svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอดื้อ ส่งโพสต์สุดทึ่ง ชาวเน็ตแห่อ่านจำนวนมาก พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาแก้ไอ

หมอดื้อ หรือ คุณหมอธีระวัฒน์ คุณหมอคนดังในโลกออนไลน์ ล่าสุดส่งโพสต์ชวนอ่าน ประเด็นว่าด้วยอาการสมองเสื่อม และอีกหนึ่งตัวยาที่ช่วยในการพิชิตอาการสมองเสื่อม สายสุขภาพต้องไม่พลาด

พูดไปแล้ว เป็นเรื่องจริงไม่ใช่เรื่องโกหก อิงนิยาย แต่เกิดขึ้นแล้ว และถือว่าเป็นข่าวดีในปี 2023 นี้ และที่หมอจะนำมาเรียนให้ทราบในอันดับต่อ ๆไป ก็จะมีข่าวดีอีกหลายเรื่อง ในการพิชิตสมองเสื่อม
 

ทั้งนี้ โดยที่ต้องรู้เร็วตั้งแต่ต้น แม้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงน้อยนิด ก็สามารถป้องกัน ชะลอและรักษาให้ย้อนกลับมาเป็นปกติหรือเกือบปกติได้


สมองเสื่อม ที่ว่านี้เกิดจาก โปรตีนพิษบิดเกลียว (misfolded protein) ที่มีชื่อต่าง ๆ นานาและทำให้เกิดโรคที่เรารู้จักกันดี ตั้งแต่โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ และสมองเสื่อม ที่มีชื่อหรือที่หมอเรียกว่ายี่ห้ออื่นอีกมากมายหลายชนิด

ปัจจุบัน เราทราบกันดีแล้วว่า วิธีการที่จะป้องกันไม่ให้อาการของสมองเสื่อมโผล่ขึ้น แม้ว่าจะมีโปรตีนพิษเหล่านี้อยู่ในสมองแล้วก็ตาม ซึ่งขณะนี้เราสามารถตรวจจากเลือดได้แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำไขสันหลัง หรือไปทำคอมพิวเตอร์สนามแม่เหล็กเอ็มอาร์ไอร่วมกับการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพ็ทสแกน

หมอดื้อ ส่งโพสต์สุดทึ่ง ชาวเน็ตแห่อ่านจำนวนมาก พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาแก้ไอ กระบวนการเหล่านี้ได้แก่การควบคุมอาหาร เข้าใกล้มังสวิรัติ งดแป้ง งดเนื้อสัตว์บก หันมาบริโภคปลาและยังได้โปรตีนเพิ่มจากถั่ว ดังที่หมอได้ย้ำมาตลอดในทุกบท และกิจกรรมทำให้สมองขยันตลอด ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแต่เล่นเกมซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่ต้องเป็นกิจกรรมที่มีการโต้ตอบใช้ความคิด มีการวางแผน ยกตัวอย่างเช่น เล่นไพ่กินเงินหรือเต้นรำกับคู่เต้น ร้องเพลงใหม่ให้ไม่คร่อมจังหวะและเสียงไม่หลง

อีกทั้งแน่นอนคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอไม่นั่งทอดหุ่ยเนือยนิ่ง รวมทั้งตากแดด ไม่ใช่ไปกินวิตามินดีซึ่งอาจมีส่วนช่วยได้เพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับแดด

กระบวนการเหล่านี้ สามารถปฏิบัติได้โดยไม่เสียเงิน และต่อจากนี้ สามารถควบคู่ได้กับยาพื้นๆที่ใช้กันมานานแสนนานแต่โบราณ ที่เราจัดเป็น repurpose drug โดยที่ยาเหล่านี้ใช้ในจุดประสงค์อื่นแต่มีการค้นพบว่าสามารถออกฤทธิ์ในการต่อต้านกลไกของโรคอื่น ๆ ได้

ยาตัวที่หมอจะมาเล่าให้ฟังในตอนนี้ เป็นยาละลายเสมหะ ดังนั้นจึงทำให้ระบายเสมหะออกไปได้และไอลดลง

