svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

16 มีนาคม "วันแพนด้าแห่งชาติ" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น

16 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

16 มีนาคม ถือเป็น "วันแพนด้าแห่งชาติ" (National Panda Day) Nation STORY ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น กับเรื่องจริงบางอย่างของสัตว์สีขาวดำที่คุณ(อาจ)ไม่เคยรู้ มาเล่าให้อ่านกัน

เริ่มกันที่วัตถุประสงค์ของ "วันแพนด้าแห่งชาติ" หรือ National Panda Day มีขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ และปกป้องพวกเขาจากการสูญพันธุ์ 

  • แพนด้ายักษ์ (อังกฤษ : Giant panda) 
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ailuropoda melanoleuca
  • นิยมเรียก : แพนด้า

แพนด้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ขนฟู สีขาวดำ ถิ่นอาศัยอยู่ประเทศจีน แม้ปัจจุบันจะถูกจัดอยู่ในวงศ์ "หมี" (Ursidae) แต่กลับมีพฤติกรรมที่แทบจะไม่เหลือความเป็นหมีอยู่เลย พวกเขาเป็นสัตว์ที่กินพืชเฉพาะ "ไผ่" เพียงอย่างเดียว อาจมีแมลง หรือไข่ของสัตว์บางชนิดที่เป็นโปรตีนบ้าง ตามความจำเป็นของร่างกาย ส่วนมากแพนด้าใช้เวลาไปกับการกินไผ่ถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับไผ่ 18 กิโลกรัม หรืออาจจะมากถึง 30 กิโลกรัมเลย ตามแต่ขนาดและน้ำหนักตัวของเขา นอกจากนี้ ยังขับถ่ายถึงวันละ 40 ครั้ง 

16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น
นิสัยของแพนด้าอีกอย่าง ที่แตกต่างจากหมีชนิดอื่นๆ คือ เขา "ไม่จำศีล" เพราะไผ่ที่กินไปไม่มีไขมันเพียงพอต่อร่างกาย ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้แพนด้ามีอาการติดสัดเพียง 1-2 วันเท่านั้น ในรอบ 1 ปี และตกลูกได้แค่ครั้งละ 1 ตัว แต่บางครั้งก็มีโอกาสตก "ลูกแฝด" 

อย่างไรก็ดี หลายสิบปีที่ผ่านมา ยังมีการถกเถียงเรื่องการจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของ "แพนด้ายักษ์" และ "แพนด้าแดง" ซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและแรคคูน ว่า ทั้งสองจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือไม่ แต่จากการทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่า แพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งในชนิดของหมี (วงศ์ Ursidae) หมีที่ชนิดใกล้เคียงที่สุดของแพนด้า คือ "หมีแว่น" ที่พบในทวีปอเมริกาใต้ 

รู้หรือไม่ ประเทศไทยเคยมี "แพนด้า" อยู่ในความดูแล แถมยังขยายพันธุ์ได้ด้วย

16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น
ก่อนหน้านี้ ประเทศไทย เคยได้รับ "หมีแพนด้า" จากประเทศจีนมาดูแล ในฐานะ "ทูตสันถวไมตรีไทย" คือ หมีแพนด้าเพศผู้ชื่อ "ช่วงช่วง" และ หมีแพนด้าเพศเมียชื่อ "หลินฮุ่ย" 

