svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

คิดอย่างไร? จ่อยกเลิก "เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม" ฝ่ายผู้ประกันตน

17 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คิดเห็นกันอย่างไร จ่อยกเลิกเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ฝ่ายผู้ประกันตน เตรียมแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคม ให้ตัวแทนมาจากระบบสรรหา เหลือฝ่ายผู้ประกันตนแค่ 1 คน หลังเลือกตั้งครั้งแรก "ประกันสังคมก้าวหน้า" ชนะถล่มทลาย "วิโรจน์" ฟาดถืออำนาจบาตรใหญ่ ยึดอำนาจจากเงิน

17 กุมภาพันธ์ 2567 รู้สึกอย่างไร หากยกเลิกเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ฝ่ายผู้ประกันตน โดย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X หรือ ทวิตเตอร์ Wiroj 77 ID : @wirojlak มีข้อความระบุว่า..

“คนที่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกันตน และเหมาะที่จะทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกันตน และมีหน้าที่ผูกพันยึดโยงกับผู้ประกันตน

ก็คือ คนที่ผู้ประกันตนเลือก

จะมาถืออำนาจบาตรใหญ่ ยึดอำนาจจากผู้ประกันตน ที่เป็นหนึ่งในเจ้าของเงินกองทุนประกันสังคมได้อย่างไร”

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร

ทั้งนี้ ทวิต ดังกล่าวได้รีทวิตข้อความพร้อมภาพจากผู้ใช้ "ประกันสังคมก้าวหน้า" ID : @welfarestateTH พร้อมแนบภาพประกอบ มีรายละเอียดระบุว่า 

"ด่วน! หลังจากที่ฝ่ายอำนาจเก่าพ่ายแพ้อย่างหนักในการ #เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม ที่ผ่านมาล่าสุด กระทรวงแรงงานได้เสนอ ร่างพ.ร.บ. ประกันสังคม ฉบับที่ให้บอร์ดใช้ระบบแต่งตั้งเหมือนเดิม ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาบรรจุลงในวาระ ครม แล้วหาก ครม เห็นชอบจะเข้าสู่กระบวนการสภา"

คิดอย่างไร? จ่อยกเลิก \"เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม\" ฝ่ายผู้ประกันตน
นอกจากนี้ ยังได้รีทวิตข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม ที่เตรียมแก้ไข ฉบับที่ 5 ระบุว่า สามารถโหลดอ่านตัว พรบ ประกันสังคม และ เอกสารประกอบ ฉบับเต็มได้ที่  >> คลิกที่นี่ 

เมื่อพิจารณาจากเนื้อหาจากลิงก์แล้วพบว่า เนื้อหาสำคัญดังกล่าวคือการแก้ไข มาตรา 8 ประเด็นที่มาของบอร์ดประกันสังคม จากการเลือกตั้ง เป็นไปเป็นการสรรหา และลดจำนวนตัวแทนฝ่ายผู้ประกันตนเหลือเพียง 1 คน
มาตรา 8 พ.ร.บ.ฉบับปัจจุบัน
เนื้อหาในร่าง ฉบับที่ 5

  ทำความเข้าใจ บอร์ดประกันสังคม   
การเลือกตั้ง "บอร์ดประกันสังคม" ครั้งแรกของไทย เกิดขึ้นเมื่อ 24 ธ.ค.2566 เพื่อเลือก "ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง" และ "ผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน" ฝ่ายละ 7 คน บอร์ดชุดนี้จะเข้ามาดูแลสมาชิกที่เป็นสถานประกอบการกว่า 510,000 แห่ง และผู้ประกันตนกว่า 24.5 ล้านคน

บทบาทสำคัญของบอร์ดประกันสังคม คือ การเสนอความคิดเห็น ทั้งนโยบายและมาตรการ ออกกฎระเบียบ ตั้งแต่การดูแลสวัสดิการกองทุน ไปจนถึงการวางระเบียบการรับเงิน จ่ายเงิน จัดหาผลประโยชน์ และเก็บรักษาเงินของกองทุน

ปัจจุบันตัวเลขเงินสะสมของกองทุน ณ เดือนกรกฎาคม 2566 มีเงินสะสมอยู่กว่า 2.37 ล้านล้านบาท รวมดอกผลการลงทุนเฉพาะเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม ที่ 31,940 ล้านบาท  ส่วนเงินสะสมกองทุนเงินทดแทน มีเงิน 76,470 ล้านบาท รวมดอกผลจากการลงทุน 1,247 ล้านบาท

ในอดีตการเลือกบอร์ดประกันสังคม ทำโดยทางอ้อมผ่านสหภาพแรงงาน ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำให้กองทุนไม่มีความโปร่งใส ไม่มีการเพิ่มเงินชดเชยสิทธิและสวัสดิการ โดยเฉพาะการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนมากเท่าที่ควร ทั้งเป็นกองทุนที่มีจำนวนเงินมาก สวนทางกับสิทธิสุขภาพช่องทางอื่น ทั้ง สปสช. และ ข้าราชการ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2564 กระทรวงแรงงานได้ออก ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน เป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 ตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ทำให้เกิดการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทยในวันที่ 24 ธ.ค.2566
คิดอย่างไร? จ่อยกเลิก \"เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม\" ฝ่ายผู้ประกันตน
  ทำความรู้จัก "ประกันสังคมก้าวหน้า"  
ผลการเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคน ฝ่ายผู้ประกันตน พบว่า กลุ่ม "ประกันสังคมก้าวหน้า" ชนะถล่มทลาย ได้รับคะแนนสูงสุด 7 อันดับ จากมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 156,870 คนประกอบด้วย

  • นายษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ได้รับ 71,917 คะแนน
  • นายธนพงษ์ เชื้อเมืองพาน ได้รับ 69,403 คะแนน
  • นายชลิต รัษฐปานะ ได้รับ 69,264 คะแนน
  • นายศิววงศ์ สุขทวี ได้รับ 69,256 คะแนน
  • น.ส.นลัทพร ไกรฤกษ์ ได้รับ 68,133 คะแนน
  • นางลักษมี สุวรรณภักดี ได้รับ 67,113 คะแนน
  • นายปรารถนา โพธิ์ดี ได้รับ 15,080 คะแนน

อย่างไรก็ตาม มีปัญหาของคะแนนผู้ลงสมัครหลายรายหายไปในสัดส่วน 1 ใน 10 จากคะแนนที่เคยนับได้ จนเป็นเหตุให้ ปรารถนา โพธิ์ดี ที่เคยเป็นอันดับที่ 7 มีสิทธิเข้าเป็นบอร์ดประกันสังคม แต่เมื่อผลอย่างเป็นทางการออกมา พบว่า คะแนนหายไปถึง 1,330 คะแนน ทำให้ปรารถนาตกไปเป็นลำดับที่ 9 และทำให้ จตุรงค์ ไพรสิงห์ ขึ้นมาเป็นลำดับที่ 7 แทน
 

โดยเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 67 กระทรวงแรงงาน ออกคำสั่งแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม โดยในคำสั่งระบุว่า ด้วยพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 กำหนดให้คณะกรรมการประกันสังคม ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และผู้แทนสำนักงบประมาณเป็นกรรมการกับกรรมการ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งจากผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 

ผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 7 คน ที่มาจากการเลือกตั้งตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด และให้เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เป็นกรรมการ และเลขานุการ โดยกรรมการผู้แทนฝ่ายนายจ้างและกรรมการผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนมีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 2 ปี
คิดอย่างไร? จ่อยกเลิก \"เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม\" ฝ่ายผู้ประกันตน
สำหรับ ทีมประกันสังคมก้าวหน้า ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด 6 อันดับแรก และมีนโยบายที่เคยหาเสียงเอาไว้ มุ่งเน้นการสร้างระบบประกันสังคมที่เท่าเทียม ขยายสิทธิประโยชน์ในแต่ละด้าน ตลอดจนมีการปรับสูตรคำนวณบำนาญใหม่เพื่อบำนาญที่เป็นธรรม โดยมีรายละเอียดนโยบาย ดังนี้

  • สินเชื่อที่อยู่อาศัย วงเงิน 5 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.99%
  • มุ่งหน้าสู่การเป็นองค์กรอิสระ ตรวจสอบได้ เน้นการมีส่วนร่วมของคนทุกระดับ โดยเฉพาะผู้ประกันตน
  • วางเงื่อนไขการลงทุน และบริษัทคู่สัญญา มีธรรมาภิบาล การลงทุนขนาดใหญ่ต้องตรวจสอบได้ ยึดโยงกับผู้ประกันสังคม คัดเลือกคู่สัญญาด้วย Decent Work
  • สูตรคำนวณบำนาญใหม่ เพื่อบำนาญที่เป็นธรรม
  • ประกันสังคมถ้วนหน้า พื้นฐานสำหรับแรงงานอิสระทั้งระบบ วางระบบระยะยาวใน 2 ปี
  • พัฒนาบัญชียาเดียวกัน ไม่น้อยกว่า ราชการและบัตรทอง ไม่ต้องสำรองจ่ายทุกกรณี
  • สิทธิทันตกรรม รักษารากฟันเทียม เชื่อมโยงกับ สปสช. เหมาจ่าย 17,500 บาท ตลอดการรักษา
  • ปรับเงื่อนไขการรับบำนาญ บำเหน็จ แรงงานข้ามชาติเข้ากับสภาพการทำงาน รวมทั้งปรับเงื่อนไขให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิเลือกตั้งและสมัคร เป็นบอร์ดประกันสังคม
  • ขยายสิทธิประโยชน์คนพิการ ไม่ตัดสิทธิการใช้ร่วมกับสวัสดิการอื่น รักษาพยาบาลได้ทุกที่
  • เพิ่มประกันการว่างงาน สูงสุด 9 เดือน
  • ชดเชยการลา เพื่อดูแลคนในครอบครัว วันละ 300 บาท
  • เพิ่มค่าคลอดบุตร เป็น 20,000 บาทต่อครั้ง ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สนับสนุนสิทธิลาคลอด 180 วัน
  • เพิ่มค่าสงเคราะห์เด็ก 0-6 ปี จาก 800 เป็น 1,000 บาทต่อเดือน
  • เพิ่มเงินดูแลเด็ก 7-12 ปี ปีละ 7,200 บาท

คิดอย่างไร? จ่อยกเลิก \"เลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม\" ฝ่ายผู้ประกันตน

logoline