำถามว่า รัฐบาลจะรวบรวมเสียงส่วนใหญ่ได้หรือไม่ ถ้ายังดึงดันผลักดันการปฏิรูปด้วยการโหวต ขณะที่พรรคฝ่ายค้านก็ยกย่องว่า เป็นย่างก้าวที่กล้าหาญและสำคัญต่อความมั่นคงของอิสราเอล 

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วสภาฯ เพิ่งผ่านร่างกฎหมายแรกที่ถูกระบุว่า ออกมาเพื่อปกป้องนายเนทันยาฮูจากการถูกถอดถอน ทำให้มีคนออกมาประท้วงเมื่อวันเสาร์ราว 200,000 คน และเตรียมลงมติในสัปดาห์นี้ ในส่วนของข้อเสนอของรัฐบาลที่จะให้เปลี่ยนวิธีการแต่งตั้งผู้พิพากษา สร้างความกังวลให้หลายฝ่ายว่า จะนำไปสู่การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม และเอื้อประโยชน์ในทางการเมือง เพราะนายเนทันยาฮูกำลังเผชิญการดำเนินคดีหลายข้อหา แม้เขาจะปฏิเสธว่าเป็นเกมการเมืองก็ตาม

\"เนทันยาฮู\" เดิมพันด้วยความมั่นคงของชาติ

เหตุใดนานาชาติจึงต้องวิตกต่อสถานการณ์ในอิสราเอล 

อิสราเอลได้ชื่อว่าเป็น "รัฐยิวสมัยใหม่" ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ "ดินแดนแห่งพันธสัญญา" (Promised Land) สำหรับชาวยิวเท่านั้น แต่ยังเป็นประเทศเดียวในโลกที่เป็นที่ตั้งของหนึ่งในนครที่เก่าแก่ที่สุดอย่างเยรูซาเลม ที่มีประวัติย้อนไป 2,400 ปี มีประชากรหลากหลาย และเป็น "ดินแดนศักดิ์สิทธิ์" ของ 3 ศาสนา คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนายูดาห์ และด้วยเหตุนี้เองทำให้นครแห่งนี้ตกเป็นชนวนพิพาทมาโดยตลอด เผชิญสงครามก็หลายครั้ง และทำให้อิสราเอลต้องทำอย่างสุดความสามารถในเรื่องของความมั่นคง และการรักษานครแห่งนี้เอาไว้ 

\"เนทันยาฮู\" เดิมพันด้วยความมั่นคงของชาติ

การปลดรัฐมนตรีกลาโหม เสี่ยงต่อความมั่นคงอย่างไร? อิสราเอลอยู่ในสถานการณ์ที่เผชิญภัยด้านความมั่นคงถึง 5 ด้าน 

1. ชายแดนด้านที่ติดกับอิยิปต์ : รักษาความสงบในแนวรบทางใต้

คาบสมุทรไซไนของอิยิปต์ต้องเผชิญกับการคืนชีพของกลุ่มก่อการร้าย อันซาร์-เบท อัล-มักดิส และการแทรกซึมของกลุ่มไอเอส ทำให้กองกำลังป้องกันอิสราเอล (Israel Defense Forces) หรือ IDF ต้องสร้าง "รั้วรักษาความมั่นคง" เป็นระยะทาง 200 กม. กั้นระหว่างอิสราเอลกับอิยิปต์ และต้องใช้บุคลากรที่ได้รับการฝึกระดับสูงคอยเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง 

