svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ฝุ่นพิษ PM 2.5" วิกฤต กทม.แจ้งเตือน ระดับสีแดงเข้ม 17 พื้นที่ ติดอันดับ 10 มลพิษโลก

15 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาพอากาศปิด ส่งผล "ฝุ่นพิษ PM2.5" กรุงเทพฯเข้าระดับวิกฤต วันนี้ติดอันดับ 10 ของโลก ขณะ กทม. ประกาศเตือน 17 พื้นที่ คุณภาพอากาศสีแดงเข้ม พร้อมเดินหน้ามาตรการลดมลพิษ 11 ข้อ อย่างเข้มงวด

14 กุมภาพันธ์ 2567 ฝุ่นพิษ PM2.5 คุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครแย่มาก ระดับวิกฤต พุ่งระดับสีแดง โดย เว็บไซต์ IQAir เก็บข้อมูลและรายงานคุณภาพอากาศและจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทั่วโลก รายงานสถานการณ์เมื่อเวลา 06.30 น. พบว่า

  • กรุงเทพมหานคร อันดับ 10 ของโลก คุณภาพอากาศ 157 AQI
  • จังหวัดเขียงใหม่ อันดับ 22 ของโลก คุณภาพอากาศ 96 AQI

สำหรับ 10 อันดับพื้นที่เสี่ยง คุณภาพอากาศแย่สูงสุด ดังนี้

  • อำเภอเมืองนครปฐม, จังหวัดนครปฐม คุณภาพอากาศ 193 AQI
  • อำเภอเมืองสมุทรสงคราม, จังหวัดสมุทรสงคราม คุณภาพอากาศ 176 AQI
  • อำเภอเมืองนครราชสีมา, จังหวัดนครราชสีมา คุณภาพอากาศ 166 AQI
  • อำเภอเมืองสมุทรสาคร, จังหวัดสมุทรสาคร คุณภาพอากาศ 165 AQI
  • อำเภอเมืองพิษณุโลก, จังหวัดพิษณุโลก คุณภาพอากาศ 164 AQI
  • อำเภอเมืองราชบุรี, จังหวัดราชบุรี คุณภาพอากาศ 161 AQI
  • อำเภอหัวหิน, จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คุณภาพอากาศ 160 AQI
  • อำเภอเมืองสุโขทัย, จังหวัดสุโขทัย คุณภาพอากาศ 159 AQI
  • อำเภอเมืองเพชรบูรณ์, จังหวัดเพชรบูรณ์ คุณภาพอากาศ 158 AQI
  • กรุงเทพมหานคร, กรุงเทพฯ คุณภาพอากาศ 157 AQI

เช้าวันนี้ กทม. มลพิษ PM2.5 รั้งอันดับ 10 ของโลก

กทม. ฝุ่นพิษ PM2.5 สีแดงเข้ม 17 พื้นที่
กทม. แจ้งว่า เนื่องจากสภาพอากาศปิดต่อเนื่อง ทำให้ PM2.5 ในพื้นที่จำนวน 17 เขต คือ คลองเตย คลองสาน คลองสามวา ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ธนบุรี บางกอกน้อย บางเขน บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ยานนาวา หนองจอก ดินแดง มีระดับที่มากกว่า 75 มคก./ลบ.ม. ประชาชนควรงดกิจกรรมกลางแจ้งหรือสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นตลอดเวลาหากต้องทำกิจกรรมนอกบ้าน หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ ผู้มีโรคประจำตัว เตรียมยาประจำตัวให้พร้อม

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 53.3-87.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) 
PM2.5 อันตรายต่อทุกคน

พื้นที่ กทม. คุณภาพอากาศเกินมาตรฐาน จำนวน 65 พื้นที่

  • เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีแดง 🔴 มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 75.1 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 13 พื้นที่
  • เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม 🟠 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 52 พื้นที่ 

🔴อยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 75.1 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 13 พื้นที่ คือ

  1. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 87.5 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 80.2 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 79.7 มคก./ลบ.ม.
  4. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 79.2 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 79.0 มคก./ลบ.ม.
  6. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 78.6 มคก./ลบ.ม.
  7. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 77.0 มคก./ลบ.ม.
  8. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 77.0 มคก./ลบ.ม.
  9. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 76.0 มคก./ลบ.ม.
  10. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 76.0 มคก./ลบ.ม.
  11. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 75.4 มคก./ลบ.ม.
  12. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 75.3 มคก./ลบ.ม.
  13. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 75.3 มคก./ลบ.ม.

