svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ตอบ 5 คำถามยอดฮิต"กฎหมายสมรสเท่าเทียม"ได้สิทธิอะไรบ้าง?  

24 ธันวาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากโลกที่เคยถูกกำหนดไว้เพียง "ชาย" และ "หญิง" ให้สามารถมีสิทธิใช้ชีวิตครองคู่ร่วมกันได้ แต่เมื่อสภาพสังคมยุคปัจจุบันที่เปิดกว้างและเปลี่ยนไป จึงต้องมีการตรากฎหมายเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ในการอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุข

"กฎหมายสมรสเท่าเทียม" จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ เพื่อใช้ทลายอุปสรรคและนำไปสู่ความเสมอภาคของคนทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงกลุ่มคนที่มีหลากหลายทางเพศ ให้ได้รับสิทธิเฉกเช่นปุถุชนทั่วไป

โดยหลังจากสภาผู้แทนราษฎร มีมติด้วยคะแนนเสียงอย่างล้นหลาม รับ 4 ร่าง "พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" หรือ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" ในชั้นรับหลักการ ไปเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.)
  • ภาคประชาชน
  • พรรคก้าวไกล
  • พรรคประชาธิปัตย์

ทว่า ก็เกิดคำถามจากบนโลกโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะสิทธิที่จะได้รับนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างจากกฎหมายเดิมที่บัญญัติไว้เฉพาะ "ชาย" และ "หญิง" อย่างไร และมีอะไรบ้าง

โดย "เนชั่นออนไลน์" ได้รวม 5 คำถามยอดฮิตและเจอมากที่สุด มาไขภาพรวมคำตอบของ 4 ร่างกฎหมาย ซึ่งสภาฯ รับหลักการไว้ และกำลังเดินหน้าเข้าสู่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณา 

1.นำหน้าชื่อจริง นาย นาง นางสาว หรือ LGBTQ+

  • ยังไม่ได้ระบุ


2.ถ้าอีกฝ่ายเสียชีวิต การแบ่งมรดกต่างๆ จะเหมือนกับชายหญิงหรือไม่

  • ใช้กฎหมายเหมือน “ชาย” และ “หญิง” ที่อนุญาตให้คู่สมรสมีสิทธิในการเบิกจ่ายหากมี


3.ส่งเสริมให้ LGBTQ+ สามารถมีลูกได้หรือถ้าสมรสกันแล้ว โดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และทางการแพทย์

  • อนุญาตให้สามารถรับอุปการะบุตรบุญธรรมได้


4.การใช้นามสกุลของอีกฝ่ายทำได้หรือไม่

  • ยังไม่ได้ระบุ


5.สิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีสมรสกับข้าราชการ

  • ใช้กฎหมายใช้กฎหมายเหมือน “ชาย” และ “หญิง” ที่อนุญาตให้คู่สมรสมีสิทธิในการเบิกจ่ายหากมีการจดทะเบียนสมรส

ซึ่งภาพรวมเนื้อหาของร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ ที่ตรงกัน คือ มีการปรับคำจากเดิมกำหนดไว้เฉพาะ "สามีภริยา" ซึ่งหมายถึงแค่ "ชาย" กับ "หญิง" โดยให้เปลี่ยนมาเป็น "คู่สมรส" เพื่อครอบคลุมไปถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ คือหนึ่งตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังต้องรอเขย่าจากคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ ทั้ง 39 คน ที่ถูกตั้งขึ้นมา โดยนำเนื้อหาของทั้ง 4 ร่างกฎหมาย มากลั่นกรองรวมไว้ในฉบับเดียว เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

ซึ่งยังต้องฝ่าด่านสำคัญ คือ วาระ 2 ในการเปิดให้สมาชิกได้อภิปราย ว่าจะเห็นด้วยตาม กมธ. หรือต้องปรับแก้ไข ก่อนที่นำไปสู่วาระ 3 เพื่อเห็นชอบให้กฎหมายนี้ประกาศใช้ต่อไป

 


 

 

logoline