svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดข้อสังเกต ปมอนุญาตขุดกากแคดเมียมจากหลุมฝังกลบถาวร ทำได้อย่างไร

05 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ดร.สนธิ" ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โพสต์ตั้งคำถาม ปมขุดกากอุตสาหกรรมอันตราย ตะกรันกากสังกะสี-แคดเมียมจากหลุมฝังกลบถาวร ทำได้อย่างไร พร้อมแนะสิ่งควรพิจารณากรณีการอนุญาตให้เปิดหลุมขนกากแร่อันตรายออกไป

5 เมษายน 2567 จากกรณีนายผล ดำธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบโรงงาน ในพื้นที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร ซุก "กากแคดเมียม" 1.5 หมื่นตัน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง โดยพบข้อมูลว่าได้ขนย้ายมาจากบ่อฝังกลบ จ.ตาก จึงอายัดแคดเมียมทั้งหมดไว้ และสั่งส่งย้อนกลับโรงงานต้นทาง ตามที่มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น
เปิดข้อสังเกต ปมอนุญาตขุดกากแคดเมียมจากหลุมฝังกลบถาวร ทำได้อย่างไร

เปิดข้อสังเกต ปมอนุญาตขุดกากแคดเมียมจากหลุมฝังกลบถาวร ทำได้อย่างไร
ต่อมา ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ระบุว่า ขุดกากอุตสาหกรรมอันตราย ตะกรันกากสังกะสี-แคดเมียมจากหลุมฝังกลบถาวรไปรีไซเคิลหรือขายต่อ..ทำได้อย่างไร?

1.มีการขนกากอุตสาหกรรมหรือตะกรันที่เกิดจากการหลอมแร่สังกะสี ซึ่งในกากตะกรันดังกล่าวมีแคดเมี่ยมปนเปื้อนถึง 38% จากบ่อฝังกลบกากอุตสาหกรรมแบบปลอ ดภัย (secured Landfll) ซึ่งปิดหลุมแบบถาวรไปแล้ว โดยหลุมนี้ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของโรงงานถลุงแร่สังกะสีบริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด จ.ตากและได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเบาด์ แอนด์ บียอนต์ จำกัด เมื่อปี 2564 โดยนำใส่ในถุง big bag รวมแล้วประมาณ 15,000 ตัน ขนส่งไปเก็บในอาคารของโรงงานของบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ตั้งอยู่ที่ ถนนเอกชัย ตำบลบางน้ำจืด อำ เภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงานลำดับที่ 106 ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการหลอมแท่งโลหะอลูมิเนียมเพื่อเตรียมหลอมหรือขายต่อ

2.ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครได้ประกาศเขตอันตราย ห้ามบุคคลหรือสิ่งอื่นใด เข้าไปภายตัวอาคารรวมถึงห้ามมีการหล่อหลอมตะกรันดังกล่าวโดยเด็ดขาด และให้อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครส่งกากคืนกลับไปฝังกลบที่โรงงานจังหวัดตากตามเดิม

3.ประเด็นที่สำคัญคือตะกรันกากสังกะสีแคดเมี่ยมถูกฝังกลบแบบถาวรไปแล้วแต่หน่วยราชการ จ.ตาก ไปอนุญาตให้ขุดขึ้นมาได้อย่างไร? ทั้งที่รายงานอีไอเอของโรงงานถลุงสังกะสีผาแดงได้ระบุว่าเป็นกากอุตสาหกรรมอันตรายให้ฝังกลบแบบถาวรตลอดไป ซึ่งตามกฏหมายมาตรการในรายงานอีไอเอดังกล่าวถือเป็นเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตที่ต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด

และ จ.ตาก ยังอนุญาตให้ขนส่งไปรีไซเคิลยังโรงงานที่ จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นโรงงานได้รับอนุญาตให้กักเก็บและบดย่อยกากอุตสาหกรรมและหล่อหลอมอะลูมิเนียมเท่านั้น ได้อย่างไร?