หมอดื้อ ส่งโพสต์สุดทึ่ง ชาวเน็ตแห่อ่านจำนวนมาก พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาแก้ไอ ยาดังกล่าวนี้ ชื่อ Ambroxol ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี 1970 โดยที่มีการประกาศความสำเร็จในการใช้กับโรคสมอง จากการศึกษาตั้งแต่หลอดทดลอง สัตว์ทดลองและการวิจัยในมนุษย์ ตั้งแต่ในระยะที่หนึ่ง และที่สองและขณะนี้เริ่มการศึกษาในมนุษย์เป็นระยะที่สาม โดยคณะทำงานจาก Queen Square สถาบันทางประสาทวิทยา University College of London นำโดยศาสตราจารย์ Schapira

การศึกษาทางคลินิก ในระยะที่สอง โดยคณะทำงานนี้ มีการตีพิมพ์ในวารสาร สมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA) ตั้งแต่ปี 2020 ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

ทั้งนี้ ยาแก้ไอดังกล่าวสามารถที่จะซึมผ่านเข้าสมองและเพิ่มปริมาณและการทำงานของโปรตีนที่ชื่อว่า GCase (glu cocerebrosidase) ในสมอง ซึ่งทำงานโดยช่วยให้เซลล์มีการกำจัดขยะโปรตีนทั้งหลายแหล่ ออก และในกรณีของโรคพาร์กินสันก็คือกำจัดโปรตีน alpha synuclein ออก

ความที่ยาแก้ไอดังกล่าวนี้ ได้ใช้กันมาเป็นเวลาเนิ่นนานแล้ว และถึงแม้ว่าขนาดของยาที่ใช้จะมีปริมาณสูงมากกว่าที่ใช้ในการละลายเสมหะตามปกติ แต่จากการศึกษาทางคลินิกในระยะที่หนึ่งและระยะที่สอง พบว่ามีความปลอดภัย โดยที่ผลข้างเคียงอาจมีบ้าง ก็คืออาการกวนกระเพาะ คลื่นไส้บ้าง อาจจะมีพะอืดพะอมบ้าง แต่ก็น้อยและหายไปเอง ทั้งนี้โดยที่ปริมาณ และขนาดยามีการปรับระดับเพิ่มขึ้นทุกห้าวัน หลังจากที่ครบ 10 วันแล้วก็จะเป็นขนาดปริมาณคงที่ไปตลอด

การศึกษาในระยะที่สามนี้ ในปี 2023 จะมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน 330 รายในศูนย์ทางคลินิก 12 แห่งในสหราชอาณาจักร โดยที่จะมีการเปรียบเทียบโดยการใช้ยาหลอกด้วยเป็นเวลาสองปี และมีการติดตามอาการของโรคอย่างเข้มงวด

การศึกษาในระยะก่อนหน้านี้ ที่มีการตีพิมพ์ในปี 2020 นั้นเป็นการใช้ Ambroxol ในคนไข้พาร์กินสัน ทั้งที่มีและไม่มีรหัสพันธุกรรมผันแปรไป (mutation) ของยีน glucocerebrosidase, GBA1 (OMIM 606463) ซึ่งเป็นยีนสำคัญที่มีความเสี่ยงของโรคพาร์กินสันเพิ่มขึ้น

การทดสอบกับคนไข้ที่มีและไม่มียีนเฉพาะนี้ และด้วยการใช้ขนาดของยาอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วโดยมีการเพิ่มปริมาณจนกระทั่งถึง 1.26 กรัมต่อวัน

การศึกษาเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2017 จนถึงวันที่ 25 เมษายน 2018
ทั้งนี้ ผลของการศึกษาพบว่าตัวยา Ambroxol สามารถผ่านผนังกั้นระหว่างเส้นเลือดกับสมองได้และทำให้สามารถออกฤทธิ์ในสมอง โดยตรวจพบได้ในน้ำไขสันหลังในคนป่วยที่มีและ ไม่มียีนนี้ และนอกจากนั้น ยาดังกล่าวจะไปจับกับ เอ็นไซม์ เบตา glucocerebrosidase และทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งระดับและการทำงานของโปรตีนนี้ จากการตรวจในน้ำไขสันหลัง รวมทั้งระดับของ alpha synuclein โดยที่ระดับในน้ำไขสันหลังสูงขึ้น ซึ่งแสดงว่ามีการทำงานเพิ่มขึ้นในเซลล์สมองและผลักโปรตีนพิษออกจากสมองเข้าสู่น้ำไขสันหลัง

