svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดรายละเอียดญัตติ อภิปรายทั่วไป โดย "ไม่ลงมติ" ของ "สมาชิกวุฒิสภา" เช็กเลย

22 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดรายละเอียดญัตติ "อภิปรายทั่วไป" โดย "ไม่ลงมติ" ของ "สมาชิกวุฒิสภา" ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 153 มีอะไรบ้างเช็กเลย

22 มกราคม 2567 จากกรณี นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิวุฒิสภา(สว.) เป็นแกนนำในการรวบรวมรายชื่อ เพื่อยื่นเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 153 นั้นล่าสุด ได้ยื่นหนังสือต่อ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานรัฐสภา แล้ว มาดูกันว่า สมาชิกวุฒิสภา ขออภิปรายในเรื่องใดกันบ้าง โดยเนื้อหาในหนังสือ ระบุว่า

เรื่อง ขอเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจง ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 153

กราบเรียน ประธานวุฒิสภา ตามที่คณะรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 และได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาประมาณ 4 เดือน รัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาสำคัญ ตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ รวมถึงปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นภายหลังจากได้มีการแถลงนโยบายไปแล้ว ดังนี้

1. ปัญหาค้านเศรษฐกิจของขาติ และปัญหาปากท้องของประชาชน

     1.1. การสร้างกระบวนการและแนวทางในการสร้างงานสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนที่ยั่งยืน และการทำให้ประชาชนมีรายได้ และมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและเป็นการแก้ปัญหาความยากจน รัฐบาลมีแนวทางที่ชัดจนและเป็นรูปธรรมอย่างไร

     1.2. สภาพปัญหาการดำเนินนโยบายการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digtal Wallet ที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่สร้างภาระหนี้สินให้กับประชาชนในชาติ จะดำเนินการได้จริงหรือไม่

     1.3. การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ตามแนวทางที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยไม่ได้มุ่งแก้ไขปัญหาจากต้นตอในระดับครัวเรือน

     1.4. การแก้ไขปัญหา การฟื้นชีวิตอุตสาหกรรมการประมง ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตการทำประมงอย่างแท้จริง

     1.5. การสร้างรายได้ของประเทศ จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศไทย จะดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดไต้อย่างไร

     1.6. รัฐบาลทราบหรือไม่ว่า การประกาศใช้กฎหมายผังเมืองใหม่ที่ล่าช้า ทำให้ประชาชนขาดโอกาส และขาดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

2. ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรม และการบังคับใช้กฎหมาย

     2.1. ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามคำพิพากษา ที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรม สองมาตรฐาน

     2.2. การบังคับใชักฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ ช่วยพวกพ้อง หาประโยชน์ส่วนตน สร้างมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยว ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนที่ไม่เท่าเทียม การทุจริต คอรัปชัน ยาเสพติด และการพนัน

     2.3. การแก้ปัญหาการปราบปราม ขบวนการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ จากต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ

     2.4. การเปลี่ยน ส.ป.ก. 4 - 01 เป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรม อาจเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน จะมีมาตรการการป้องกันได้อย่างไร

     2.5. การปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติด ยังไม่เห็นผลชัดเจนและเป็นรูปธรรมจะมีแนวทางอย่างไร

     2.6. มาตรการการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการเรียกส่วยหรือการหาผลประโยชน์ ในทุกกรณี จะแก้ไขปัญหาให้จริงจังและเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

     2.7. การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (Cyber Crime) ที่มีประสิทธิภาพจะทำได้อย่างไร

3. ปัญหาด้านพลังงาน

     3.1. การไม่สามารถแก้ใขปัญหา โครงสร้างพลังงานของประเทศ และการบริหารจัดการราคาพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

     3.2. กลุ่มทุนพลังงานมีอิทธิพลกับการเมือง ทำให้กลุ่มทุนกำหนดราคาพลังงานในอัตราที่สูงเกินความจำเป็น จนทำให้ประชาชนแบกภาระราคาเชื้อเพลิง ที่มีราคาสูงเกินจริง จะแก้ไขอย่างไร

     3.3. ความไม่ชัดเจนในการแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนในทะเล (OCA) กับประเทศรอบบ้าน ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งพลังงานสำคัญได้