4.หากมีกากตะกรันสังกะสีแคดเมี่ยมบางส่วนดังกล่าวได้ถูกหลอมในเตาหลอมของโรงงานนี้ (โรงงานที่ จ.สมุทรสาคร) ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ควบคุมก๊าซพิษจะทำให้ไอระเหยของแคดเมียมระบายออกไปสู่บรรยากาศและก่อให้เกิดเป็นพิษอย่างร้ายแรงที่มีผล กระทบอย่างมากต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนใกล้เคียง

5.สารแคดเมียมเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการหายใจและการกินจะทำให้มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอด และโรคไตเรื้อรังจนไตวายและแคดเมี่ยมจะไปสะสมที่กระดูก เป็นโรคปวดข้อ โรคกระดูกผุ จะเจ็บปวดมากจนร้องโอ๊ยโอ๊ยหรืออิไตอิไต(ภาษาญี่ปุ่น) จึงเรียกว่าโรคอิไต อิไต
เปิดข้อสังเกต ปมอนุญาตขุดกากแคดเมียมจากหลุมฝังกลบถาวร ทำได้อย่างไร
ล่าสุด ดร.สนธิ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat อีกครั้ง โดยระบุว่า สิ่งควรพิจารณากรณีการอนุญาตให้เปิดหลุมขนกากแร่อันตรายออกไป

1.พื้นที่ที่อันตรายมากช่วงนี้คือพื้นที่ของโรงงานถลุงสังกะสีบริษัทผาแดง อินดัสทรีจำกัด(ชื่อเดิม)เนื่องจากมีการเจาะและเปิดบ่อฝังกลบกากตะกรันสังกะสีและแคดเมี่ยมซึ่งเก็บไว้มากกว่า 330,000 ตัน เพื่อขนไปไว้ที่โรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร การเปิดหลุมฝังกลบกากอันตรายจะทำให้เกิดฝุ่นละอองของสังกะสีและแคดเมี่ยมฟุ้งกระจายในอากาศ ช่วงที่ผ่านมามีฝนตกลงมาและไหลลงแหล่งน้ำผิวดินโดยรอบ ดังนั้น คาดว่าจะมีการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม เข้าสู่ระบบห่วงโซ่อาหาร สู่สัตว์น้ำและร่างกายของประชาชนบ้างแล้ว หน่วยงานควรรีบไปตรวจสอบกำกับดูแลที่จังหวัดตากโดยด่วน อันตรายมากกว่าที่สมุทรสาคร

2.ระบบการอนุญาตนำกากอันตรายออกจากหลุมและขนไปโรงงาน จ.สมุทรสาคร ซึ่งอนุญาตให้ดำเนินการได้เฉพาะหลอมและรีไซเคิลแร่อลูมิเนี่ยมเท่านั้น แสดงว่ามีปัญหาในระบบการอนุญาตการกำกับหรือระบบ E- manifest ควรสอบสวน ด่วน!

3.หน่วยงานต้องเร่ง x-ray และตรวจสอบโรงงานรับกำจัดกากประเภท 101 (ฝังกลบกากอันตรายอย่างปลอดภัยหรือเผา,ประ เภท105 (คัดแยกและฝังกลบกากไม่อัน ตรายและประ เภท106 (รีไซเคิลขยะอัน ตรายและไม่อันตราย)ทุกแห่งอย่างรอบคอบและอย่างละเอียด เพราะเกิดปัญหาบ่อยครั้งและเป็นอันตรายอย่างมาก รวมทั้งเป็นแหล่งหาผลประโยชน์จากทุนต่างชาติด้วย

4.พรบ.โรงงานฉบับปี 2562 กำหนดให้ไม่ต้องต่ออายุใบอนุญาตโรงงาน ใบอนุญาตใช้ได้ตลอดไปอ้างว่าเพื่ออำนวยความสะดวกอาจทำให้การตรวจสอบโรงงานลดความเข้มงวดลง บางครั้งปล่อยปะละเลยจนเกิดปัญหามลพิษและกากอุตสาหกรรมปนเปื้อนหลายแห่ง

5.ควรออกกฎหมาย PRTR (Pollution Relese and Transfer Register)หรือทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษและสารพิษโดยต้องเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนทราบว่า ในแหล่งกำเนิดแต่ละแหล่งมีมสารพิษหรือสารเคมีประเภทใด ปริมาณเท่าใด ซึ่งในประเทศพัฒนาแล้วจะต้องมีกฏหมายฉบับนี้สำหรับคุ้มครองสุข ภาพอนามัยของประชาชน


ขอบคุณข้อมูลจาก : Sonthi Kotchawat

logoline