กลไกการจัดการของยา Ambroxol ต่อโปรตีนพิษ ประกอบไปด้วยหลายกระบวนการ และขั้นตอนด้วยกัน โดยยาไปเพิ่ม การทำงานของ GCase ในเซลล์สมอง และแม้แต่ในคนไข้ที่มียีนผิดปกติ ซึ่งต่อต้านการทำงาน ของระบบนี้ก็ตาม ตัวยาก็ยังสามารถสู้ได้ โดยผ่านทาง transcriptional factor EB pathway

และการกระตุ้น lysosomal exocytosis และสามารถแก้ความผิดปกติของ posttran slational folding ในคนที่มียีนผิดปกติได้ด้วยซ้ำ และทำให้ระบบกู้ภัยคลี่เกลียวของโปรตีนพิษ และการกำจัดขยะโปรตีนพิษเหล่านี้ (ถ้าไม่สามารถกู้ได้) ออกไปทิ้งได้หมดจด

ข้อพิสูจน์อีกอย่างหนึ่งของ Ambroxol ก็คือการสร้างเซลล์จำลองของสมอง (neurosphere) จากสเต็มเซลล์ adipose-derived neural crest ที่พัฒนาจากเซลล์ของคนไข้พาร์กินสันที่มีและไม่มีรหัสพันธุกรรมที่ผิดปกติของ GBA1... สมองจำลองนี้ของคนพาร์กินสัน โดยเฉพาะที่มียีนผิดปกติ พบว่า มีปริมาณและการทำงานของโปรตีน GCase และ cathepsin D ต่ำลง และแน่นอนมีระดับของโปรตีนพิษ Tau และ alpha synuclein สูงขึ้นและยา Ambroxol สามารถที่จะเพิ่มพูนการทำงานของโปรตีนตัวนี้ได้และมีระดับของโปรตีนผิดทั้งสองตัวในเซลล์ประสาทสมองลดลง รายงานในวารสาร Human Molecular Genetics ในปี 2022 โดยคณะทำงานของศาสตราจารย์ Schapira เช่นกัน

กล่าวโดยสรุปขณะนี้ การพิชิตโรคสมองเสื่อมไม่ใช่เป็นเรื่องไกลเกินเอื้อม รวมทั้งมียาตัวอื่นๆที่สามารถจับต้องได้
และที่ต้องไม่ลืมก็คือ การที่ต้องกำจัดหรือระงับการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย ทั้งจากที่ได้ จะกินอาหาร เนื้อ ไม่กินผัก ผลไม้ กากใยมีการปนเปื้อนสารเคมี และมลพิษต่างๆ รวมทั้งพีเอ็ม 2.5 และจะเข้าไปกระทบสมองอีกต่อ ซึ่งจะไปจุดชนวนให้การอักเสบลุกลามในสมอง รวมทั้งกระพือ การเพิ่มการสร้างของโปรตีนผิดและขัดขวางการกำจัดขยะพิษเหล่านี้.

ติดต่อการตรวจตามรายละเอียดที่แสดงเท่านั้นครับ

หมอดื้อ ส่งโพสต์สุดทึ่ง ชาวเน็ตแห่อ่านจำนวนมาก พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาแก้ไอ

เปิดสาเหตุของภาวะสมองเสื่อม
ในเรื่องของสาเหตุภาวะสมองเสื่อม สามารถที่จะอธิบายได้หลากหลาย เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมที่แตกต่างกัน โดยอธิบายได้ดังนี้

หลอดเลือดสมอง : สาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่มาจากหลอดเลือดภายในสมองนั้น ถือว่าเป็นสาเหตุหลักที่มักจะพบได้ในบุคคลทั่วไปที่ป่วยเป็นภาวะสมองเสื่อม

