svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

สุดอาลัย "ม.ล.สุรีย์วัล" มาร่วมการเปิดตำนานเส้นทางของ "ราชินีหนังบู๊"

25 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อาลัย "ราชินีหนังบู๊" มาร่วมการเปิดตำนานเส้นทางการเข้าสู่วงการบันเทิงม.ล.สุรีย์วัล หรือ ม.ล.สุรีกร สุริยง ได้สร้างปรากฏการณ์มากมาย เพียงแค่เรื่องแรก "เพชรตัดหยก" กวาดรายได้ถล่มทลาย พร้อมกับ คว้ารางวัลตุ๊กตาเงินดาวรุ่งฝ่ายหญิง

25 กันยายน 2565 ดาวดับอีกดวงอดีตนักแสดงชื่อดัง หม่อมหลวงสุรีกร หรือ หม่อมหลวงสีรีย์วัล สุริยง เจ้าของฉายา “ราชินีหนังบู๊” ได้เข้ารับการรักษาตัวใน รพ. ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2564 หลังมีอาการไม่มีแรง ก่อนจะตรวจพบว่าเส้นเลือดในสมองแตก ต้องผ่าตัดสมองด่วน อีกทั้งยังมีอาการจากโรคมะเร็งในรังไข่ ล่าสุดเสียชีวิตแล้วอย่างสงบเมื่อ เวลา 03.45 วันอาทิตย์ ที่ 25 ก.ย.2565 ด้วยวัย 59 ปี

 

หม่อมหลวงสุรีกร สุริยง หรือ หม่อมหลวงสุรีย์วัล  เกิดเมื่อ 12 กันยายน พ.ศ. 2505 ชื่อเล่น ปุ้ม ฉายา “ราชินีหนังบู๊”หลังจากงานแสดงภาพยนต์ เริ่มซาลง ได้ผันชีวิตมาเป็นพิธีกรและผู้บริหารฝ่ายข่าวบันเทิง ทางช่อง 3 

 

หม่อมหลวงสุรีกร เป็นบุตรีคนที่ 5 จากพี่น้องทั้งหมด 7 คน ของหม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง กับคุณอัมพร ประทีปะเสน โดยหม่อมราชวงศ์ธิติสารเป็นโอรสในหม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง กับคุณสุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต อดีตนักแสดง

 

อาลัย ม.ล.สุรีย์วัล สุริยง หรือ ม.ล.สุรีกร จากไปอย่างสงบในเช้าวันนี้

หม่อมหลวงสุรีกร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ

 

เข้าสู่วงการภาพยนตร์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2524 จากบทบู๊เรื่อง เพชรตัดหยก คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี ฉีเส้าเฉียน และ นันทิดา แก้วบัวสาย กำกับการแสดงโดย คมฆ์ อรรฆเดช เพียงเรื่องแรกสามารถคว้ารางวัลตุ๊กตาเงินดาวรุ่งฝ่ายหญิงมาครอง จนเป็นที่รู้จักทั่วไป และรับบทการแสดงแนวนี้เรื่อยมา จนได้รับฉายา “ราชินีหนังบู๊ “

 

สำหรับครูฝึกคิวฉากต่อสู้ คือ พันนา ฤทธิไกร ผู้กำกับคิวบู๊และสตั๊นแมนเบอร์ 1 ของไทย ซึ่งเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ เป็นผู้ฝึกสอน

 

ส่วนนักแสดงชายที่รับบทบาทคู่กันมากที่สุดคือ สรพงศ์ ชาตรี และทูน หิรัญทรัพย์

ปัจจุบัน เป็นผู้บริหารฝ่ายข่าวบันเทิง และผู้ประกาศข่าวกีฬา (รายการ ทันโลกกีฬา) ช่วง Have A Nice Day คู่กับ ชนินทร์ บุญราย ทางช่อง 3

 

เพียงเรื่องแรก ก็เป็นตำนานให้กล่าวขาน คว้ารางวัลตุ๊กตาเงินดาวรุ่ง จากภาพยนต์ เพชรตัดหยก ในปี 2524 กวาดรายได้ถล่มทลาย

สุดอาลัย "ม.ล.สุรีย์วัล" มาร่วมการเปิดตำนานเส้นทางของ "ราชินีหนังบู๊"

 

สำหรับ ผลงานภาพยนตร์ ประกอบด้วย

  • พ.ศ. 2525 – เพชรตัดหยก
  • พ.ศ. 2525 – ไอ้ผาง ร.ฟ.ท.
  • พ.ศ. 2525 – เพลิงภูหลวง
  • พ.ศ. 2525 – วังผาเดือด
  • พ.ศ. 2525 – ลูกสาวนักเลง
  • พ.ศ. 2526 – แควมหาโหด
  • พ.ศ. 2526 – แหกนรกเวียตนาม
  • พ.ศ. 2526 – เจ้าสาวนักเลง
  • พ.ศ. 2526 – 7 พระกาฬ
  • พ.ศ. 2526 – พญายมพนมรุ้ง
  • พ.ศ. 2526 – ยอดพยัคฆ์นักเพลง
  • พ.ศ. 2526 – สิงห์ตีนสั่ง
  • พ.ศ. 2526 – เห่าดง
  • พ.ศ. 2526 – ลูกสาวเจ้าพ่อ
  • พ.ศ. 2526 – สิงห์ด่านเกวียน
  • พ.ศ. 2526 – ไอ้ ป.4 (ไม่มีเส้น)
  • พ.ศ. 2526 – พยัคฆ์ยี่เก
  • พ.ศ. 2526 – สาวแดดเดียว
  • พ.ศ. 2527 – สิงห์รถบรรทุก 2
  • พ.ศ. 2527 – หน่วย 123
  • พ.ศ. 2527 – เหล็กเพชร
  • พ.ศ. 2527 – คาดเชือก
  • พ.ศ. 2527 – ยันต์สู้ปืน
  • พ.ศ. 2527 – แตนป่าแตก
  • พ.ศ. 2527 – นักสู้หน้าเซ่อ
  • พ.ศ. 2527 – ผ่าโลก 2 แผ่นดิน
  • พ.ศ. 2528 – ปลัดเพชรบ่อพลอย
  • พ.ศ. 2528 – คนดีที่บ้านด่าน
  • พ.ศ. 2528 – ทับทิมโทน
  • พ.ศ. 2528 – มือปืนคาราบาว
  • พ.ศ. 2529 – สิงห์ต้องสู้
  • พ.ศ. 2529 – ซิ่งวิ่งลุย
  • พ.ศ. 2529 – มือปราบมหากาฬ
  • พ.ศ. 2530 – ปลุกมันขึ้นมาฆ่า
  • พ.ศ. 2531 – สู้กับผีหนีไม่ได้
  • พ.ศ. 2531 – คนหินจอมทรหด
  • พ.ศ. 2531 – นักรบดำ
  • พ.ศ. 2533 – เกิดมาลุย 3
  • พ.ศ. 2533 – โหดตามคิว
  • พ.ศ. 2533 – กองทัพเถื่อน
  • พ.ศ. 2534 – ตังเกเดือด
  • พ.ศ. 2535 – เพชฌฆาตดำ 2

ขอบคุณภาพจากเพจ Thai Movie Posters

logoline