svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รู้จัก "เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร" จุดหมายแรก "ทักษิณ" ปิ๊กเจียงใหม่

13 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รู้จัก "เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร" โบราณสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง จุดหมายแรกทริป "ทักษิณ" ปิ๊กบ้านเจียงใหม่ ที่นี่สำคัญและความเป็นอย่างไร

เป็นที่จับตาของคอการเมือง กรณีความเคลื่อนไหวของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นักโทษเด็ดขาด ที่อยู่ระหว่างคุมประพฤติ ที่บ้านจันทร์ส่องหล้า ภายในซอยจรัญสนิทวงศ์ 69 ภายหลังได้รับการพักโทษ และมีรายงานว่า นายทักษิณ จะปรากฏตัวในพื้นที่สาธารณะเป็นครั้งแรก นับจากได้รับการพักโทษ ด้วยการเดินทางกลับไปเยือนบ้านเกิดที่ จ.เชียงใหม่ ระหว่าง วันที่ 14-16 มี.ค.นี้ โดยมีแผนที่จะเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ 

การออนทัวร์ปิ๊กบ้านเกิดในรอบ 17 ปี ของนายทักษิณหนนี้ จึงทำให้หลายคนต่างวิเคราะห์กันไปต่าง ๆ นานา และเมื่อดูถึงตารางทัวร์ของนายทักษิณ ถือว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย

เพราะก้าวแรกที่ออกมาจากบ้านจันทร์ส่องหล้า สถานที่แรกที่จะไปคือ การไปสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ก่อนที่จะนั่งเครื่องบินส่วนตัว ตรงไปที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ตาม schedule  
ตารางการเดินทางของนายทักษิณ วันที่ 14 - 16 มี.ค. 67

ทั้งนี้หากจำกันได้ ก่อนที่ "นายทักษิณ" จะเดินกลับมายังประเทศไทยในวันที่ 22 ส.ค. 66 ก่อนหน้านั้นในวันที่ 20 ส.ค. 66 ทางครอบครัวของนายทักษิณ นำโดย น.ส.แพทองธาร ชิณวัตร น.ส.พินทองธา ชินวัตร คุณากรวงศ์ ได้พาครอบครัวและเพื่อน ๆ เข้าสักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อขอพรให้นายทักษิณ เดินทางกลับประเทศไทยอย่างปลอดภัย 


Nation STORY จะพาไปย้อนความเป็นมาของ "ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร" โบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองของไทยว่า มีความสำคัญอย่างไร แล้วเหตุใดผู้คนการเมือง จึงนิยมมาไหว้สักการะสถานที่แห่งนี้.... 
 

สำหรับ ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของเมืองหลวงแล้ว ยังเป็นสถานที่คู่บ้านคู่เมือง ที่สร้างมาพร้อมกับกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ไม่เพียงประชาชนทั่วไปเท่านั้น ที่นิยมมากราบไหว้ขอพร บรรดานักการเมืองน้อยใหญ่ ต่างก็นิยมมากราบไหว้ขอพร ที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครด้วยเช่นกัน  

อัมรินทร์ สุขสมัย ผู้ศึกษาด้านโหราศาสตร์และไสยเวท ให้ข้อมูลผ่านทางไทยรัฐออนไลน์ ว่า การที่ ประชาชนหรือนักการเมือง นิยมมากราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ เพราะเชื่อว่า เทวดาอารักษ์จะช่วยดลบันดาลให้ประสบความสำเร็จ  หากมาขอพรกับอารักษ์เมือง ผู้ปกปักรักษา และยังมีนัยถึงการลงหลักปักฐาน มีชีวิตมั่นคง จนมีคำอธิษฐานว่า ขอให้ชีวิตมั่นคง มีความหนักแน่นเหมือนพระหลักเมือง ทำให้กลายเป็นธรรมเนียมที่บรรดานักการเมือง นิยมมากราบไหว้อย่างมาก ช่วงก่อนการเลือกตั้ง
รู้จัก \"เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร\" จุดหมายแรก \"ทักษิณ\" ปิ๊กเจียงใหม่  
 

การก่อสร้างศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ นั้น มีการบันทึกไว้ว่า ครั้นเมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีพิธียกเสาหลักเมือง ตามความเชื่อที่ปฎิบัติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยประเพณีการตั้งเสาหลักเมืองเป็นไปตามพิธีพราหมณ์ มีการบรรจุดวงเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับผู้อยู่อาศัยในการตั้งเมืองใหม่ ตามตำนานพระราชพิธีนครถาน 

การทำพิธียกหลักเมือง เกิดขึ้นในครั้งแรกสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น. โดยหลักเมืองได้มีการนำเอาไม้ไชยพฤษ์ มาทำเสาหลักเมือง และไม้แก่นจันทน์ประดับด้านนอก กำหนดความสูงเสาเมื่อพ้นดินแล้ว 108 นิ้ว ฝังลงไปใต้ดิน 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ภายในกลวงสำหรับบรรจุชะตาพระนคร ดวงนี้อยู่ใจกลางยันต์สุริยาทรงกลด จารึกในแผ่นทอง เงิน นาก
เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 4

ต่อเมาเมื่อผ่านไปหลายยุคสมัย เสาหลักเมืองชำรุดลงมาก ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นใหม่อีกเสา โดยบรรจุดวงพระชาตาใหม่ เนื่องจากพระองค์ทางชำนาญวิชาโหรศาสตร์ ทรงคิดที่จะแก้ดวงเมืองใหม่ และได้มีพิธีสมโภชฉลอง ในการบรรจุดวงพระชาตาในครั้งนั้น โดยโปรดฯใ ห้สร้างศาลาขึ้นใหม่ สร้างยอดปรางค์ตามแบบศาลาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ส่วนสาเหตุที่เสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ในปัจจุบันมีสองต้น เนื่องจากเสาเดิมที่ตั้งเมื่องครั้งรัชกาลที่ 1 คือต้นสูง ได้มีการทำพิธีถอนเสาแล้ว แต่หาที่เก็บที่เหมาะสมไม่ได้ จึงคงไว้ ส่วนเสาพระหลักเมือง ครั้งรัชกาลที่ 4 คือ ต้นทอนลงมา แกนในเป็นเสาไม้สัก มีไม้ชัยพฤกษ์ประดับนอก หัวเสาเป็นรูปยอดเม็ดทรงมัณฑ์ เป็นต้นที่สถิตประทับของพระหลักเมือง
เสาหลักเมืองที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 4

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2518 กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานศาลหลักเมือง มีการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2523 ได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี พ.ศ. 2525 กระทั่งได้รับการบูรณะอย่างสวยงามอย่างในปัจจุบัน ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง 5 คือเจ้าหอกลอง เจ้าเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี
รู้จัก \"เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร\" จุดหมายแรก \"ทักษิณ\" ปิ๊กเจียงใหม่

ขอบคุณข้อมูลและภาพ : 
เล่าเรื่องบางกอก เล่ม 1 (ส.พลายน้อย)
วิกีพีเดีย และสำนักงานกิจการศาลหลักเมือง 
https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2671331?gallery_id=1

logoline