โดยสาเหตุอาจจะเกิดจากเซลล์ภายในสมองตายหรือเสื่อมสภาพลง ดังนั้น จึงทำให้เซลล์ที่ไร้ประสิทธิภาพเหล่านี้ไปทำการอุดตันบริเวณหลอดเลือดที่ส่งเข้าสู่สมอง

ซึ่งจะเป็นการอุดไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดแดงนำออกซิเจนไปสู่สมองได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้นั่นเอง

การบาดเจ็บ : การบาดเจ็บถือเป็นสาเหตุรองลงมาของการเป็นภาวะสมองเสื่อมของกลุ่มผู้ป่วยในยุคปัจจุบัน โดยกลุ่มที่เสี่ยงจะเกิดอาการบาดเจ็บที่ส่งผลต่อการเป็นภาวะสมองเสื่อม เช่น

  • นักกีฬา
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้มีปัญหาการเคลื่อนไหว
  • โดยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้อาจจะเกิดจากการล้ม หรือถ้าหากเป็นนักกีฬาอาจจะเกิดปัญหาจากการกระแทกของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นกีฬา

ซึ่งถ้าหากเกิดอาการบาดเจ็บที่ส่งผลต่อสมองโดยตรง ก็จะสามารถทำให้เซลล์สมองเสื่อมและตายได้ในที่สุด

มาฟังมาอ่าน อีกหนึ่งมุมมองทางการแพทย์
นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า “สมองเสื่อม” ไม่ได้เป็นโรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของสมองที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยพบว่า 70% ของผู้ป่วยสมองเสื่อม มีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ รองลงมา  มีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์สมองประมาณ 1 แสนล้านเซลล์  จะเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์จนถึงอายุ 30 ปี  ต่อจากนั้นเซลล์สมองจะค่อยๆ เสื่อมลง เมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 60-65 ปีขึ้นไป  ซึ่งภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่มีการสูญเสียหน้าที่การทำงานของสมอง ทำให้ความสามารถของบุคคลลดลง ความจำเสื่อม ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ มีพฤติกรรมแปลก ๆ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป มีความผิดปกติในการใช้ภาษา การคำนวณ ความเข้าใจ และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การเสื่อมของสมองนี้จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องแบบค่อยเป็นค่อยไป ในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันทั้งในด้านอาชีพการงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในผู้สูงอายุ 

จากการสำรวจความชุกของภาวะสมองเสื่อมในประชากรทั่วโลก พบว่า คนที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม 5-8% ส่วนคนที่มีอายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเป็น 20% และผู้ที่มีอายุมากเกิน 90 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้นถึง 50% ซึ่งพบว่าเพศหญิงมีโอกาสเป็นภาวะสมองเสื่อมมากกว่าเพศชาย สาเหตุของสมองเสื่อม

1.โรคอัลไซเมอร์ ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมก่อนวัยอันควร

2.วัยชรา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติของสังขาร  

3.สมองขาดเลือด มักเกิดจากหลอดเลือดเส้นเล็กๆ อุดตันซ้ำๆ เป็นเวลานาน ทำให้เซลล์สมองตาย และการทำงานของสมองเสื่อมลง  

4.ความดันในสมองสูงจากการมีเลือดคั่งในสมอง หรือเนื้องอกในสมอง ทำให้มีพฤติกรรมความคิดหรือการตัดสินใจผิดปกติคล้ายภาวะสมองเสื่อม

5. ขาดวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง  

6. การติดเชื้อที่มีผลทางสมอง เช่น ซิฟิลิส ไวรัสสมองอักเสบและไวรัสเอดส์ ทำให้เซลล์สมองตาย และเกิดภาวะสมองเสื่อม 7. การติดสุราเรื้อรังเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม

8. ภาวะที่เกิดขึ้นภายหลังการขาดออกซิเจนเช่น มีอาการชักซ้ำติดต่อกัน หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นเวลานานๆ  

9. โรคเสื่อมบางชนิดทำให้เกิดสมองฝ่อบางส่วน เช่น โรคพาร์กินสันทำให้เกิดอาการสั่น และเคลื่อนไหวช้าลง

