svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"นิด้าโพล" เผยเสียงปชช.ไม่เชื่อร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบกลาโหมหยุดรัฐประหาร

28 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"นิด้าโพล" เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน พบร้อยละ 51.83 ไม่เชื่อ ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบกระทรวงกลาโหม จะช่วยป้องกันการรัฐประหาร ขณะที่ ร้อยละ 61.83 ไม่เชื่อการปฏิวัติปี 57 จะเป็นครั้งสุดท้ายของประเทศไทย

28 เมษายน 2567 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง "หยุดรัฐประหาร!" โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22-23 เม.ย. 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม กับการรัฐประหารในปรระเทศไทย

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหมจะช่วยป้องกันการรัฐประหาร พบว่า 

  • ร้อยละ 51.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
  • ร้อยละ 25.73 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
  • ร้อยละ 12.52 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
  • ร้อยละ 6.72 ระบุว่า เชื่อมาก
  • ร้อยละ 3.20 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ


ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการทำรัฐประหารในปี 2557 จะเป็นครั้งสุดท้ายของประเทศไทย พบว่า 

  • ร้อยละ 61.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
  • ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
  • ร้อยละ 8.24 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
  • ร้อยละ 6.11 ระบุว่า เชื่อมาก
  • ร้อยละ 3.44 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

  "นิด้าโพล" เผยเสียงปชช.ไม่เชื่อร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบกลาโหมหยุดรัฐประหาร

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า 

  • ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ
  • ร้อยละ 18.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง
  • ร้อยละ 17.86 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ
  • ร้อยละ 33.35 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้
  • ร้อยละ 7.79 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก


โดยกลุ่มตัวอย่าง

  • ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย
  • ร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง


สำหรับอายุของกลุ่มตัวอย่าง

  • ร้อยละ 12.37 อายุ 18-25 ปี
  • ร้อยละ 17.94 อายุ 26-35 ปี
  • ร้อยละ 18.24 อายุ 36-45 ปี
  • ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี
  • ร้อยละ 23.81 อายุ 60 ปีขึ้นไป


นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่าง

  • ร้อยละ 95.88 นับถือศาสนาพุทธ
  • ร้อยละ 2.90 นับถือศาสนาอิสลาม
  • ร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ


สถานภาพกลุ่มตัวอย่าง

  • ร้อยละ 36.72 สถานภาพโสด
  • ร้อยละ 60.46 สมรส
  • ร้อยละ 2.82 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่


ระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่าง

  • ร้อยละ 20.84 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า
  • ร้อยละ 34.66 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
  • ร้อยละ 9.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า
  • ร้อยละ 30.15 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  • ร้อยละ 5.04 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

อาชีพกลุ่มตัวอย่าง

  • ร้อยละ 9.31 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ร้อยละ 16.95 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน
  • ร้อยละ 21.68 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ
  • ร้อยละ 10.23 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง
  • ร้อยละ 16.02 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน
  • ร้อยละ 20.31 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน
  • ร้อยละ 5.50 เป็นนักเรียน/นักศึกษา


สถานะรายได้กลุ่มตัวอย่าง

  • ร้อยละ 21.45 ไม่มีรายได้
  • ร้อยละ 18.09 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท
  • ร้อยละ 29.16 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท
  • ร้อยละ 12.90 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท
  • ร้อยละ 5.88 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน
  • ร้อยละ 6.64 ไม่ระบุรายได้

 

logoline