ซึ่ง "หมีแพนด้า" หรือ "แพนด้ายักษ์" นับเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการทูตของจีน เพราะเป็นสัตว์ที่หายากที่สุดในโลก มีจำนวนน้อย มีบันทึกตั้งแต่สมัยจักรพรรดินีบูเช็กเทียนว่า มีการส่งหมีแพนด้าคู่หนึ่งไปญี่ปุ่น และตั้งแต่ปลายยุค 50 เป็นต้นมา ทางการจีนส่งแพนด้ายักษ์ ไปยังสวนสัตว์หลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น รัสเซีย ฝรั่งเศส ฯลฯ เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างจีนและชาตินั้น ๆ จนทำให้การปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่า "ทูตสันถวไมตรี"
16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น
แต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา ทางการจีนได้ยกเลิกการให้หมีแพนด้าเป็นทูตสันถวไมตรี แต่เปลี่ยนมาใช้วิธีการให้ยืมเป็นเวลา 10 ปี พร้อมกับการจ่ายธรรมเนียมพื้นฐานปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีข้อกำหนดว่า ลูกของแพนด้ายักษ์ใดๆ ที่เกิดระหว่างการยืมนั้น ถือเป็นทรัพย์สินของสาธารณรัฐประชาชนจีน

กระแสแพนด้าฟีเวอร์ในไทย

16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น
การมาของ "ช่วงช่วง" และ "หลินฮุ่ย" ได้สร้างปรากฏการณ์ "แพนด้าฟีเวอร์" ในไทย ถึงขึ้นมีการเปิดช่องถ่ายทอดสดชีวิต "แพนด้า" ให้ชมตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนกระแสมาแรงขนาดไหนนั้น จากสถิติเข้าชมส่วนจัดแสดงแพนด้า (ถึงเดือนสิงหาคม 2565) มีผู้เข้าแล้วกว่า 7 ล้านคน

"หลินปิง" ลูกแพนด้าตัวแรกที่เกิดในประเทศไทย 

ตั้งแต่ "ช่วงช่วง-หลินฮุ่ย" มาอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ประเทศไทยสามารถสร้างรายได้ และกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ไม่น้อย แต่พอวันเวลาผ่านไป กระแสของแพนด้าในประเทศไทย ก็ซาลงไปบ้าง จนในปี 2552 เรื่องราวของ "หมีแพนด้า" กลับเป็นกระแสข่าวอีกครั้ง เมื่อมีข่าวดีว่า "หลินฮุ่ย" ตั้งท้องด้วยวิธีผสมเทียมของนักวิจัยไทย โดยใช้น้ำเชื้อของ "ช่วงช่วง" 
16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น
และต่อมา วันที่ 27 พ.ค. 2552 "หลินฮุ่ย" ได้ให้กำเนิดแพนด้าเพศเมีย 1 ตัว ใน มีการประกวดตั้งชื่อลูกแพนด้าตัวนี้ว่า "หลินปิง" การเกิดของ "หลินปิง" ครั้งนี้ นอกจากจะเป็นแพนด้ายักษ์ตัวประวัติศาสตร์ที่เกิดในประเทศไทยแล้ว ยังเป็นแพนด้ายักษ์ตัวแรกของโลก ที่เกิดในประเทศเขตศูนย์สูตร ในเดือนนอกฤดูผสมพันธุ์ของแพนด้าอีกด้วย 
16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากข้อกำหนดจากทางการจีน ทำให้ที่สุดแล้ว สาวน้อยหลินปิง ก็อยู่ในเมืองไทยเพียงประมาณ 4 ปี ก่อนถูกส่งกลับคืนยังเมืองจีน ไปยังศูนย์วิจัยและอนุรักษ์หมีแพนด้า เมืองเฉิงตู เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2556 ซึ่งปัจจุบัน หลินปิงยังมีชีวิตอยู่และกลายเป็นคุณแม่แพนด้าไปแล้ว 

"ช่วงช่วง-หลินฮุ่ย" กลับสู่ดาวหมี 
16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น
ข่าวร้ายคนรักหมีแพนด้านี้ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2562 มีการตรวจสอบจากกล้องวงจรปิด พบว่า "ช่วงช่วง" ได้มานั่งกินไม้ไผ่อยู่ จากนั้นลุกเดินไปเดินมา และเริ่มเดินเซจนล้มลง ก่อนที่จะจากไป โดยผลการชันสูตรและวินิจฉัยโรคของคณะผู้เชี่ยวชาญไทย-จีน พบสาเหตุมาจาก "ภาวะหัวใจล้มเหลว" ส่งผลให้อวัยวะภายในทั่วร่างกายขาดออกซิเจน และตายลงในอายุ 19 ปี หลังจากนั้น ในวันที่ 18 เม.ย. 2566 "หลินฮุ่ย" เริ่มมีอาการป่วย และเสียชีวิตลงในวัย 21 ปี (จากไปตามอายุขัย) 