นายแพทย์อุดม ภู่วโรดม ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา เปิดเผยว่า ความรุนแรงของภาวะสมองเสื่อม  แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืม โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือตั้งใจจะทำ จำไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ไหน ชื่อสถานที่ที่คุ้นเคยก็ยังจำไม่ได้ ไม่ค่อยมีสมาธิ ส่วนความจำเกี่ยวกับอดีตยังดีอยู่ ในระยะนี้แม้กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตในสังคมบกพร่องอย่างเห็นได้ชัด แต่ผู้ป่วยสามารถอยู่คนเดียวได้พึ่งตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ และการตัดสินใจค่อนข้างดี

ระยะที่ 2 ภาวะสมองเสื่อมระดับระดับปานกลาง จะมีความจำเสื่อมลงมากขึ้น มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ เช่น ความสามารถในการคำนวณ การกะระยะทาง ไม่สามารถเปิดโทรทัศน์ได้ ทั้ง ๆ ที่เคยทำมาก่อนหรือยืนดูน้ำล้นอ่างเฉยๆ เพราะไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร ลืมแม้กระทั่งชื่อคนในครอบครัว ช่วงท้ายระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการทางจิต เช่น ประสาทหลอน หลงผิดหลงลืม การอยู่ตามลำพังอาจเป็นอันตราย และจำเป็นต้องได้รับการดูแลตามสมควร และ

ระยะที่ 3 ภาวะสมองเสื่อมขั้นรุนแรง ผู้ป่วยจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้เลย กินข้าวแล้วเพียงไม่กี่นาทีก็บอกว่ายังไม่ได้กิน ทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ด้วยตัวเอง จำญาติพี่น้องไม่ได้หรือแม้แต่ตนเองก็ยังจำไม่ได้ มักเดินหลงทางในบ้านตนเอง มีความผิดปกติต่าง ๆ เช่น บุคลิกภาพเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวช้า เดินช้า กลั้นอุจาระ ปัสสาวะไม่ได้ อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ วิธีการรักษาภาวะสมองเสื่อมที่ได้ผลดีที่สุดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยแยกโรคได้ถูกต้องและควรรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการในระยะแรก  สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่ง คือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมจะต้องเสียสละและปรับวิถีชีวิตมาดูแลผู้ป่วยด้วยความเข้าใจในโรค  สาเหตุ  และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ วิธีป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อม คือ การดูแลควบคุมภาวะความดันโลหิต เบาหวาน ไขมัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา หลีกเลี่ยงสารเสพติดซึ่งจะมีผลทำลายสุขภาพในระยะยาว ไม่ส่ำส่อนทางเพศเพื่อป้องกันโรคเอดส์  ระวังอุบัติเหตุชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ  ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ มีความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่นในครอบครัวยอมรับสภาพตามความเป็นจริง ทำกิจกรรมที่มีการฝึกสมอง เช่น อ่านหนังสือ เล่นต่อคำ เล่นดนตรี ฟังดนตรี ร้องเพลง เต้นรำ และไม่เคร่งเครียดเกินไป ที่สำคัญควรตรวจสุขภาพประจำปี  เพียงเท่านี้จะสามารถทำให้ชีวิตมีความสุขได้

วิธีป้องกันภาวะสมองเสื่อม
สำหรับภาวะสมองเสื่อมนั้นเป็นเรื่องยากที่จะหาวิธีป้องกันได้แบบชัดเจน มีเพียงแค่การดูแลสุขภาพก็สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นภาวะสมองเสื่อมได้ โดยมีวิธีคือ

รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ : การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเป็นการช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน

และช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค โดยจะต้องเน้นอาหารที่บำรุงสมองเป็นพิเศษ

การทำกิจกรรม : ควรที่จะต้องออกไปทำกิจกรรมในการเข้าสังคม หรือแม้แต่กระทั่งการออกกำลังกายบ้าง เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นความจำให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี 

ภาวะสมองเสื่อม ถึงแม้จะดูอันตรายต่อ คนวัย 40 ปีขึ้นไป แต่หากรู้จักวิธีป้องกันและดูแลรักษาอย่างถูกต้องทันการณ์

ก็สามารถส่งผลให้เกิดความปลอดภัยจากโรคนี้ได้ และทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย

ขอขอบคุณที่มา : สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข