svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย

09 พฤษภาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย ขยับเพิ่มขึ้นถึง 102 อันดับ จากการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีที่สุดในเอเชีย จากผลงานเด่น 5 ด้านสำคัญ

09 พฤษภาคม 2567 "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" สร้างความภูมิใจให้สถาบันอุดมศึกษาไทยในระดับเอเซีย โดยเป็นมหาวิทยาลันอันดับ 1 ของไทย จากการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาที่ดีที่สุดในเอเชีย THE Asia University Rankings 2024 ซึ่งประกาศผลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 

ทั้งนี้ อันดับของ จุฬาฯ ขยับขึ้นจากเมื่อปีที่แล้วถึง 102 อันดับ จากสถาบันอุดมศึกษาในเอเชียที่ได้รับการจัดอันดับจำนวนทั้งสิ้น 739 แห่ง (ไม่นับรวมสถาบันที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ หรือ Reporter) ซึ่งมากกว่าปีที่แล้ว ที่มีสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 669 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยไทยได้รับการจัดอันดับจำนวน 19 แห่ง

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย THE Asia University Rankings 2024 ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย และอันดับ 117 ของเอเชีย เป็นผลมาจากผลงานความโดดเด่นจาก 5 ตัวชี้วัดในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยครั้งนี้ ได้แก่

  • การเรียนการสอน (Teaching) 24.5%
  • การจัดการระบบนิเวศการวิจัย (Research Environment) 28%
  • คุณภาพการวิจัย (Research Quality) 30%
  • รายได้จากผลงานลิขสิทธิ์และนวัตกรรม (Industry) 10%
  • ความเป็นสากล (International outlook) 7.5%

จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย

ทำความรู้จัก "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

“ เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะให้ได้มีโอกาศเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉนั้น จึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจงได้ ”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ พุทธศักราช 2427

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ณ ตึกยาวข้างประตูพิมานชัยศรีในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ.2442 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็ก เมื่อ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 เพื่อผลิตบุคลากรให้รับราชการ ซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากพระบรมราโชบายปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเมื่อ พ.ศ. 2425
จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาคราชการและเอกชนต้องการบุคลากรทำงานในสาขาวิชาต่างๆ กว้างขวางมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบรมราโชบายในสมเด็จพระบรมชนกาธิราชที่จะ “ให้มีมหาวิทยาลัยขึ้นสำหรับเป็นสถาบันอุดมศึกษาของชาวสยาม” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2453

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459

เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งสมเด็จพระบรมชนกาธิราชให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางแผ่ไพศาลต่อไป โดยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย
ทำความรู้จัก “พระเกี้ยว” ศิราภรณ์ชั้นสูง สัญลักษณ์ “จุฬาฯ”
“พระเกี้ยว” หรือ จุลมงกุฎ เป็นศิราภรณ์ประดับพระเกศา หรือพระเศียรของพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ และเป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ทั้งนี้ พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ “จุฬาลงกรณ์” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกับพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นั่นคือ “มงกุฎ”

อีกทั้ง พระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังมีหมายความว่า “พระจอมเกล้าน้อย” อีกด้วย 

เมื่อพระนามาภิไธยเดิมและพระปรมาภิไธยเดิมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความหมายว่า “พระเกี้ยว” หรือ “จุลมงกุฎ” จึงได้ใช้ “พระเกี้ยว” หรือ จุลมงกุฎวางบนเบาะ เป็นพิจิตรเลขาประจำรัชกาลของพระองค์
จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย
สำหรับ การใช้ “พระเกี้ยว” เป็นเครื่องหมายประจำสถาบันการศึกษานั้น มีมาตั้งแต่สมัย "โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระเกี้ยวเป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียน 

ต่อมาเมื่อโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนมหาดเล็ก" จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ “พระเกี้ยว” เป็นเครื่องหมายหน้าหมวกของนักเรียนมหาดเล็ก 

ต่อมาเมื่อ โรงเรียนมหาดเล็ก กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญพระเกี้ยวเป็น เครื่องหมายของโรงเรียน ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่กราบบังคมทูลขอพระราชทาน 

กระทั่ง โรงเรียนมหาดเล็ก ได้วิวัฒน์ขึ้นเป็น โรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารก็ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนข้อความใต้ “พระเกี้ยว” ตามชื่อ ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ ตราพระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายประจำมหาวิทยาลัย ตราบจนถึงปัจจุบัน 
จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย
สำหรับ “พระเกี้ยว” องค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตึกจักรพงษ์ เป็น “พระเกี้ยว” ซึ่งมหาวิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เพื่อสร้างจำลองจาก “พระเกี้ยว” จริง ที่ประดิษฐานอยู่ในพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้าง “พระเกี้ยว” จำลอง เมื่อ พ.ศ.2529 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้ทรงเจิมและทรงพระสุหร่ายที่องค์พระเกี้ยว แล้วพระราชทานแก่มหาวิทยาลัยต่อหน้าประชาคมจุฬาฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรประจำปีการศึกษา 2531 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2532

สำหรับ สถานศึกษาที่ใช้ “พระเกี้ยว” เป็นสัญลักษณ์ มีหลายระดับการศึกษา ทั้งในระดับสถาบันอุดมศึกษา และในระดับโรงเรียนมัธยม

สถาบันอุดมศึกษา ที่ใช้ “พระเกี้ยว” หรือ “จุลมงกุฎ” เป็นสัญลักษณ์ มีดังนี้

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ใช้สัญลักษณ์จุลมงกุฎ เหนือตัวอักษร “จภ” หมายถึง พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
  • มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ใช้สัญลักษณ์จุลมงกุฎ เหนือตัวอักษร “กว” หมายถึง พระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย

โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่ใช้ “พระเกี้ยว” หรือ “จุลมงกุฎ” เป็นสัญลักษณ์ มีดังนี้

  • โรงเรียนหอวัง และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และโรงเรียนในเครือ (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาค) และ (โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์ ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสาขาของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา)
  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
  • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
  • โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
  • โรงเรียนเบญจมราชาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนในเครือ (ยกเว้น โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย ที่ใช้ตราพระปรมาภิไธยย่อ สก)
  • โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ (เป็นโรงเรียนในเครือเบญจมราชาลัย เมื่อก่อนชื่อ โรงเรียนเบญจมราชาลัย 2 แต่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระเกี้ยว เป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียนของตนเอง เป็นการเฉพาะ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์ ) และโรงเรียนในเครือ (โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี)
  • โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี
  • โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี
  • โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี
  • โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
  • โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนในเครือ
  • โรงเรียนทวีธาภิเศก และโรงเรียนในเครือ (โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก)
  • โรงเรียนทวีธาภิเศก 2 
  • โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย (แต่ในปัจจุบันได้อัญเชิญตรานี้เป็นตราเข็มกรรมการนักเรียน)
  • โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
  • โรงเรียนราชวิทยาลัย หรือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบัน
  • โรงเรียนวัดบวรนิเวศ
  • โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ นครปฐม
  • โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โรงเรียนสาธิต ฝค.ตอ., วศ.ปทุมวัน, มศว ปทุมวัน (ตราพระเกี้ยวธรรมจักร พ.ศ. 2497-2517)
  • โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์ฯ สร้างชื่อติดอันดับมหาวิทยาลัย 1 ของไทย Top 200 ของเอเชีย
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ :

logoline