svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

จีนและญี่ปุ่น ขอมีบทบาทสำคัญในสงครามยูเครน

21 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ถ้าอยากรู้ว่า สงครามยูเครนมีอิทธิพลขนาดไหนในเอเชีย ก็ให้ดูจากการที่ผู้นำจีนเยือนรัสเซีย และในช่วงเวลาเดียวกัน ผู้นำญี่ปุ่นก็เดินทางเยือนยูเครน ซึ่งทั้งรัสเซียและยูเครนต่างเป็นชาติคู่อริในสงครามนี้

นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น เยือนกรุงเคียฟของยูเครน พร้อมให้คำมั่นจะสนับสนุนประธานาธิบดียูเครน พร้อมหารือเรื่องการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการฟื้นฟู

ด้านประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ของจีน ก็อยู่ระหว่างเยือนกรุงมอสโกว์ของรัสเซีย เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน  แม้จีนยืนยันวางตัวเป็นกลาง แต่ดูเหมือนว่า จะเอนเอียงไปทางรัสเซียมากกว่าการเป็นคนกลางที่เที่ยงตรงในเวลานี้ 

การเยือนต่างประเทศในเวลาเดียวกันของผู้นำจีนและญี่ปุ่น ทั้งยังเป็นประเทศคู่อริในสงครามเสียด้วย ไม่ใช่เหตุบังเอิญแน่นอน เพราะแทบจะไม่เคยเห็นผู้นำญี่ปุ่นเดินทางเยือนต่างประเทศโดยไม่ประกาศล่วงหน้า และนายกฯญี่ปุ่นผู้นี้ ยังเป็นคนแรกนับจากสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เยือนประเทศซึ่งกำลังตกอยู่ในความขัดแย้ง  

การเยือนยูเครนครั้งนี้ ถูกเก็บไว้เป็นความลับจนกระทั่งผู้นำญี่ปุ่นเดินทางมาถึงเมื่อเช้าวันอังคารตามเวลาท้องถิ่น  ซึ่งทางการญี่ปุ่นอ้างว่า เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย

จีนและญี่ปุ่น ขอมีบทบาทสำคัญในสงครามยูเครน จีนและญี่ปุ่น ขอมีบทบาทสำคัญในสงครามยูเครน นายกรัฐมนตรี คิชิดะ ยังเดินทางไปที่เมืองบูชา ซึ่งพลเรือนหลายร้อยคนถูกสังหารเมื่อปีที่แล้ว โดยกองกำลังรัสเซีย เขาได้วางพวงหรีด และแสดงความโกรธแค้นต่อความโหดร้ายที่เกิดขึ้น 

ผู้นำญี่ปุ่นถูกพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือ แอลดีพี ที่เขาสังกัดอยู่ กดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ให้เดินทางเยือนยูเครน เพราะเขายังเป็นผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ จี 7  เพียงคนเดียวที่ยังไม่ได้เยือนยูเครน นับจากถูกรัสเซียบุกเมื่อปีที่แล้ว  จึงมีเสียงเรียกร้องให้เขาเดินทางเยือน ก่อนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 7 ในเมืองฮิโรชิม่า เดือนพฤษภาคม

ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี คิชิดะ ก็ได้พบปะกับประธานาธิบดีเกาหลีใต้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วในกรุงโตเกียว  ถือเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีที่ผู้นำทั้งสองประเทศมาพูดคุยกัน ถือเป็นการสานสัมพันธ์แบบปกติกับเกาหลีใต้  ร่วมแบ่งปันข่าวกรองและแสดงจุดยืนพ้องกันที่จะต่อต้านเกาหลีเหนือ  ซึ่งทั้งหมดก็เป็นไปตามกลยุทธ์ที่สหรัฐวางไว้ 

การเยือนยูเครนของผู้นำญี่ปุ่นครั้งนี้ จึงได้รับเสียงชื่นชมจากสหรัฐ  ทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่า ญี่ปุ่นยืนอยู่ข้างใคร ภายใต้การเมืองโลกที่ร้อนระอุเช่นนี้  แต่จริงๆ แล้ว ญี่ปุ่นเองก็พยายามจะถ่วงดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสัมพันธภาพที่มีต่อจีน 

โดยเมื่อเดือนที่แล้ว ทั้งสองประเทศได้จัดการพูดคุยด้านความมั่นคงในกรุงโตเกียวเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ซึ่งฝั่งจีนก็แสดงความวิตกที่ญี่ปุ่นสร้างเสริมกำลังทหาร  ส่วนญี่ปุ่นก็วิจารณ์จีนที่ไปผูกสัมพันธ์ทางการทหารกับรัสเซีย และข้อสงสัยเรื่องการใช้บอลลูนสอดแนม

จีนคือยักษ์ใหญ่เบอร์สองของเศรษฐกิจโลก และญี่ปุ่นคือเบอร์สาม การเปิดช่องทางพูดคุยกัน จึงเป็นกุญแจสำคัญท่ามกลางสถานการณ์ที่ตึงเครียด 

จีนและญี่ปุ่น ขอมีบทบาทสำคัญในสงครามยูเครน ซึ่งทางญี่ปุ่นเองก็แสดงความวิตกในสงครามยูเครน เพราะเกรงจะเกิดสงครามคู่ขนานระหว่างรัสเซียบุกยูเครน และหากสถานการณ์เลวร้ายถึงขีดสุดก็คือ กองทัพจีนบุกไต้หวันบ้าง ซึ่งแน่นอนว่า ญี่ปุ่นจะต้องถูกลากเข้าไปร่วมด้วย 


 

logoline