\"เนทันยาฮู\" เดิมพันด้วยความมั่นคงของชาติ

2. ฉนวนกาซา : ความน่าสะพรึงกลัวที่ก่อตัวซ้ำแล้วซ้ำเล่า 

ทั้งฮามาส (Hamas) องค์กรก่อการร้ายที่ควบคุมฉนวนกาซาและปาเลสไตน์ อิสลามิค ญีฮัด (Palestinian Islamic Jihad) ได้ใช้ความพยายามมาหลายปีในการกอบกู้กองกำลังติดอาวุธ ที่ถูก IDF ทำลายโดยใช้ปฏิบัติการทางทหารที่ใช้ชื่อรหัสว่า "Operation Protective Edge" โดยเฉพาะฮามาสนั้น อิสราเอลเชื่อว่ามีความร่วมมือกับอิหร่านและลงเงินไปเป็นจำนวนมากกำลังกำลังคนและอุปกรณ์ เพื่อฟื้นฟูคลังแสงเมื่อปี 2558 ฮามาสฝึกนักรบใหม่ที่ล้วนเป็นวัยรุ่นปาเลสไตน์ในกาซาถึง 25,000 คน โดยใช้หลักคำสอนของศาสนามาโน้มน้าว 

\"เนทันยาฮู\" เดิมพันด้วยความมั่นคงของชาติ

3. จูเดียและซามาเรีย : การประทุของความรุนแรงในปาเลสไตน์ 

นอกจากฉนวนกาซาแล้ว ฮามาสยังพยายามขยายเครือข่ายก่อการร้ายเข้าไปในเขตจูเดียและซามาเรีย (Judea and Samaria) แต่หน่วยงานด้านความมั่นคงของอิสราเอล ก็สามารถทำลายแผนโจมตีพลเรือนได้นับครั้งไม่ถ้วน โดยแผนส่วนใหญ่ใช้การขับรถยนต์พุ่งชนเป้าหมาย 

4. พรมแดนซีเรีย : สงครามจ่อหน้าประตูบ้าน 

กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติที่ประจำการอยู่ ณ ที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) ซึ่งเป็นชายแดนติดกันระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย ได้ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มแนวร่วมอัล-นัสรา (bordal-Nusra Front) เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ทั้งสงครามในซีเรียและองค์กรก่อการร้าย ล้วนประชิดอยู่ติดดินแดนอิสราเอล และหลายคร้้งที่กระสุนจากการสู้รบเลยไปตกในดินแดนอิสราเอล 

\"เนทันยาฮู\" เดิมพันด้วยความมั่นคงของชาติ

5. พรมแดนติดเลบานอน : ภัยจากฮิซบุลเลาะห์ 

กลุ่มติดอาวุธฮิซบุลเลาะห์ (Hezbollah) ก็เคลื่อนไหวอยู่บนที่ราบสูงโกลัน ที่เชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัดซ้าด ของซีเรีย และฮิซบุลเลาะห์ก็ยังมีที่มั่นอยู่ในเลบานอน ที่อยู่ทางใต้ของอิสราเอล และมักใช้โครงสร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่ยึดครองเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะการเล่นงานอิสราเอล และการโจมตียังมีขึ้นแม้จะมีมติแก้ปัญหา 1701 ของสหประชาชาติ (UN Resolution 1701) มากำกับว่า ห้ามกองกำลังอื่นยกเว้นกองบทัพเลบานอน ที่จะเคลื่อนในพื้นที่ตอนใต้ของอิสราเอลได้ แต่รายงานล่าสุดระบุว่าฮิซบุลเลาะห์สั่งสมนักรบไว้ถึง 30,000 คน และจรวดอีก 100,000 ลูก ที่สามารถโจมตีได้ทุกพื้นที่ของอิสราเอล ซึ่งผู้นำกลุ่มเคยประกาศไว้ว่า อิสราเอลไม่อาจจินตนาการได้เลยถึงขนาดของคลังแสงที่พวกเขามีอยู่... ดังนั้น การปลดรัฐมนตรีในขณะที่ประเทศเผชิญภัยรอบด้านอยู่ตอนนี้ ถือเป็นการเดิมพันที่ใหญ่หลวงของนายเนทันยาฮู ที่เอาเรื่องการเมืองมาอยู่เหนือความปลอดภัยของประชาชน 

\"เนทันยาฮู\" เดิมพันด้วยความมั่นคงของชาติ

logoline