svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

“จตุพร” ตั้ง 6 ข้อสังเกต พรรคเพื่อไทย “แจกเงินหมื่น” ชี้ ไม่มีทางทำได้

18 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“จตุพร พรหมพันธุ์” แกนนำคณะหลอมรวมประชาชน ไม่เชื่อ นโยบายแจกเงินหมื่น จะเกิดขึ้นได้ พร้อมตั้ง 6 ข้อสังเกต ขยี้ “พรรคเพื่อไทย"

“จตุพร พรหมพันธุ์” แกนนำคณะหลอมรวมประชาชน  ตั้งข้อสังเกตนโยบาย “แจกเงินหมื่น” ของพรรค “เพื่อไทย” โดยฟันธงว่า นโยบายนี้ไม่มีทางได้เกิดขึ้น และไม่มีทางได้ทำจริงๆ พร้อมกับตั้งข้อสังเกต 6 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. เชื่อว่าผู้มีอำนาจในบ้านเมือง ไม่มีทางยอมให้เกิดนโยบายที่มีความสุ่มเสี่ยงต่องบประมาณของประเทศ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับนโยบายจำนำข้าวในอดีต ซึ่งขาดทุนเป็นเงินหลายแสนล้านบาท

 2. ให้จับตาบทบาทของ กกต. ว่าอาจมีแอคชั่นอะไรในเรื่องนโยบาย “แจกเงินหมื่น” หลังจากเดดไลน์ให้ส่งคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองในวันที่ 18 เมษายน

“จตุพร” ตั้ง 6 ข้อสังเกต พรรคเพื่อไทย “แจกเงินหมื่น”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

3. กกต.อาจสั่งห้ามหาเสียงด้วยนโยบายนี้ หรืออาจตรวจสอบเพิ่มเติม จนเป็นเหตุให้ถูกยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคได้ (เช่น ไม่สามารถอธิบายที่มาของงบประมาณได้ชัดเจน หรือต้องเก็บภาษีเพิ่ม)ถึงแม้ “แกนนำพรรคเพื่อไทย” เชื่อว่า เรื่องนี้ไม่เป็นเหตุให้ถูกยุบพรรค

4. การแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้กับประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไปทุกคน เป็นความจงใจแจกเงินให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหัวละ 10,000 บาทหรือไม่ โดยแจกกลุ่มอายุ 16-17 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่กำลังจะเป็น First Voter เพื่ออำพรางไม่ให้น่าเกลียดว่า แจกเฉพาะผู้มีสิทธิเลือกตั้งล้วนๆ

“จตุพร” ตั้ง 6 ข้อสังเกต พรรคเพื่อไทย “แจกเงินหมื่น”

5. เงิน 10,000 บาท ให้ใช้ในระยะเวลา 6 เดือน หารออกมาเป็นรายวัน คือ 55 บาทต่อวัน ไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และไม่ได้ต่างจากการแจกเงินผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์

6. ที่พรรคเพื่อไทยอ้างว่า บางครอบครัวมีสมาชิก 5 คน ก็จะได้เงิน 50,000 บาท เป็นเงินก้อน นำไปลงทุนเปิดร้านกาแฟ ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านไอศกรีมได้นั้น ต้องย้อนถามว่า ในรัศมี 4 กิโลเมตรรอบบ้าน มีร้านเหล่านี้อยู่แล้วหรือไม่ และมีหลักประกันอะไรว่าลงทุนแล้วจะขายได้ จนนำมาสู่เป้าหมายกระตุ้นเศรษฐกิจ

“จตุพร” สรุปว่า การแจกเงินหมื่น จึงเป็นการแจกเพื่อหวังผลทางการเมืองเท่านั้น ไม่ต่างอะไรกับนโยบายขึ้นค่าแรง 600 บาท แต่มีผลปี 2570 ซึ่งเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการเมืองที่ไม่สนใจผลกระทบที่ตามมา

logoline