svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รู้จักพระโค "พอ-เพียง" พระโคแรกนาขวัญ เตรียมเสี่ยงทาย ในวันพืชมงคล 2567

09 พฤษภาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทำความรู้จักพระโค "พอ-เพียง" พระโคแรกนาขวัญ ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันพืชมงคล ปี พ.ศ. 2567 และ พระโคสำรอง "เพิ่ม-พูล" วันที่ 10 พ.ค. นี้ลุ้น พระโคจะกินอะไร

"วันพืชมงคล" ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวันสำคัญ ในปีนี้ตรงกับวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 พระโคในทางศาสนาพราหมณ์ หมายถึง  เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวรซึ่งเปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็ง  และเป็นสัตว์เลี้ยงที่พระฤกษณะ และพระพลเทพดูแล  ซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์

ดังนั้น ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  จึงได้กำหนดให้ใช้พระโคเพศผู้เข้าร่วมพระราชพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็งและความอุดมสมบูรณ์

รู้จักพระโค \"พอ-เพียง\" พระโคแรกนาขวัญ เตรียมเสี่ยงทาย ในวันพืชมงคล 2567 ในส่วนของการดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี สังกัดสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ ดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อเป็นพระโคตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

  • เป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ 
  • มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร 
  • ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร 
  • ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร
  • โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน 
  • กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่ายไม่ดุร้าย 
  • เขาลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน 
  • ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงามดี 
  • มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้อง 
  • มีขาและกีบข้อเท้าแข็งแรง มองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยม
     

รู้จักพระโค \"พอ-เพียง\" พระโคแรกนาขวัญ เตรียมเสี่ยงทาย ในวันพืชมงคล 2567 ทั้งนี้ ในปี 2567 กรมปศุสัตว์ ได้ทำการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จำนวน 2 คู่ คือ

  • พระโคแรกนาขวัญ 1 คู่ ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียง
  • พระโคสำรอง 1 คู่ ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล

"พระโคพอ-เพียง" (พระโคแรกนาขวัญ)

  • พระโคพอ : มีความสูง 165 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 226 เซนติเมตร ความสมบูรณ์ รอบอก 214 เซนติเมตร อายุ 12 ปี
  • พระโคเพียง : มีความสูง 169 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 239 เซนติเมตร ความสมบูรณ์ รอบอก 210 เซนติเมตร อายุ 12 ปี

"พระโคเพิ่ม-พูล" (พระโคสำรอง)

  • พระโคเพิ่ม : มีความสูง 162 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 236 เซนติเมตร ความสมบูรณ์ รอบอก 201 เซนติเมตร อายุ 14 ปี
  • พระโคพูล : มีความสูง 157 เซนติเมตร ความยาวลำตัว 242 เซนติเมตร ความสมบูรณ์ รอบอก 205 เซนติเมตร อายุ 14 ปี

รู้จักพระโค \"พอ-เพียง\" พระโคแรกนาขวัญ เตรียมเสี่ยงทาย ในวันพืชมงคล 2567 พระโคแรกนาขวัญ พระโคพอ พระโคเพียง และพระโคสำรอง พระโคเพิ่ม พระโคพูล เป็นโคพันธุ์ขาวลำพูน มีสีผิวขาวอมชมพู ขนสีขาวสะอาด ทั้งลำตัวไม่มีจุดด่างดำ หรือสีอื่นบนลำตัว เขามีสีขาว ลำตัวเป็นลำเทียน เขาทั้งสองข้างมีลักษณะโค้งสวยงาม ดวงตาแจ่มใสสีน้ำตาลอ่อน ขนตาสีชมพู บริเวณจมูกขาว กีบสีขาว ขนหางเป็นพวงสีขาวยาว ลำตัวช่วงขาหลังและกีบมีความสมบูรณ์แข็งแรง เวลายืนและเดินสง่า
รู้จักพระโค \"พอ-เพียง\" พระโคแรกนาขวัญ เตรียมเสี่ยงทาย ในวันพืชมงคล 2567 เปิดประวัติ โค พันธุ์ขาวลำพูน

โคขาวลำพูนเป็นโคพื้นเมืองสำหรับใช้งานดั้งเดิม ที่พบกันมากในอำเภอต่างๆ ของจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ และแพร่กระจายไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดลำปาง พะเยา และเชียงราย ที่อยู่ใกล้กับจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ 

มีลักษณะที่โดดเด่น คือมีรูปร่างสูงใหญ่ สูงโปร่ง ลำตัวมีสีขาวตลอด พู่หางขาว หนังสีชมพูส้ม จมูกสีชมพูส้ม เนื้อเขาเนื้อกีบสีน้ำตาลส้ม จากลักษณะเด่นเป็นสง่าดังกล่าว จึงได้ถูกคัดเลือกให้เป็นพระโคในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 