เปิด 13 เรื่องจริง "แพนด้า" ที่(อาจ)ทำให้คุณรู้จักเจ้าสัตว์ขนฟูนี้มากขึ้น

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ scholarship ได้ให้สาระน่ารู้เกี่ยวกับแพนด้าไว้ โดยระบุ 13 เรื่องจริงของแพนด้า ดังนี้ 

1.แพนด้าเป็นสัตว์ที่สามารถเติบโตจากตัวเล็กไปเป็นตัวใหญ่โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี

  • แพนด้าแรกเกิดจะมีสีชมพู ดวงตายังมองไม่เห็น มีน้ำหนักเพียง 3-5 ออนซ์ ใช้เวลาในการเจริญเติบโตเพียงไม่กี่ปี ก็มีความยาวถึง 6 ฟุต และน้ำหนัก 350 ปอนด์

2.แพนด้ากินใบไผ่เป็นจำนวนมาก

  • นักโภชนาการของแพนด้าให้หมีแพนด้ากินใบไผ่ปริมาณ 85 ปอนด์ต่อวัน เพื่อรักษาระดับพลังงาน มากไปกว่านั้นแพนด้าที่โตเต็มที่แล้วสามารถผลิตมูลออกมาได้ 60 ปอนด์ ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นการเผาผลาญที่ดีมาก

3.แพนด้ามีนิ้วมือ 6 นิ้ว

  • แพนด้ามีนิ้วมือ 6 นิ้ว เพื่อการแยกใบไม้ออกจากลำต้น เพื่อให้ง่ายต่อการกินมากยิ่งขึ้น

4.แพนด้ามีพื้นเพมาจากจีน

  • คุณสามารถพบ "แพนด้า" ได้ในภาคกลางของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเสฉวน ฉ่านซี และกานซู

5.แพนด้าอาจเป็นอันตรายได้

  • ในความน่ารักของแพนด้า แท้จริงแล้ว พวกเขามีฟันที่แข็งแรง เพราะต้องใช้ฟันเพื่อกัดฉีกต้นไผ่นั่นเอง

6.แพนด้าไม่จำศีล

  • แพนด้าไม่จำศีลเหมือนหมีตัวอื่นๆ (ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนต้น) แต่พวกเขามุ่งหน้าลงภูเขาเพื่อหาอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น

7.แพนด้าชื่นชอบการงีบหลับ

  • หมีแพนด้าป่ามักจะงีบหลับหลังจากการรับประทานอาหารเป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง 
  • ในฤดูร้อน พวกเขาสามารถหลับได้ 6 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น 
  • แพนด้า ไม่สนใจเกี่ยวกับตำแหน่งการนอนของเขา เรียกได้ว่าสามารถนอนหลับได้ทุกที่

8.แพนด้าสามารถใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่าเมื่ออยู่ตามลำพัง

  • แพนด้าที่โตแล้วจะไม่ชอบการสุงสิงกับแพนด้าตัวอื่นๆ เพราะเขาเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างรักความสงบ บางครั้งพวกเขาก็สามารถสื่อสารกันผ่านรอยกลิ่น การเห่า การคำราม ฯลฯ

9.แพนด้ามีบทบาทสำคัญในถิ่นที่อยู่ของพวกมัน

  • แพนด้ารักไม้ไผ่ทั้งหมดที่มีอยู่ในป่าของพวกเขา นอกจากนี้ บรรดาแพนด้ามีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศของป่า ด้วยการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชด้วย