\"ฝุ่นพิษ PM 2.5\" วิกฤต กทม.แจ้งเตือน ระดับสีแดงเข้ม 17 พื้นที่ ติดอันดับ 10 มลพิษโลก
🟠อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 52 พื้นที่ คือ
14.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 74.8 มคก./ลบ.ม.
15.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 74.4 มคก./ลบ.ม.
16.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 73.1 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 72.8 มคก./ลบ.ม.
18.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 72.1 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 71.5 มคก./ลบ.ม.
20.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 71.1 มคก./ลบ.ม.
21.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 70.9 มคก./ลบ.ม.
22.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 70.9 มคก./ลบ.ม.
23.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 70.8 มคก./ลบ.ม.
24.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 70.5 มคก./ลบ.ม.
25.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 69.7 มคก./ลบ.ม.
26.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 69.3 มคก./ลบ.ม.
27.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 69.1 มคก./ลบ.ม.
28.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 68.8 มคก./ลบ.ม.
29.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 68.7 มคก./ลบ.ม.
30.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 68.6 มคก./ลบ.ม.
31.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 68.4 มคก./ลบ.ม.
32.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 67.9 มคก./ลบ.ม.
33.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 67.8 มคก./ลบ.ม.
34.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 67.7 มคก./ลบ.ม.
35.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 66.9 มคก./ลบ.ม.
36.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 66.8 มคก./ลบ.ม.
37.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 66.4 มคก./ลบ.ม.
38.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 66.4 มคก./ลบ.ม.
39.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 66.1 มคก./ลบ.ม.
40.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 65.3 มคก./ลบ.ม.
\"ฝุ่นพิษ PM 2.5\" วิกฤต กทม.แจ้งเตือน ระดับสีแดงเข้ม 17 พื้นที่ ติดอันดับ 10 มลพิษโลก
41.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 64.9 มคก./ลบ.ม.
42.เขตบางกะปิ ข้าง ป้อมตำรวจตรงข้ามสำนักงาน เขตบางกะปิ : มีค่าเท่ากับ 64.6 มคก./ลบ.ม.
43.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 64.5 มคก./ลบ.ม.
44.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 64.4 มคก./ลบ.ม.
45.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 64.2 มคก./ลบ.ม.
46.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 63.9 มคก./ลบ.ม.
47.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 63.8 มคก./ลบ.ม.
48.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 63.6 มคก./ลบ.ม.
49.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 63.1 มคก./ลบ.ม.
50.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 62.9 มคก./ลบ.ม.
51.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 62.8 มคก./ลบ.ม.
52.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 62.3 มคก./ลบ.ม.
53.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 62.0 มคก./ลบ.ม.
54.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 60.8 มคก./ลบ.ม.
55.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 60.0 มคก./ลบ.ม.
56.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 59.9 มคก./ลบ.ม.
57.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 59.4 มคก./ลบ.ม.
58.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 58.5 มคก./ลบ.ม.
59.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 58.4 มคก./ลบ.ม.
60.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 58.3 มคก./ลบ.ม.
61.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 57.3 มคก./ลบ.ม.
62.สวนจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 56.7 มคก./ลบ.ม.
63.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 55.7 มคก./ลบ.ม.
64.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 55.3 มคก./ลบ.ม.
65.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 53.3 มคก./ลบ.ม.
\"ฝุ่นพิษ PM 2.5\" วิกฤต กทม.แจ้งเตือน ระดับสีแดงเข้ม 17 พื้นที่ ติดอันดับ 10 มลพิษโลก
ข้อแนะนำสุขภาพ 
🔴 คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพ

  • ประชาชนทุกคน : งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

🟠 คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

  • ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารจำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมากควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
  • ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในวันที่ 15 ก.พ. 67 การระบายอากาศอ่อน ประกอบกับอากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 16-23 ก.พ. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี อากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะค่อนข้างเปิดสลับปิด ส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง และคาดการณ์วันนี้มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 6 จุด ดังนี้

  • จุดที่ 1-3 เวลา 13.07 น. แขวงสามวาตะวันออก เขตคลองสามวา
  • จุดที่ 4 เวลา 13.35 น. แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก (เพลิงไหม้สงบแล้ว)
  • จุดที่ 5-6 เวลา 13.35 น. แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง 

สำหรับ จุดที่ 1-3,5-6 อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
\"ฝุ่นพิษ PM 2.5\" วิกฤต กทม.แจ้งเตือน ระดับสีแดงเข้ม 17 พื้นที่ ติดอันดับ 10 มลพิษโลก
สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน และขอเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน โดยช่วยกันปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ “5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทําได้” 

  • 1. หมั่นทําความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น
  • 2. งดเผาขยะ งดจุดธูป
  • 3. ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง
  • 4. เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ
  • 5. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดํา เกินมาตรฐาน

มาตรการลดฝุ่น PM 2.5 
กทม. เพิ่มความเข้มงวดและดำเนินมาตรการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้

  • 1. เข้มงวดตรวจวัดตรวจจับรถยนต์ควันดำทุกประเภทร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนที่กำหนด
  • 2. ประสานสถานีตำรวจท้องที่อำนวยการจราจรและกวดขันห้ามจอดรถในถนนสายหลักสายรองตลอดเวลา
  • 3. ขอความร่วมมือทำงานหรือปฏิบัติงานในที่พัก (Work From Home) โดยถือปฏิบัติตามหนังสือสำนักงาน ก.ก. ด่วนที่สุด ที่ กท ๐๓๐๕/๓๗๗ ลงวันที่ 18 มกราคม 2567 และใช้รถเท่าที่จำเป็น ไม่ขับ...ช่วยดับเครื่อง
  • 4. ประชาสัมพันธ์ประชาชนให้บำรุงรักษาเครื่องยนต์และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
  • 5. ควบคุมสถานประกอบกิจการในพื้นที่ไม่ให้ปล่อยมลพิษอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
  • 6. ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ทำ Big Cleaning บริเวณสถานที่ก่อสร้างและแพลนท์ปูน รวมถึงงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทุกประเภท
  • 7. เข้มงวดตรวจตราควบคุมไม่ให้มีการเผาขยะหรือการเผาในที่โล่งทุกประเภท
  • 8. เพิ่มความถี่ในการล้างและดูดฝุ่นถนน ฉีดล้างต้นไม้ ใบไม้ และทำความสะอาดป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่อง
  • 9. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้พร้อมแนะนำวิธีป้องกันสุขภาพอนามัยจากฝุ่นละออง PM2.5 ให้กับประชาชน และแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ AIRBKK หากประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแสผ่านทางแอปพลิเคชัน Traffy Fondue
  • 10. ออกหน่วยบริการสาธารณสุขและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คลินิกมลพิษทางอากาศดูแลสุขภาพประชาชน
  • 11. ดำเนินการตามมาตรการลดฝุ่นละออง PM2.5 ในโรงเรียนอย่างเคร่งครัด และลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน

มาตรการลดฝุ่นพิษ PM2.5
 

logoline