ความเป็นมาของโคขาวลำพูนนั้น ยังไม่มีผู้ใดศึกษาไว้อย่างจริงจัง และยังไม่ทราบแน่นอนถึงถิ่นกำเนิดที่แท้จริง อยู่ที่ใดและมีมาแล้วตั้งแต่เมื่อใด ที่เริ่มรู้จักกันนั้นมีความเป็นมาจากการที่ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ริเริ่มเลี้ยงฝูงโคขาว ตั้งแต่ พ.ศ.2521 แทนฝูงโคเนื้อลูกผสมพันธุ์ต่างประเทศ เพื่อหาทางศึกษาชี้นำให้มีการอนุรักษ์และปรับปรุงพันธุ์

โคขาวลำพูนเป็นโคพื้นเมืองที่เกิดจากฝีมือและผลงานของชาวบ้านในจังหวัดลำพูน มีการพัฒนาสายพันธุ์มานานกว่า 100 ปี เลี้ยงกันแพร่หลายในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ แล้วแพร่กระจายไปยังจังหวัดลำปาง พะเยา เชียงราย เกิดขึ้นมาได้อย่างไรไม่มีหลักฐานแน่ชัด บางท่านเล่าว่า เกิดจากการกลายพันธุ์ของโคพื้นเมืองในสมัยพระนางจามเทวี ผู้ครองนครหริภุญไชยพระองค์แรก เมื่อ 1,340 กว่าปีมาแล้ว และเป็นสัตว์คู่บารมีของชนชั้นปกครอง ในสมัยนั้น ใช้ลากเกวียน 

แต่หริภุญไชยก็ล่มสลายตั้งแต่ครั้งเมื่อพ่อขุนเม็งรายมหาราชยึดครอง อีกทั้งเป็นเมืองร้าง สมัยพม่าครองเมือง ช่วงกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 ในตำราฝรั่งบางเล่มกล่าวว่า ต้นตระกูลของโคพื้นเมืองในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะเป็นโคยุโรปที่ไม่มีหนอก ซึ่งต่อมาถูกผสมข้ามโดยโคอินเดียที่มีหนอก เพราะโคในภูมิภาคนี้ส่วนใหญ่มีลักษณะของทั้งโคยุโรปและโคอินเดียรวมกัน คือมีเหนียงคอสั้น หน้าผากแบน และหูเล็กแบบโคยุโรป มีหนอกแบบโคอินเดีย

โคขาวลำพูนมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีสีขาวปลอดทั้งตัว ซึ่งแตกต่างจากโคสีขาวพันธุ์อื่น ๆ ที่ปาก จมูก ขอบตา กีบ เขา และพู่หางสีดำ แต่โคขาวลำพูนจะเป็นสีขาวทั้งหมด และไม่ใช่โคเผือกเพราะตาดำไม่เป็นสีชมพู เนื่องจากมีลำตัวสีขาวจึงทำให้ทนความร้อนจากแสงแดดได้ดีเป็นพิเศษ 

โคขาวลำพูนนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและสังคมเกษตรกรรมของบรรพบุรุษชาวล้านนา ดังนั้นเราไม่ควรปล่อยปละละเลยให้สูญพันธุ์ไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตามคติของศาสนาพราหมณ์ ตามตำนานกล่าวว่าโคอุสุภราชเผือกผู้มีนามว่าพระนนทิ ถือกันว่าเป็นเทพเจ้าแห่งสัตว์จัตุบาท พระนนทิ จะแปลงรูปเป็นโคให้พระอิศวรทรง ซึ่งความเชื่อนี้คนอินเดียจึงไม่ทานเนื้อโค จึงมีโคเยอะมากในประเทศอินเดีย ไทยเรารับความเชื่อของพราหมณ์มา ดังนั้น ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ราชวงศ์จักรี ได้กำหนดให้มีพระโคเพศผู้เข้าร่วมในพระราชพิธีนี้

กระทรวงเกษตรจัดพิธีซ้อมใหญ่ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 2567 (วันไถหว่าน)
รู้จักพระโค \"พอ-เพียง\" พระโคแรกนาขวัญ เตรียมเสี่ยงทาย ในวันพืชมงคล 2567
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดซ้อมใหญ่งานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันไถหว่าน) ณ ท้องสนามหลวง โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทำหน้าที่พระยาแรกนา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่างๆ ทั้งในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักพระราชวัง กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 

ซึ่งจะมีพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้น ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567 ที่จะถึงนี้ ตามฤกษ์พิธีไถหว่าน ระหว่างเวลา 08.09-08.39 น. ทั้งนี้ งานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธี ที่สืบเนื่องมาแต่โบราณมีความงดงาม และมีความหมายต่อพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพการเกษตรกรรมทำนาและผู้ประกอบอาชีพการเกษตรกร

รู้จักพระโค \"พอ-เพียง\" พระโคแรกนาขวัญ เตรียมเสี่ยงทาย ในวันพืชมงคล 2567
ขอบคุณที่มาข้อมูล : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพ : ศุกร์ภมร เฮงประภากร

logoline