svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

07 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เกาะติด ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุไต้ฝุ่นโคอินุ" ฉบับที่ 5 (266/2566) คาดเคลื่อนตัวเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค.66 นี้ พร้อมเช็กพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เช็กพื้นที่ไหนเสี่ยงภัย เพื่อเตรียมการรับมือ ได้ที่นี่

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (7 ต.ค. 66) "พายุไต้ฝุ่นโคอินุ" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 21.2องศาเหนือ ลองจิจูด 115.6 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 157 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุนี้เกือบไม่เคลื่อนที่ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. 66 และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น

(ลงชื่อ)    ชมภารี ชมภูรัตน์                 

(นางสาวชมภารี ชมภูรัตน์)

อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

คาดหมายอากาศทั่วไป ระหว่างวันที่ 7 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ในช่วงวันที่ 7 – 8 ต.ค. 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 13 ต.ค. 2566 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้
 

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “โคอินุ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน โดยจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในวันที่ 10 ต.ค. 66 และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชันตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย                            

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้             

ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง
ออกประกาศ 07 ตุลาคม 2566 12:00 น.

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

คาดหมายอากาศรายภาค ช่วงระหว่างวันที่ 7 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 7 – 9 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 7 – 8 ต.ค. 66
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 –  15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 13 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 –  15 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 7 – 9 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 35 องศาเซลเซียส 
ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 13  ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 10 – 11 ต.ค. 66
ในช่วงวันที่ 7 – 8 ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. 
ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 13 ต.ค. 66 ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. 
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 10 – 11 ต.ค. 66
ในช่วงวันที่ 7 – 8  ต.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 13 ต.ค. 66  ลมแปรปรวน ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 8 – 9  ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 13  ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 36 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 8 – 9 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่
ตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 10 – 13 ต.ค. 66  มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 10 – 11 ต.ค. 66
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 34 องศาเซลเซียส

กรุงเทพฯและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 7 – 8 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 ต.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากในช่วงวันที่ 10 – 12 ต.ค. 66
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 33 องศาเซลเซียส

ออกประกาศ 07 ตุลาคม 2566 12:00 น.

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า 
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณด้านตะวันตกของประเทศ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงในระยะนี้ 

สำหรับทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “โคอินุ” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนในช่วงวันที่ 8-9 ต.ค. 66 ซึ่งจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนและพายุดีเปสชันตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางไว้ด้วย                                                       

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า 
ในช่วงวันที่ 7 – 8 ต.ค. 2566 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมด้านตะวันตกของประเทศไทย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 13 ต.ค. 2566 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน โดยมีบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร                                                                                                                    

ข้อควรระวัง: ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากลมกระโชกแรง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง


สำหรับสถานการณ์แผ่นดินไหว(ในช่วงวันที่ 6 - 7 ต.ค. 2566): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 2.0 มีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ห้วยผา อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

ปิดท้ายรายงานพยากรณ์อากาศกันที่รายงานฝนสะสม 
รายงานฝนสะสม 24 ชม.ที่ผ่านมา (6 ต.ค. 2566) ตั้งแต่เวลา 07.00 น.ของวันที่ 6 ต.ค. 2566 ถึง เวลา 07.00 น. ของวันที่ 7 ต.ค. 2566  จากสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยา ประเทศไทยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ปริมาณฝนมากที่สุด วัดได้ 77.0 มม. บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ ต.ในเมือว อ.เมือง จ.นครพนม 

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

ส่วน กทม. รายงานจากสำนักการระบายน้ำ มีรายงานฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลาง ปริมาณฝนมากที่สุด วัดได้ 24.5 มม. ที่จุดวัด ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ เขตสายไหม

 
อุณหภูมิสูงสุดบริเวณประเทศไทย เมื่อวานนี้(6 ต.ค. 2566) วัดได้ 36.0 องศาเซลเซียส ภาคเหนือ ที่  อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณภูมิสูงสุด วัดได้ 32.7 องศาเซลเซียส ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉบับที่ 5 พายุไต้ฝุ่นโคอินุ คาดเคลื่อนเข้าจีน 8-9 ต.ค.นี้

logoline