svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"วรเจตน์"ชี้ร่างรธน.สืบทอดมรดกคำสั่งคสช.

24 กรกฎาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"วรเจตน์"ชี้ร่างรัฐธรรมนูญ. สืบทอดมรดกคำสั่งคสช. พร้อมวางกลไกให้ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจเหนือรัฐบาลเลือกตั้ง

--มธ. ท่าพระจันทร์ - 24 ก.ค.59--เวลา13.00น.ที่หอประชุมศรีบูรพา    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.)ท่าพระจันทร์     กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่รวมกับเครือยข่าย43องค์กรจัดกิจกรรม"ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน" โดยนายวรเจตน์    ภาคีรัตน์  เเกนนำกลุ่มนิติราษฎร์และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ประชามติ7สิงหากับอนาคตสังคมไทย"ว่า   แม้หลายคนยืนยันว่าจะมีการทำประชามติแน่นอน    แต่ก็ยังแน่ใจไม่ได้   เพราะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มีมาตรา44 สั่งว่า  จะจัดหรือเลื่อนออกไปก็ได้และแม้ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะเขียนให้แก้ไขได้    แต่ก็พบว่ายากต่อการแก้ไขมาก    

ซึ่งเรื่องนี้มีนัยยะคืออาจเป็นชนวนและระเบิดเวลาที่นำไปสู่ความรุนแรงในอนาคต อีกทั้งเงื่อนไขที่กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญยังเขียนให้รองรับมาตรา44ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว  ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญปกติกำหนด คือการทำให้อำนาจรัฐประหารสิ้นสุดเมื่อมีรัฐธรรมนูญถาวร  แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังให้หัวหน้า คสช.มีอำนาจต่อไป  อีกคำสั่ง คสช. ก็จะเป็นมรดกตกทอดต่อไป 

"วรเจตน์"ชี้ร่างรธน.สืบทอดมรดกคำสั่งคสช.



"อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีปัญหาเรื่องโครงสร้างองค์กรของรัฐ และการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองโดยการเลือกตั้งจะเปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งเป็นการยากหรือที่จะทำให้ประชาชนมีคะแนนเสียงสองคะแนน คือเลือกส.ส.เขตและแบบบัญชีรายชื่อแยกกัน    ไม่เข้าใจว่าทำไมกำหนดให้เลือกได้อย่างเดียว   เหมือนเป็นการบังคับโดยปริยายในแง่นี้อาจทำให้เจตนารมณ์ของประชาชนในการเลือกผู้แทนไม่สมบูรณ์"เเกนนำกลุ่มนิติราษฎร์กล่าว 
นายวรเจตน์กล่าวต่ออีกว่า  ส่วนการได้มาซึ่งส.ว.ประชาชนจะไม่มีสิทธิเลือก ทั้งๆที่มีอำนาจอย่างมากในการออกกฎหมายความชอบธรรมมีน้อย แต่อำนาจมีมาก   เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วจะได้บุคคลมาเป็นรัฐบาลและบริหารราชการแผ่นดินได้ลำบากมาก    ยากที่รัฐมนตรีจะดำเนินโนยบายที่เป็นนโยบายสาธารณะได้     อำนาจของศาลและองค์กรอิสระก็เพิ่มมากขึ้นกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมนอกจากใช้กับตัวเอง    ยังมาใช้กับนักการเมืองส่งผลทำให้สถานะของนักการเมืองมีความไม่แน่นอนสูง    

"วรเจตน์"ชี้ร่างรธน.สืบทอดมรดกคำสั่งคสช.


 หลายคนสงสัยว่ารัฐธรรมนูญนี้กำหนดกลไกเหมือนคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ(คปป.)ที่มีอำนาจเหนือรัฐบาลหรือไม่    เพราะถึงไม่ได้เขียนไว้   แต่ส่วนนี้จะไปอยู่ที่มาตรา5ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยทางออกประเทศ    องค์กรที่ขาดจุดเชื่อมโยงกับประชาชนมีจำนวนมากกว่าองค์กรที่ความเชื่อมโยง      สำหรับประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐานถ้าหัวหน้าคสช.ยังมีอำนาจมาตรา44การใช้การรับรองสิทธิเสรีภาพต่างๆระหว่างรอการเลือกตั้งก็จะกลายเป็นหมัน        เพราะคนที่กระทบจะไม่มีสิทธิไปฟ้องศาลแม้ฟ้องศาลก็ยากที่จะพิจารณาเพราะคำสั่งนี้ระบุว่าชอบด้วยกฎหมาย  "มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาลคสช.บอกว่า    หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านอาจหมายถึงอยากให้คสช.อยู่ยาว    การจัดประชามติครั้งนี้ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านแปลว่าคนเห็นชอบแต่ถ้าไม่ผ่านหมายถึงประชาชนปฏิเสธผลงานที่มา  คนที่เป็นกรรมการร่างจะรับผิดชอบอย่างไร   แล้วที่แต่งตั้งกรรมการร่างจะรับผิดชอบอย่างไร    รับหรือไม่รับเป็นปัญหาเรื่องความชอบธรรม   บางคนเริ่มไขว้เขวพอบอกว่าไม่รับ  อยากให้คสช.อยู่นานๆหรือ   เราจะต้องอยู่บ้านไม่ไปใช้สิทธิหรือไปโหวตรับ แต่ผมเห็นว่าถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ความชอบธรรมของคสช.คงไม่เหมือนเดิม"เเกนนำกลุ่มนิติราษฎร์กล่าว

"วรเจตน์"ชี้ร่างรธน.สืบทอดมรดกคำสั่งคสช.

 
นายวรจตน์กล่าวต่ออีกว่า   ในส่วนประเด็นคำถามพ่วง   มีข้อสังเกตว่าถ้าคำถามพ่วงนี้ผ่านส.ว.มาร่วมโหวตเลือกนายกฯ   แต่5ปีแรกของส.ว.มาจากการคัดเลือกของคสช.เมื่อเป็นเช่นนี้คำถามแรกว่า  เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ บังเอิญตนเป็นคนถนัดขวา  ดังนั้นคำถามที่สองจะให้กาช่องซ้ายก็กระไรอยู่  คงกาช่องขวาทั้งสองช่อง ทั้งนี้รัฐธรรมนูญเป็นอย่างไรจะกำหนดชะตากรรมของชาตินั้นๆ   ประวัติศาสตร์พิสูจน์มาแล้วว่า  ชาติใดที่ประชาชนสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเอง  มีประชาธิปไตย  ย่อมเกิดการคอร์รัปชั่นน้อยชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี  ผ่านมาสองปีหลายคนอาจจะเหนื่อย  ใครเหนื่อยก็พักหายเหนื่อยค่อยมาสู้กันใหม่  สิ่งที่เผด็จการชอบที่สุดคือ  ความหวังของประชาชนดับลง  แต่สิ่งที่กลัวที่สุดคือไฟที่ยังลุกโชติช่วง      ตนจึงขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนร่วมกันผ่านพ้นช่วงนี้

"วรเจตน์"ชี้ร่างรธน.สืบทอดมรดกคำสั่งคสช.

logoline