4. ปัญหาด้านการศึกษา และสังคม

     4.1. การไม่เร่งปฏิรูปการศึกษา โดยยังเพิกเฉยต่อการผลักดัน การตราพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ เป็นแม่บทในการพัฒนาการศึกษา ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของโลก

     4.2. การไม่เร่งผลักดัน และปล่อยปละละเลยในการแก้ไขปัญหาการปรับโครงสร้าง ของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ หลังจากพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 มีผลบังคับใช้มาถึงวันนี้เกือบ 1 ปี แต่ไม่สามารถปรับโครงสร้างได้แล้วเสร็จ ทำให้เกิดผลเสียต่อการจัดการศึกษาอย่างร้ายแรง

     4.3. การแก้ปัญหาหนี้สินครู รัฐบาลยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ปัญหาหนี้สินครู ยังไม่ได้รับการแก้ไข ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการสอนของครู และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา

     4.4. การจัดหลักสูตรการศึกษาในสถานศึกษา และการให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

     4.5. ปัญหาการดูแลผู้สูงวัย ผู้พิการ และผู้ต้อยโอกาสในสังคมไทย

5. ปัญหาด้านการต่างประเทศ และการท่องเที่ยว

     5.1. ที่เรียกผู้กระทำความผิดว่า "จีนเทา" บ่อยครั้ง ตอกย้ำ จนกระทบกับความสัมพันธ์กับความรู้สึกของ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนนจีนและประชาชนชาวจีน จะแก้ใขอย่างไร

     5.2. การวางตัวเป็นกลางและการเลือกข้างของรัฐบาล กับความขัดแย้งของประเทศต่าง ๆ จะวางตัวอย่างไร ให้เหมาะสมแก่สถานการณ์

     5.3. มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว ในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และการสร้างความเชื่อมั่นและหลักประกันในการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว

     5.4. การกำหนดพื้นที่และการให้เจ้าหน้าที่ราชการที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความสะดวก แก่กิจการท่องเที่ยวหรือให้ความสะดวก แก่การทำมาค้าขายของประชาชน รวมทั้งไม่ควรอ้างการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมายเพื่อสร้างเงื่อนไข สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน

6. ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณา ดำเนินการทำประชามติต้องมีความชัดเจน เพื่ออธิบายให้ได้ว่า มีความจำเป็นในการดำเนินการอย่างไร โดยชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน และการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศได้อย่างไร

7. ปัญหาการดำเนินการปฏิรูปประเทศและการคำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ตามรายงานที่วุฒิสภาได้ติดตามเสนอแนะ เร่งรัดต่อรัฐบาลไปแล้วนั้น รัฐบาลมีนโยบายและแนวทางดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าวอย่างไร

ทั้งนี้ ปัญหาข้างต้นเป็นปัญหาสำคัญ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่เร่งด่วน ที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการและแก้ไขปัญหาโดยทันที อันส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อนและยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งไม่บรรลุเป้าหมาย รัฐบาลต้องการให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีรายใด้เพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าคณะสมาชิกวุฒิสภา จึงขอเสนอญัตติตามนัยของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 153 ประกอบกับข้อบังคับ การประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2522 ข้อ 36 และข้อ 171 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ อันเป็นประโยชน์แก่การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเอง ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติและพี่น้องประชาชนโดยรวมทั้งประเทศ

และเป็นนโยบายที่ควรจะต้องเร่งรัดการดำเนินการโดยรวดเร็วทันที เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลยังไม่ได้ดำเนินการหรือดำเนินการลำช้า ในการแก้ไขปัญหาสำคัญตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ รวมถึงปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นภายหลังจาก ได้มีการแถลงนโยบายไปแล้วดังกล่าวข้างต้น

สำหรับเหตุผลและรายละเอียดเพิ่มเติม ข้าพเจ้าจะได้ชี้แจงในที่ประชุมวุฒิสภาต่อไป

ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

ด้านท้ายเป็นการลงรายมือชื่อผู้เสนอญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา จำนวน 98 คน เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญ เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 153 ซึ่งเกินจำนวน 1 ใน 3 จากจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ทำให้ยื่นอภิปรายได้

logoline