เพิ่ม nation online
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ปศุสัตว์ กล่าวว่า โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin) เป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย ไม่ใช่โรคติดต่อสัตว์สู่คน พบการติดเชื้อครั้งแรกในโคเนื้อของเกษตรกรที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564
การแพร่กระจายของโรคโดยมีแมลงเป็นพาหะ ไปยังโค-กระบือของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบืออย่างมากท่านดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีความห่วงใยและกำชับสั่งการให้กรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาควบคุมสถานการณ์การระบาดให้สำเร็จ เพื่อลดความสูญเสียให้กับเกษตรกร เฝ้าระวังโรคในจังหวัดข้างเคียง และหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยเร็ว
กรมปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินการตามมาตราการในการควบคุมป้องกันโรค ลดความเสียหายและผลกระทบให้เกิดน้อยที่สุด และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้เสียหาย ได้แจ้งปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่เกิดการระบาดโรคลัมปี สกิน ในโค–กระบือ ให้เร่งตรวจสอบความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562
พบสัตว์ป่วย 69 จังหวัด 624,800 ตัว อยู่ระหว่างรักษา 17,944 ตัว ตาย 64 จังหวัด 65,288 ตัว ไม่ขอรับความช่วยเหลือ 3 จังหวัด 4 ตัว ความช่วยเหลือ 61 จังหวัด 65,288 ตัว อปท. ช่วยเหลือแล้ว 6 จังหวัด 371 ตัว ขอความช่วยเหลือจากส่วนกลาง 55 จังหวัด 64,913 ตัว
ข้อมูลล่าสุด ( 2 มีนาคม 2565) ส่งเอกสารขอรับความช่วยเหลือแล้ว 50 จังหวัด เกษตรกร 59,835 ราย รวม 66,362 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 1,362,888,330 บาท แบ่งเป็นใช้เงินงบกลาง 15 จังหวัด เกษตรกร 7,939 ราย สัตว์ 8,825 ตัว วงเงิน 154,237,310 บาท ขอใช้เงินทดรองราชการ 41 จังหวัด เกษตรกร 51,896 ราย รวม 57,537 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 1,208,651,020 บาท
ช่วยเหลือแล้ว เกษตรกรจำนวน 37,061 ราย วงเงิน 844,628,500 บาท ใน 39 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบุรี เพชรบูรณ์ เลย แพร่ กรุงเทพมหานคร กาพสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร ตราด ดาก นครพนม นครราชสีมา นครครีธรรมราช นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบศีรีขันธ์ พิจิตร มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ สระแก้ว สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุดรธานี อุทัยธานี อุบลราชธานี
"ขุนเกษตร" เจาะลึกรายละเอียดลงไปเป็นการโอนเงินในวันที่ 1 มีนาคม และ 4 มีนาคม 2565 จำนวน 21,935 ราย 24,183 ตัว วงเงิน 484,916,000 บาท
รวมวงเงินที่มีการโอนให้เกษตรกรแล้ว 71 % เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการทางเอกสารและรอการโอนเงินอีกประมาณ 29 %
ในส่วนที่ยังรอโอนเงินเยียวยานั้น "ขุนเกษตร" ได้ตรวจสอบรายละเอียดพบว่า อยู่ในขั้นตอนการตรวจเอกสาร 14,835 ราย วงเงิน 364,022,502 บาท แยกเป็นอยู่ที่กระทรวงการคลัง(กรมบัญชีกลาง) 11,013 ราย วงเงิน 271,543,420 บาท จำนวน 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เพชรบูรณ์ กาพสินธ์ จันทบุรี นครราชสีมา นครครีรรรมราช นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สระแก้ว สระบุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
อยู่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 303 ราย วงเงิน 6,672,100 บาท จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ บึงกาฬ อุดรธานี เพชรบุรี และ อยู่ที่กรมปศุสัตว์ 3,519 ราย วงเงิน 85,807,000 บาท จำนวน 4 จังหวัดได้แก่ สกลนคร ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม
อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี กาญจนบุรี ราชบุรี พัทลุง และ สงขลา
เกษตรกรจะได้รับการเยียวยาดังนี้
โค - ได้ไม่เกินรายละ 5 ตัว อายุน้อยกว่า 6 เดือน 13,000 บาท อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี 22,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปีถึง 2 ปี 29,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป 35,000 บาท
กระบือ - ไม่เกินรายละ 5 ตัว อายุน้อยกว่า 6 เดือน 15,000 บาท อายุ 6 เดือนถึง 1 ปี 24,000 บาท อายุมากกว่า 1 ปีถึง 2 ปี 32,000 บาท อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป 39,000 บาท