svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จำคุก"ต่อ เรืองฤทธิ์"ฐานเมาแล้วขับแต่รับสารภาพลดโทษเหลือรอลงอาญา 2 ปี 

23 ธันวาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ศาลอาญามีนบุรี"จำคุก"ต่อ เรืองฤทธิ์"เมาแล้วขับ แต่รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง จากโทษขัง 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท ให้รอลงอาญา 2 ปี คุมประพฤติ 1 ปี รายงานตัว 4 เดือนครั้ง พร้อมสั่งทำกิจกรรมบริการสังคม 12 ชั่วโมง ริบใบขับขี่ 6 เดือน 

23 ธันวาคม 2566 ที่ศาลอาญามีนบุรี วานนี้ (22 ธ.ค.) ได้มีการอ่านคำพิพากษา ในคดีเเขวงที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง "นายเรืองฤทธิ์ วิสมล" หรือ "ต่อ" อายุ 49 ปี ดารานักแสดงชื่อดัง ฐานความผิดขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น

โดยฟ้องจำเลย สรุปว่า เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. เวลากลางคืน จำเลยได้ขับรถยนต์ส่วนบุคคลบนเส้นทางสาธารณะ ด้วยอาการเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น โดยวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายของจำเลยได้ 235 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ซึ่งเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
 

ทั้งนี้ เจ้าพนักงานจับกุมตัวจำเลยได้ พร้อมนำส่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพระหว่างสอบสวน จำเลยไม่ได้ถูกควบคุมตัว จึงได้ส่งตัวจำเลยมาศาลพร้อมฟ้อ ขอให้ลงโทษจำเลยตาม พรบ.จราจรทางบก ฯ ขอศาลพักใช้ใบอนุญาตขับรถขี่ของจำเลยไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ด้วย

อย่างไรก็ตาม จำเลยแถลงไม่ต้องการการทนายความ และให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจึงพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง รับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง คงพิพากษาจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท จำเลยรับสารภาพลดกึ่งหนึ่ง โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี พร้อมให้คุมประพฤติจำเลย โดยให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมความประพฤติ 4 เดือนครั้ง มีกำหนด 1 ปี

นอกจากนี้ ให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคม หรือสาธารณะประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติ และจำเลยเห็นสมควรเป็นเวลา 12 ชั่วโมง หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 และพักใช้ใบอนุญาตขับรถเป็นเวลา 6 เดือน และแจ้งให้นายทะเบียนทราบ

สำหรับการตรวจวัดแอกอฮอล์ 

ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก มี 2 กรณี คือ หากพบว่า ผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ใน 4 กรณี ดังต่อไปนี้ ถือว่าเมาแล้วขับ ได้แก่

  1. ผู้ขับขี่ซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
  2. ผู้ขับขี่ซึ่งได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ เช่น มือใหม่ใบอนุญาตขับขี่ยังไม่ถึง 2 ปี
  3. ผู้ขับขี่ซึ่งมีใบอนุญาตขับขี่สำหรับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้
  4. ผู้ขับขี่ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่ หรืออยู่ระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่

หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ในกรณีที่บุคคลที่มีใบขับขี่ตลอดชีพหรือใบขับขี่ 5 ปี และมีอายุเกิน 20 ปี ก็จะถือว่าเมาแล้วขับเช่นกัน (แค่กลิ่นของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ทำให้ควบคุมพฤติกรรมได้ยาก)

โทษเมาแล้วขับ

สำหรับโทษเมาแล้วขับ ตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก ระบุว่า หากเป่าแอลกอฮอล์แล้วพบว่า ปริมาณเกิน จะถือว่าเมาแล้วขับ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 160 ตรี

ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ได้หรือไม่?

ในกรณีที่ไม่เป่าแอลกอฮอล์ในทางกฎหมายจะถือว่าเมาแล้วขับทันที ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

 

logoline