10.ในที่สุดเราก็ได้รู้ ทำไมแพนด้าถึงมีสีดำและสีขาว

  • การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Behavioral Ecology เปิดเผยว่า ทฤษฎีการพรางตัวของแพนด้าเป็นความจริง เพราะขนสัตว์สีขาวช่วยให้สัตว์ซ่อนตัวอยู่ในที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยหิมะ และในขณะที่ขนสีดำใช้สำหรับการปลอมตัวและการสื่อสาร (ขนสีดำรอบดวงตา ช่วยให้แพนด้าสามารถแยกแยะกันเองได้)

11.แพนด้าบางตัวไม่รู้วิธีการผสมพันธุ์

  • เหตุผลที่ทำให้แพนด้ายักษ์ใกล้สูญพันธุ์คือ แพนด้าเพศหญิงสามารถจับคู่ได้เพียง 2 หรือ 3 วันต่อปี และแพนด้าเพศชายไม่รู้วิธีการผสมพันธุ์

12.อเมริกาจ่ายเงินก้อนใหญ่ให้กับจีนเพื่อเช่าแพนด้า

  • อเมริกาจ่ายเงินก้อนใหญ่ให้กับจีนเพื่อเช่าแพนด้า เพื่อให้พวกมันได้มาอยู่ในสวนสัตว์ในเมืองต่างๆ ได้แก่ แอตแลนตา วอชิงตันดีซี ซานดิเอโก 

13.หมีแพนด้ายังเสี่ยงมีแนวโน้มเสี่ยงสูญพันธุ์

  • ในขณะนี้แพนด้าเหลืออยู่เพียง 1,800 ตัว เท่านั้น ปัจจัยหลักที่ทำให้เหล่าแพนด้าเสี่ยงมีแนวโน้มสูญพันธุ์คือ การรุกล้ำ และการสูญเสียที่อยู่อาศัยเนื่องจากการก่อสร้างถนน และทางรถไฟ

เกร็ดน่ารู้ แพนด้า เคยเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

เพจเฟซบุ๊ก Environman เคยรายงานไว้ว่า ก่อนหน้านี้ "แพนด้า" เคยถูกจัดอยู่ในสถานะสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) เนื่องจากต้องเผชิญภัยคุกคามจากการสูญเสียแหล่งอาศัย และการผสมพันธุ์ที่ต่ำ

อย่างไรก็ตาม จากความพยายามในการอนุรักษ์มานานหลายสิบปี ไม่นานมานี้ ทางการจีนได้ประกาศว่า แพนด้าในธรรมชาติหลุดพ้นจากการใกล้สูญพันธุ์แล้วโดยมีประชากรในธรรมชาติเพิ่มขึ้น ปัจจุบันคาดว่ามีจำนวนกว่า 1,800 ตัวในธรรมชาติ แต่ยังเสี่ยงมีแนวโน้มเสี่ยงสูญพันธุ์ (Vulnerable) (ข้อมูล ณ ปี 2022)
16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น

เป็นไงกันบ้าง สำหรับข้อมูลของหมีแพนด้า ที่ Nation STORY หยิบมาเล่าในครั้งนี้ หวังว่าคุณจะได้รู้จักเจ้าสัตว์ขนฟูสุดน่ารักนี้มากขึ้นนะ 

16 มีนาคม \"วันแพนด้าแห่งชาติ\" ชวนรู้จักเจ้าขนฟูสุดน่ารักนี้ให้มากขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/14253
เพจเฟซบุ๊ก Environman
https://www.scholarship.in.th/13-facts-about-pandas/
https://www.rd.com/list/facts-about-pandas/
https://www.thaipbs.or.th/news/content/326791
https://dusit.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=149&c_id=
https://www.bbc.com/thai/thailand-49724201
สวนสัตว์เชียงใหม่ , thaipbs , mgronline

logoline