svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ทั่วโลกมีแค่ 13 ชาติ-ดินแดน มีคุณภาพอากาศดีในปื 2565

14 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รายงานฉบับใหม่เผยในปี 2565 มีเพียง 13 ประเทศและดินแดนในโลกที่มีคุณภาพอากาศที่ดี และเมืองลาฮอร์ของปากีสถานติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงที่สุดในโลก

รายงานที่เผยแพร่ในวันอังคารโดย IQAir บริษัทที่ติดตามคุณภาพอากาศทั่วโลกพบว่า มลพิษทางอากาศรายปีโดยเฉลี่ยในเกือบ 90% ประเทศและดินแดน อยู่ในระดับสูงเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) 

IQAir วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยคุณภาพอากาศของ 131 ประเทศและดินแดน และพบว่า 6 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ เกรนาดา ไอซ์แลนด์ และนิวซีแลนด์ กับอีก 7 ดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ซึ่งรวมถึง กวม และเปอร์โตริโก มีคุณภาพอากาศที่ดีตามเกณฑ์ของ WHO คือ มีมลพิษทางอากาศเฉลี่ยรายปีเพียง 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรหรือต่ำกว่า

 

ทั่วโลกมีแค่ 13 ชาติ-ดินแดน มีคุณภาพอากาศดีในปื 2565

ขณะที่ 7 ประเทศ ได้แก่ ชาด อิรัก ปากีสถาน บาห์เรน บังกลาเทศ บูร์กินาฟาโซ คูเวต และอินเดีย มีมลพิษสูงเกินกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

เมื่อเดือนก.ย. 2564 WHO ปรับเกณฑ์ค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่น PM2.5 ที่ยอมรับได้จาก 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเหลือเพียง 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานของ IQAir ยังแสดงความกังวลต่อการขาดแคลนสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในประเทศกำลังพัฒนาในทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ และตะวันออกกลาง ทำให้ขาดการบันทึกข้อมูลคุณภาพอากาศ และในปีที่แล้วสาเหตุสำคัญของมลพิษในอากาศทั่วโลก คือ ไฟป่า และการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับการคมนาคมขนส่ง และการผลิตพลังงาน

ทั่วโลกมีแค่ 13 ชาติ-ดินแดน มีคุณภาพอากาศดีในปื 2565

 

รายงานระบุด้วยว่า เมืองลาฮอร์ในปากีสถานขยับขึ้นกว่า 10 อันดับจนกลายเป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลกในปี 2565 และปากีสถานเป็นประเทศที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยเมืองลาฮอร์มีฝุ่น PM2.5 ปริมาณ 97.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรในปี 2565 และเมืองเหอเถียนของจีนอยู่ในอันดับ 2 วัดได้ 94.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ส่วนชาดเป็นประเทศที่มีคุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก มีปริมาณฝุ่น PM2.5 มากที่สุด 89.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามด้วยอิรัก 80.1  ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และปากีสถาน 70.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 

logoline