svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คณิตศาสตร์การเมือง ความน่าจะเป็นของ “พรรคเพื่อไทย” ในการเป็นรัฐบาล

07 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความน่าจะเป็นของ “พรรคเพื่อไทย” ในการเป็นรัฐบาล ที่แปรผันตามจำนวน ส.ส. และการตัดสินใจร่วมกับ “บางพรรค” ในการจัดตั้งรัฐบาล

อย่างที่เราทราบกันดี ในบริบทการเมืองของประเทศไทย ได้ ส.ส. มากที่สุด ไม่ได้หมายความว่าจะได้เป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” เสมอไป เพราะมีเงื่อนไขสำคัญคือเสียงของ 250 ส.ว. ที่สามารถทำให้พรรคขนาดกลางบางพรรค ผงาดขึ้นมาเป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” ได้เลย

ซึ่งหากโฟกัสที่ “พรรคเพื่อไทย” ในเชิงคณิตศาสตร์การเมือง ตัวเลขของ ส.ส. ในจำนวนต่างๆ ก็จะมี “ความน่าจะเป็น” ที่ส่งผลต่อสัดสัดส่วนของอำนาจต่อรอง ทั้งในการเป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” หรือได้เป็นแค่ “พรรคร่วมรัฐบาล” (ในกรณีที่ไม่ยอมเป็นฝ่ายค้านอย่างเด็ดขาด) ดังต่อไปนี้

ถ้าได้ ส.ส. 180 คน

แม้ตัวเลข ส.ส. 180 คน จาก ส.ส. ทั้งหมด 500 คน จะเป็นจำนวนที่ถือว่าเยอะ แต่สำหรับ “พรรคเพื่อไทย” ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ได้เป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล”

แต่ในกรณีที่สมมตินะ สมมติว่า “พรรคเพื่อไทย” ยอมสนับสนุนพรรคต่างขั้ว ที่มีคอนเนคชั่นกับ ส.ว. จำนวนหนึ่ง ให้เป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” โหวตให้แคนดิเดตฯ ของพรรคดังกล่าวเป็นนายกฯ โอกาสที่ “พรรคเพื่อไทย” จะได้เข้าร่วมรัฐบาลก็พอมีอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าค่อยข้างน้อย น่าจะอยู่ที่ราวๆ 20 %

เพราะเมื่อคะแนนของ “พรรคเพื่อไทย” ไม่ได้อยู่ในระดับใกล้แลนด์สไลด์ อาจมีแนวโน้มว่า พรรคต่างขั้ว 2 พรรค ที่ต่างมีคอนเนคชั่นกับ ส.ว. อาจรวมกันเดินเกมจนรวมเสียงทั้งสภาได้เกิน 376 เสียง  “พรรคเพื่อไทย” ก็ต้องเป็นฝ่ายค้านไป...โดยปริยาย

สรุปแล้วก็คือ หากได้คะแนน 180 เสียง โอกาสเป็น "แกนนำจัดตั้งรัฐบาล" 0 % โอกาสเป็น "พรรคร่วมรัฐบาล" 20 %

บทความที่น่าสนใจ

คณิตศาสตร์การเมือง ความน่าจะเป็นของ “พรรคเพื่อไทย” ในการเป็นรัฐบาล

ถ้าได้ ส.ส. 220 คน

ด้วยระดับตัวเลข ส.ส. 220 เสียง แม้จะชนะไม่ขาด แต่ก็อยู่ในระดับใกล้แลนด์สไลด์ ทำให้มีอำนาจต่อรองพอสมควร ส่งผลให้การเดินเกมเพื่อเป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” มีโอกาสเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังถือว่าไม่มากนะ อยู่ที่ราวๆ 20 %

ส่วนในกรณีที่สมมติว่า “พรรคเพื่อไทย” ยอมให้พรรคอื่นซิวตำแหน่งนายกฯ ไป ก็จะทำให้โอกาสเป็น “พรรคร่วมรัฐบาล” ของ “เพื่อไทย” เพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ 40 % แต่ถ้าเลือกแนวทางนี้ ก็มีแนวโน้มสูงว่า จะต้องร่วมรัฐบาลกับพรรคต่างขั้ว ที่มีคอนเนคชั่นกับ ส.ว. จำนวนหนึ่ง 

คณิตศาสตร์การเมือง ความน่าจะเป็นของ “พรรคเพื่อไทย” ในการเป็นรัฐบาล

ถ้าแลนด์สไลด์

หากได้ตัวเลข ส.ส. ในระดับแลนด์สไลด์ 251 คนขึ้นไป ก็จะทำให้หนทางการเป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” ของ “พรรคเพื่อไทย” สว่างไสวเป็นอย่างมาก แต่อย่าลืมว่า ยังมีด่านสำคัญ นั่นก็คือ 250 ส.ว.  

แต่ทั้งนี้หาก “พรรคเพื่อไทย” อาศัย “ความชอบธรรม” จากคะแนนเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจสามารถดึงเสียงของสมาชิกสภา ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ได้เกิน 376 เสียง ก็จะส่งผลให้ “พรรคเพื่อไทย” สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้... สมใจหวัง

โดยถ้า “พรรคเพื่อไทย” ได้ ส.ส. 251 เสียง โอกาสที่จะได้เป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” ก็มีสูงขึ้นถึง 40 % แต่ถ้าไม่เอาตำแหน่งนายกฯ ขอแค่ได้ร่วมฐบาล ก็มีโอกาส 60 %

และหาก “พรรคเพื่อไทย” ได้ ส.ส. 310 คน โอกาสที่จะได้เป็น “แกนนำจัดตั้งรัฐบาล” ก็พุ่งกระฉูด อยู่ที่ 60 % แต่ถ้าไม่เอาตำแหน่งนายกฯ ขอเป็นแค่พรรคร่วมฯ เท่านั้น ก็มีโอกาสเป็นรัฐบาลสูงถึง 80 %

คณิตศาสตร์การเมือง ความน่าจะเป็นของ “พรรคเพื่อไทย” ในการเป็นรัฐบาล

logoline